รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติอาการเจ็บหัวนม ซึ่งสาเหตุของการเจ็บหัวนมแต่ละอย่างมีความจำเพาะของลักษณะของอาการเจ็บ รายละเอียดของการซักประวัติ ควรมีดังนี้1
- ระยะเวลาที่เริ่มของอาการเจ็บหัวนมในระยะหลังคลอด
- มีการบาดเจ็บหัวนม ได้แก่ หัวนมถลอก หัวนมแตก หรือมีเลือดออกจากหัวนมหรือไม่
- ช่วงเวลาของอาการเจ็บหัวนมมีในขณะเข้าเต้า ขณะให้นมลูก หรือมีในระหว่างช่วงการให้นมลูกเสร็จแล้ว รวมทั้งอาการมีขณะบีบน้ำนมหรือปั๊มนมหรือไม่
- ตำแหน่งของอาการปวด เจ็บที่หัวนม เต้านม อาการเจ็บมีบริเวณผิวหรือเจ็บบริเวณลึกๆ
- ระยะเวลาของการเจ็บหัวนมเป็นนานแค่ไหน อาการเจ็บหัวนมเป็นต่อเนื่องหรือเป็นพักๆ
- ลักษณะของการเจ็บหัวนมเป็นแบบแสบร้อน คัน เจ็บจี๊ด เจ็บตื้อๆ หรือมีปวดร้าวไปที่ใด
- อาการหรืออาการแสดงร่วม ได้แก่ ผิวหนังบริเวณที่เจ็บเปลี่ยนแปลงอย่างไร สีของหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ลักษณะของหัวนมหลังการให้นมเป็นอย่างไร มีไข้ร่วมด้วยหรือไม่
- สิ่งใดเป็นปัจจัยส่งเสริมหรือบรรเทาอาการเจ็บปวด ได้แก่ ความเย็น ความร้อน การสัมผัสอย่างนุ่มนวล หรือการออกแรงกดบริเวณหัวนม
- การรักษาที่ได้รับมาก่อน ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อรา สมุนไพร สารหล่อลื่น หรือยาอื่นๆ
เอกสารอ้างอิง
- Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.