คลังเก็บป้ายกำกับ: การนวดเต้านม การขาดมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติ

การนวดเต้านม การขาดมาตรฐานและแนวทางการปฏิบัติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? แม้จะมีรายงานว่า การนวดเต้านมสามารถช่วยลดอาการตึงคัดเต้านมได้1-3 แต่ในประเทศไทย วิธีการและรูปแบบในการนวดเต้านมนั้นมีหลากหลาย มีทั้งแบบไทยโบราณหรือตามรูปแบบวัฒนธรรมสืบต่อมาในแต่ละท้องถิ่นหรือตามรูปแบบการนวดเต้านมของญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ออสเตรเลีย หรืออังกฤษ1,3-6 โดยที่ในปัจจุบัน มีทั้งการให้บริการในสถานพยาบาลและการให้บริการเชิงการค้า มีทั้งที่ตั้งเป็นลักษณะคลินิกและที่ให้บริการถึงที่บ้าน มีการโฆษณาเกินจริงหรือมีข้อบ่งชี้ที่มากกว่าหลักฐานเชิงประจักษ์ การขาดข้อมูลการศึกษาที่ชัดเจนในแต่ละศาสตร์ของการนวดเต้านม ทำให้การแนะนำหรือให้คำปรึกษาทางการแพทย์มีความยากลำบาก การรวบรวมความรู้? กำหนดข้อบ่งชี้เบื้องต้นที่สามารถให้การดูแลรักษาด้วยการนวดได้โดยปลอดภัย เช่น? อาการตึงคัดเต้านมที่มารดาไม่มีไข้หรืออาการแทรกซ้อนที่แสดงการอักเสบของเต้านมหรือมีแผลที่หัวนม และกำหนดข้อควรระวังหรือข้อบ่งห้ามในกรณีที่มารดามีไข้สูงหรือนานกว่า 24 ชั่วโมง มีเต้านมมีอาการบวมแดง กดเจ็บ คลำได้เป็นก้อน มีแผลที่หัวนมหรือมีหัวนมแตกร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา การสื่อสารข้อมูลที่เป็นแนวทางในการให้การดูแลรักษาโดยการนวดเต้านมอย่างปลอดภัย ควรเผยแพร่ทางสื่อให้มีความหลากหลายเพื่อกระจายให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงและมีความรู้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถจะพิจารณาและตัดสินใจที่จะดูแลตนเองเมื่อเกิดปัญหาได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Witt AM, Bolman M, Kredit S, Vanic A. Therapeutic Breast Massage in Lactation for the Management of Engorgement, Plugged Ducts, and Mastitis. J Hum Lact 2016;32:123-31.
  2. Anderson L, Kynoch K, Kildea S. Effectiveness of breast massage in the treatment of women with breastfeeding problems: a systematic review protocol. JBI Database System Rev Implement Rep 2016;14:19-25.
  3. Witt AM, Bolman M, Kredit S. Mothers Value and Utilize Early Outpatient Education on Breast Massage and Hand Expression in Their Self-Management of Engorgement. Breastfeed Med 2016;11:433-9.
  4. Kyo T. [Observation on initiation of breast feeding: the relationship between Okeya’s method of breast massage and the quantity of milk secretion]. Josanpu Zasshi 1982;36:548-9.
  5. Ahn S, Kim J, Cho J. [Effects of breast massage on breast pain, breast-milk sodium, and newborn suckling in early postpartum mothers]. J Korean Acad Nurs 2011;41:451-9.
  6. Bolman M, Saju L, Oganesyan K, Kondrashova T, Witt AM. Recapturing the art of therapeutic breast massage during breastfeeding. J Hum Lact 2013;29:328-31.

?