คลังเก็บป้ายกำกับ: การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

? ? ? ? ? หลังจากคุณแม่เข้าสู่ระยะเบ่งคลอดแล้ว ในกรณีที่มีความผิดปกติของท่าของทารก ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ความผิดปกติของแรงเบ่งของแม่หรือแรงหดรัดตัวของมดลูก การคลอดอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด โดยคุณหมอจะพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอดหรือไม่ร่วมกับปรึกษาคุณแม่และชี้แจงขั้นตอนการช่วยคลอดและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

?เครื่องมือที่ใช้ช่วยคลอดมี 2 ชนิดคือ

  1. คีมช่วยคลอด
  2. เครื่องดูดสุญญากาศ

เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ใช้ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่งหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง? โรคหัวใจ เป็นต้น? หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องรีบให้คลอดในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้วและทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด? การเลือกใช้เครื่องมือช่วยคลอดแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับ? ท่าของทารก? ความชำนาญของผู้ทำคลอด? และความเร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบทำคลอด

? ? ? ? ? การช่วยคลอดโดยใช้คีม? ก่อนที่จะช่วยคลอด แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณอุ้งเชิงกราน แล้วสอดคีมเข้าไปด้านข้างของศีรษะทารกทีละข้าง? จากนั้นจึงทำการดึงอย่างนุ่มนวลผ่านช่องคลอด? คุณแม่อาจช่วยการคลอดได้โดยเบ่ง? เมื่อศีรษะเด็กเคลื่อนลงมาต่ำจึงทำการตัดฝีเย็บ? แล้วทำคลอดส่วนศีรษะ คลายคีมออก ทำคลอดส่วนลำตัวและแขนขาตามปกติ? ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้ มักพบรอยแดงบริเวณคีมคีบ? ซึ่งจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน

? ? ? ? ? การช่วยคลอดโดยเครื่องสุญญากาศ? เช่นเดียวกันจะต้องทำการฉีดยาบริเวณอุ้งเชิงกราน? แล้วใส่โลหะกลมหรือยางซิลิโคนรูปร่างคล้ายถ้วยเล็กๆ เข้าไปดูดกับหนังศีรษะทารกจากนั้นดูดอากาศในถ้วยออกเพื่อให้เป็นสุญญากาศแล้วดึงให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาพร้อมกับแรงเบ่งของคุณแม่? เมื่อศีรษะลงมาต่ำ ตัดฝีเย็บ ทำคลอดส่วนศีรษะปิดเครื่องดูดสุญญากาศ ถ้วยจะหลุดออก แล้วทำคลอดส่วนที่เหลือของทารกตามปกติ? ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้? มักมีศีรษะนูนเป็นลักษณะคล้ายจุก ซึ่งเกิดจากแรงดูดของเครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งปกติจะหายไปใน 2-3 วัน

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด? หากไม่พบภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และทารก คุณแม่สามารถจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ในระยะเดียวกันกับการคลอดปกติ

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์