คลังเก็บป้ายกำกับ: การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่1

การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่5

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? อธิบายมารดาถึงสิ่งที่คาดหวังขณะให้นมทารก

??????????? -คาดหวังว่าทารกจะใช้เวลากินนมนาน และมีช่วงพักบ่อยๆ ระหว่างการดูด โดยการกินนมควรอยู่ในบรรยากาศที่สงบเงียบ ไม่เร่งรีบ และมีเวลากินนมนานราว 1 ชั่วโมงหรือมากกว่าในแต่ละมื้อ

??????????? -คาดหวังว่าทารกอาจจะมีการสำลักหรือการติดขัดระหว่างการกินนมได้ เนื่องจากทารกอาจมีแรงตึงของกล้ามเนื้อน้อยและความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อยังไม่ดี

??????????? -หยุดความพยายามในการให้นมหากทารกง่วงหรือหงุดหงิดเกินไป โดยมารดาอาจจะยังอุ้มทารกอยู่ที่อกต่อโดยไม่ได้พยายามให้นม

??????????? -รักษาบรรยากาศขณะให้นมให้สงบมากที่สุดที่เป็นไปได้ หลีกเลี่ยงเสียงดัง แสงจ้า เสียงจอกแจกหรือการพูดคุยระหว่างการให้นม

เตรียมมารดาและทารกให้พร้อมสำหรับการกลับบ้าน

??????????? -ทารกอาจจะพร้อมที่จะกลับบ้าน หากทารกดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพและน้ำหนักขึ้นดี โดยปกติมักจะให้ทารกมีน้ำหนักราว 1800-2000 กรัมก่อนกลับบ้านแล้วแต่แนวทางในการปฏิบัติของแต่ละโรงพยาบาล

??????????? -กระตุ้นให้โรงพยาบาลจัดสถานที่ให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 1-2 วันก่อนอนุญาตให้กลับบ้าน เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้กับมารดา และช่วยให้การสร้างน้ำนมเพียงพอสำหรับความต้องการของทารก

??????????? -เพื่อให้แน่ใจว่ามารดาสามารถจะรู้สึกถึงสัญญาณของการที่ทารกกินได้เพียงพอ และมารดาสามารถจะจัดท่าให้นมและเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม

??????????? -เพื่อดูว่ามารดาสามารถจะดูแลและให้นมทารกได้เมื่อกลับบ้านพร้อมกับเตรียมการนัดติดตาม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่4

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? –การวางทารกไว้ที่เต้านม

??????? วางทารกไว้ที่เต้านมเมื่อทารกเริ่มตื่น หรือมีการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็วใต้เปลือกตา เมื่อทารกมีความพร้อมที่จะกินนม ทารกอาจจะอมหรือดูดนิ้ว ซึ่งหากมารดาจับสัญญาณการกินนมของทารกได้เหมาะสม จะทำให้ทารกไม่สูญเสียพลังงานไปกับการร้องไห้เพื่อได้กินนม

??????? ควรแสดงการอุ้มและจัดท่าทารกในการกินนม ทารกที่ตัวเล็กควรได้รับพยุงหรือประคองศีรษะด้วยมือของมารดา ไม่จับบีบศีรษะ อาจใช้ท่อนแขนรองทารกหรือทารกอาจอยู่ด้านข้างของลำตัวมารดา โดยมือที่เหลืออีกข้างของทารกอาจใช้จัดเต้านมช่วยให้เข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม

??????? การจัดเต้านมอาจทำโดยใช้นิ้วทั้งสี่ไว้ด้านล่างของเต้านม และนิ้วหัวแม่มืออยู่ห่างจากลานนมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้รบกวนขณะที่ทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนม

??????? เพื่อให้การไหลของน้ำนมดี ควรกดหรือนวดบริเวณเต้านมขณะช่วงระหว่างที่ทารกพักดูดนม ถ้าน้ำนมยังไม่ไหลดีพอที่ทารกจะดูดและกลืนได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่3

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? –ช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

??????? ช่วยให้มารดาสามารถบีบน้ำนมได้ โดยเริ่มภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด และบีบน้ำนมตั้งแต่หกครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง

??????? กระตุ้นให้มารดาให้เวลาทารกอยู่ที่เต้านมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดแม้ว่าทารกจะยังดูดนมได้ไม่ดี? โดยทารกที่เป็นทารกที่คลอดครบกำหนดที่มีการแลบลิ้นออกมา มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นให้ดูดนม มีการดูดและการกลืนได้จะไม่มีอันตราย

??????? อธิบายให้มารดาทราบว่า การกระตุ้นให้ทารกดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกนั้น เป็นการให้ทารกรู้จักเต้านมมากกว่าการให้ทารกดูดนมอย่างเต็มที่

??????? สามารถให้ทารกอยู่ที่เต้านมได้ทั้งที่ทารกให้สายยางในการให้อาหารเพื่อให้ทารกสัมผัสกับความรู้สึกอิ่มเอมเมื่ออยู่ที่เต้านม

??????? น้ำหนักทารกจะยังไม่ใช่ตัววัดที่เหมาะสมในการวัดความสามารถกินนมแม่ในระยะแรก การพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า

??????? จนกว่าทารกจะดูดนมจากเต้านมได้ดี ควรป้อนนมทารกโดยใช้ถ้วยหรือสายยางมากกว่าการใช้หัวนมเทียมและขวดนม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่2

 

 

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? –ช่วยดูแลมารดา เนื่องจากมารดามีความสำคัญต่อสุขภาพและการรอดชีวิตของทารก

??????? ช่วยให้มารดาพักอยู่ที่โรงพยาบาลขณะที่ทารกอยู่ที่หอผู้ป่วย

??????? หากมารดาต้องเดินทางไกลเพื่อเยี่ยมทารกที่โรงพยาบาล ควรช่วยเหลือโดยการจัดที่ให้มารดาได้พักผ่อนเมื่อมาถึงโรงพยาบาล

??????? จัดให้มารดามีที่นั่งที่สบายใกล้กับทารก

??????? กระตุ้นให้สถานพยาบาลจัดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับมารดา

??????? ตอบคำถามมารดาและครอบครัวอย่างอดทน แม้ว่ามารดาและครอบครัวจะเศร้าหรือตกใจเมื่อทารกป่วย

??????? ทำให้มารดาและครอบครัวทราบว่า ทีมบุคลากรทางการแพทย์เห็นว่านมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำคัญ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตตอนที่1

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? –จัดให้มารดาและทารกได้พบกันทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน โดย

??????? กระตุ้นให้มารดามาเยี่ยม อุ้มทารก และดูแลทารกมากที่สุดที่จะทำได้

??????? มารดาจะสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นสารที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มารดาได้สัมผัส เมื่อมารดาได้อยู่กับทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตมารดาจะสร้างแอนติบอดีซึ่งต่อต้านเชื้อโรคที่ทารกแรกเกิดวิกฤต และส่งผ่านนมแม่ไปให้กับทารกโดยจะทำให้ทารกได้รับแอนติบอดีต่อเชื้อโรคที่ทารกจะต้องพบเจอขณะที่อยู่ที่ทารกแรกเกิดวิกฤต

??????? การให้ทารกได้มีผิวสัมผัสกับผิวของมารดา จะทำให้มารดาได้อุ้มทารกและทารกสามารถเข้าหาเต้านมได้ทุกครั้งที่ต้องการ และการที่ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาจะช่วยให้การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมการหายใจทารกดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาการของทารกและช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009