คลังเก็บป้ายกำกับ: การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระหว่างการให้นมบุตร

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างการให้นมบุตร

371834_9510825_3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ไวน์ หรือค็อกเทล (cocktail) แอลกอฮอล์ที่มารดาได้รับจะผ่านไปสู่น้ำนมได้ดี โดยระดับแอลกอฮอล์ในน้ำนมใกล้เคียงกับในกระแสเลือดมารดา1 ซึ่งหากมารดาดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน (หนึ่งดื่มมาตรฐานเท่ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 10 กรัม ซึ่งเท่ากับ เหล้า 40 ดีกรีประมาณ 1.5 ออนซ์ เบียร์ 5% ประมาณ 12 ออนซ์ หรือไวน์ 8-12% ประมาณ 5 ออนซ์) อาจส่งผลต่อทารกทำให้ระบบประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อช้า2,3 นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังลดการหลั่งน้ำนมโดยการกดการทำงานของออกซิโตซินด้วย4 ร่างกายมารดาจะกำจัดแอลกอฮอล์หนึ่งดื่มมาตรฐานในหนึ่งชั่วโมง หากมารดาดื่มในปริมาณปานกลางร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ในสองชั่วโมง5 ดังนั้น หลังดื่มแอลกอฮอล์ควรเว้นระยะการให้นมบุตรนาน 1-2 ชั่วโมง6 แต่หากมารดาดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำทุกวันควรหลีกเลี่ยงการให้นมบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Mennella JA, Beauchamp GK. The transfer of alcohol to human milk. Effects on flavor and the infant’s behavior. N Engl J Med 1991;325:981-5.
  2. Little RE, Anderson KW, Ervin CH, Worthington-Roberts B, Clarren SK. Maternal alcohol use during breast-feeding and infant mental and motor development at one year. N Engl J Med 1989;321:425-30.
  3. Streissguth AP, Barr HM, Martin DC, Herman CS. Effects of maternal alcohol, nicotine, and caffeine use during pregnancy on infant mental and motor development at eight months. Alcohol Clin Exp Res 1980;4:152-64.
  4. Cobo E. Effect of different doses of ethanol on the milk-ejecting reflex in lactating women. Am J Obstet Gynecol 1973;115:817-21.
  5. Ho E, Collantes A, Kapur BM, Moretti M, Koren G. Alcohol and breast feeding: calculation of time to zero level in milk. Biol Neonate 2001;80:219-22.
  6. Mennella JA. Regulation of milk intake after exposure to alcohol in mothers’ milk. Alcohol Clin Exp Res 2001;25:590-3.

 

การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระหว่างการให้นมบุตร

bf20

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? คาเฟอีน พบในเครื่องดื่มที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ระยะเวลาครึ่งชีวิต 4.9 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ ระยะเวลาครึ่งชีวิตในทารกแรกเกิด 97.5 ชั่วโมง ระยะเวลาครึ่งชีวิตในทารกจะลดลงเมื่อทารกอายุมากขึ้น โดยเมื่อทารกอายุ 3-5 เดือน ระยะเวลาครึ่งชีวิตเท่ากับ 14 ชั่วโมง และเมื่อทารกอายุหกเดือน ระยะเวลาครึ่งชีวิตจะเท่ากับ 2.6 ชั่วโมง โดยทั่วไปกาแฟ 1 แก้วจะมีคาเฟอีนตั้งแต่ 50-150 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของกาแฟและความเข้มข้นในการชง หลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ระดับคาเฟอีนในน้ำนมจะสูงสุดใน 1-2 ชั่วโมง ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ (relative infant dose) ร้อยละ 521 ดังนั้นทารกจะได้รับคาเฟอีนประมาณครึ่งหนึ่งของระดับคาเฟอีนในมารดา แต่การกำจัดคาเฟอีนในทารกจะช้ากว่า ทำให้คาเฟอีนอยู่ในทารกนาน2 ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางของทารก ทำให้ทารกตื่นตัว กระสับกระส่ายได้ ผลเสียในระยะยาวยังไม่ทราบ ดังนั้น หากมารดาจะดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในบางครั้งในปริมาณที่ไม่มาก สามารถทำได้ แต่ควรดื่มในช่วงหลังให้นมบุตร เพื่อจะได้เว้นระยะห่างให้ระดับคาเฟอีนลดลงเมื่อถึงเวลาที่จะให้นมครั้งต่อไป และเมื่อทารกอายุมากขึ้นแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Tyrala EE, Dodson WE. Caffeine secretion into breast milk. Arch Dis Child 1979;54:787-9.
  2. Ryu JE. Caffeine in human milk and in serum of breast-fed infants. Dev Pharmacol Ther 1985;8:329-37.