รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? การดูแลสุขภาพในปัจจุบัน บางครั้งต้องเผชิญกับความเชื่อ ทั้งที่เป็นความเชื่อจากการแพทย์ดั้งเดิม ความเชื่อจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ หรือความเชื่อจากขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมักจะขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจน การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นยาก และอาจมีความยากมากขึ้น หากบุคคลนั้นเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เช่นเดียวกันกับมีความเชื่อเกี่ยวกับการกินผักหรือการกินมังสวิรัติว่าจะส่งผลช่วยลดหรือป้องกันการเกิดมะเร็งได้ มีข้อมูลการศึกษาในอินเดียในสตรีที่กินมังสวิรัติมาตลอดชีวิตมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมไม่แตกต่างจากสตรีทั่วไป (Odds ratio 1.09 (95% CI 0.93-1.29))1 ดังนั้น การที่เราฟังข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ จำเป็นต้องมีการกลั่นกรองหาข้อมูลความน่าเชื่อถือแล้ววิเคราะห์ก่อนตัดสินใจในข้อมูลเหล่านั้น นอกจากนี้ ความรู้ที่มีในปัจจุบัน อาจเปลี่ยนแปลงได้ หากมีหลักฐานใหม่ ๆ เพิ่มเติมมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการหาความรู้เพิ่มเติมใหม่ที่ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะแพทย์ที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการตัดสินใจของผู้ป่วยที่มารับคำปรึกษา
เอกสารอ้างอิง
- Gathani T, Barnes I, Ali R, et al. Lifelong vegetarianism and breast cancer risk: a large multicentre case control study in India. BMC Womens Health 2017;17:6.