คลังเก็บป้ายกำกับ: การดูแลมารดาในช่วงรอคลอด

การดูแลมารดาในช่วงรอคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การดูแลผู้ป่วยในช่วงรอคลอด (ระยะ latent phase และ active phase หรือระยะที่1 ของการคลอด)
หลักสำคัญของการดูแลการคลอด?คือ

  1. ให้กำลังใจ ความเข้าใจ การแนะนำ
  2. เฝ้าติดตามสุขภาพทารกในครรภ์
  3. เฝ้าติดตามความก้าวหน้าของการคลอด

การเฝ้าติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ ทั้งในระยะ latent และ active phase

  • ควรฟังเสียงหัวใจเด็กทุก 30 นาทีเป็นอย่างน้อย ควรฟังในขณะที่มดลูกเริ่มคลายตัว
    ในกรณีที่เป็นการตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงเช่นทารกในครรภ์โตช้าควรฟังทุก15นาที
    เสียงหัวใจเด็กปกติ 110-160 bpm
  • การเฝ้าติดตามความก้าวหน้าของการคลอด
    1. การหดรัดตัวของมดลูกทั้งในระยะlatent และ active phase ควรวัดทุก 1ชั่วโมง
      การหดรัดตัวที่ดีควรหดรักทุก 2-3 นาที นาน 45-60 วินาทีต่อครั้ง strong intensity
    2. การบันทึก WHO partograph: ใช้กับ GA 34 สัปดาห์ขึ้นไปและเข้าสู่ระยะที่1ของการเจ็บครรภ์คลอดแล้ว หรือในรายที่มีถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว หรือในรายที่ต้องการชักนำให้เกิดการคลอดโดยผู้ป่วยต้องมีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอแล้ว
      สิ่งที่ต้องบันทึก
  • Fetal conditions
    1. Fetal heart rate
    2. Membranes and amniotic fluid, liquor
    3. Molding
  • Progression of labor
    1. Cervical dilatation
      • Latent phase: PV ทุก 4 ชั่วโมง
      • Active phase: PV ทุก 4ชั่วโมง หรืออาจจะถี่ขึ้นเป็นทุก 1 หรือ 2 ชั่วโมงถ้ามีความจำเป็นเช่น ครรภ์หลัง, ปากมดลูกเปิดมากกว่า 5 cm, สงสัย fetal distress, เส้นกราฟถึงaction line
    2. Descent of fetal head
    3. Uterine contraction
  • การให้ยาและการรักษา
  • Maternal conditions: ตรวจอย่างน้อยทุก 4ชั่วโมงโดยบันทึก
    1. ความดันโลหิต
    2. ชีพจร
    3. อุณหภูมิ
    4. ปัสสาวะ