คลังเก็บป้ายกำกับ: การตึงคัดเต้านม

ภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด

obgyn

 

? ? ? ? ? การมีไข้หลังคลอด (puerperal morbidity)? หมายถึง? การที่สตรีหลังคลอดมีไข้เท่ากับหรือมากกว่า 38.0 .C (100.4 .F )? อย่างน้อย 2 ใน 10 วัน? โดยไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดโดยการวัดอุณหภูมิทางปากด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน

? ? ? ? ? การวินิจฉัยแยกโรคแม้ว่า? การมีไข้หลังคลอดส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ? แต่ก็พบว่าอาจจะมีสาเหตุอื่นด้วย? การติดเชื้อที่พบหลังการคลอดมากที่สุดคือ ?การติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์และในอุ้งเชิงกราน? นอกจากนี้สาเหตุของการมีไข้ที่พบได้คือ

– ภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจ

– การเกิดภาวะกรวยไตอักเสบ

– ?การตึงคัดเต้านมและการอักเสบของเต้านมจากการติดเชื้อ

– การอักเสบของหลอดเลือดดำ

– การเกิดหนองของแผลผ่าตัด? ซึ่งอาจพบในรายที่มีการผ่าตัดคลอด

? ? ? ? ? ภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจ? ส่วนใหญ่จะพบใน 24 ชั่วโมงแรกของการคลอด และพบในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดคลอด? ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่? atelectasis??? ภาวะปอดบวมจากการสำลัก(aspiration pneumonia)? และภาวะปอดบวมจากการติดเชื้อ atelectasis? จะป้องกันได้โดยการไอหรือการหายใจเข้าออกลึกๆ? สม่ำเสมอ? หรือทุก 4 ชั่วโมงหลังการดมยาสลบ? การมีการอุดตันทางเดินหายใจจากเสมหะที่เหนียวจะลดกลไกการไอและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้? ไข้ที่เกิดจากภาวะนี้ เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของเชื้อที่อยู่ในบริเวณนั้น (normal flora)? ซึ่งเพิ่มจำนวนลงไปในทางเดินหายใจส่วนปลายที่มีการอุดตัน? ถ้ามีอาการรุนแรงควรสงสัยภาวะปอดบวมจากการสำลัก? ซึ่งจะพบมีไข้สูงมาก? ฟังเสียงปอดมี wheezing? และพบอาการแสดงของภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxemia) ชัดเจน

? ? ? ? ? ภาวะกรวยไตอักเสบ? ในกรณีที่มีอาการชัดเจนจะพบมีเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรียในปัสสาวะ? เจ็บบริเวณ costovertebral angle? และมีไข้สูง? บางครั้งอาจพบการมีไข้สูงเพียงอย่างเดียวก่อนจะมีอาการอื่นๆ? จึงอาจแยกยากจากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน? การรักษาให้ดื่มน้ำมากๆ ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อ

? ? ? ? ?การตึงคัดเต้านม? ในสตรีหลังคลอดบุตรพบว่ามีไข้จากการตึงคัดเต้านมถึง 15%? ส่วนใหญ่แล้วมีไข้มักจะสูงไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส? กินเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง? และมักพบใน 2-3 วันแรกหลังคลอด? ซึ่งจะตรงข้ามกับการอักเสบของเต้านม? จะพบว่าเกิดในช่วงเวลาหลังจากนั้นและไข้สูงกินเวลานานร่วมกับมีการเจ็บเต้านมมากในเฉพาะบริเวณที่อักเสบ? ในรายที่มีการอักเสบจนลุกลามเป็นหนองพบ 10% ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดการระบายหนอง? สาเหตุของการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งจะผ่านจากบาดแผลหรือรอยถลอกเล็กน้อยบริเวณเต้านม? การระบาดของเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ระมัดระวังในการล้างมือขณะจับต้องทารกของบุคลากรทางการแพทย์

? ? ? ? ? การอักเสบของหลอดเลือดดำ (thrombophlebitis)? อาจเกิดบริเวณหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นหรือลึกบริเวณขาก็ได้?? จะพบขาบวมปวด? เจ็บบริเวณน่อง? หรือบางครั้งเจ็บบริเวณ femoral triangle? การรักษาโดยใช้ heparin? ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ? นอกจากนี้ ยังอาจพบมีการอักเสบของเส้นเลือดดำในอุ้งเชิงกรานได้ด้วย

? ? ? ? ? เพื่อให้เข้าใจและจดจำสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการมีไข้หลังคลอดได้?? จึงสรุปสาเหตุของการมีไข้หลังคลอดดังตารางที่ 1? และปัจจัยเสี่ยงของการมีไข้หลังคลอดดังตารางที่ 2

ตารางที่ 1? สรุปสาเหตุของการมีไข้หลังคลอดและคำช่วยจำ

 

คลิกที่ตารางเพื่อดูภาพใหญ่

 

 

ตารางที่ 2? ปัจจัยเสี่ยงของการมีไข้หลังคลอด

 

?คลิกที่ตารางเพื่อดูภาพใหญ่

 

 

หนังสืออ้างอิง

 

  1. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap III LC, Hankin GDV, et al. Williams obstetrics. 20th ed.Stamford : Appleton & Lange, 1997 : 547-67.
  2. ชัยรัตน์? คุณาวิกติกุล. ระยะหลังคลอด. ใน: ธีระ? ทองสง, ชเนนทร์? วนาภิรักษ์. บรรณาธิการ.? สูติศาสตร์ ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส์?? เซนเตอร์, 2541 : 169-78.
  3. Cunningham FG, Macdonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap III LC, Hankin GDV, et al. Williams obstetrics. 20th ed.Stamford : Appleton & Lange, 1997 : 533-46.
  4. Callahan TL, Caughey AB, Heffner LJ, Chen A, Feinberg BB. Blueprints in obstetrics and gynecology.Massachusetts. Blackwell Science, 1998 : 76-80.
  5. Sakala EP. Obstetrics and gynecology.?Maryland: William & Wikins, 1997 : 187-209.
  6. Miller AWF, Hanretty KP, Callander R, Ramsden I. Obstetrics illustrated.New York: Churchill Livingstone, 1997 :333-51.

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์