รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้นมแม่แก่ทารกจะมีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารก โดยจะควบคุมให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของทารกเป็นปกติ และมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อในหลากหลายระบบ รวมทั้งระบบทางเดินปัสสาวะ มีการศึกษาพบว่า ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ1,2 นอกจากนี้ ยังพบว่า การกินนมแม่ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย3 ซึ่งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่จะส่งผลให้ทารกต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น การลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลง ก็เท่ากับช่วยลดจำนวนวันที่ทารกต้องนอนโรงพยาบาลลงด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Marild S, Hansson S, Jodal U, Oden A, Svedberg K. Protective effect of breastfeeding against urinary tract infection. Acta Paediatr 2004;93:164-8.
- Hanson LA. Protective effects of breastfeeding against urinary tract infection. Acta Paediatr 2004;93:154-6.
- Levy I, Comarsca J, Davidovits M, Klinger G, Sirota L, Linder N. Urinary tract infection in preterm infants: the protective role of breastfeeding. Pediatr Nephrol 2009;24:527-31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่ทารกได้กินนมแม่จะช่วยลดการเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีการศึกษาพบว่า การกินนมแม่จะช่วยลดการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยลดจำนวนครั้งของการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ และลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่รุนแรง1-3 ซึ่งการกินนมแม่ของทารกจะสามารถลดการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ 0.64 เท่า (95%CI 0.42-0.99)2 และนอกจากนี้ ยังพบว่าการกินนมแม่สามารถลดความรุนแรงของการติดเชื้อ respiratory syncytial virus ได้ด้วย4,5 ซึ่งการลดจำนวนครั้งของการเจ็บป่วยและการลดความรุนแรงของการติดเชื้อ จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมด้านสาธารณสุขของประเทศ ทำให้การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหนึ่งในการลงทุนทางด้านการป้องกันสุขภาพที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมากที่สุด
เอกสารอ้างอิง
- Libster R, Bugna Hortoneda J, Laham FR, et al. Breastfeeding prevents severe disease in full term female infants with acute respiratory infection. Pediatr Infect Dis J 2009;28:131-4.
- Vereen S, Gebretsadik T, Hartert TV, et al. Association between breast-feeding and severity of acute viral respiratory tract infection. Pediatr Infect Dis J 2014;33:986-8.
- Zivich P, Lapika B, Behets F, Yotebieng M. Implementation of Steps 1-9 to Successful Breastfeeding Reduces the Frequency of Mild and Severe Episodes of Diarrhea and Respiratory Tract Infection Among 0-6 Month Infants in Democratic Republic of Congo. Matern Child Health J 2018;22:762-71.
- Nishimura T, Suzue J, Kaji H. Breastfeeding reduces the severity of respiratory syncytial virus infection among young infants: a multi-center prospective study. Pediatr Int 2009;51:812-6.
- Roine I, Fernandez JA, Vasquez A, Caneo M. Breastfeeding reduces immune activation in primary respiratory syncytial virus infection. Eur Cytokine Netw 2005;16:206-10.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)