คลังเก็บป้ายกำกับ: การกลับเข้าทำงานของมารดา

การกลับเข้าทำงานของมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

w33

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การกลับเข้าทำงานของมารดา การที่มารดาต้องกลับไปทำงาน ทำให้มีโอกาสที่จะต้องแยกจากทารก หากมารดาไม่ได้รับการแนะนำและฝึกปฏิบัติในการบีบน้ำนมและมีความรู้ในเรื่องการเก็บรักษาน้ำนม ร่วมกับต้องมีความช่วยเหลือของครอบครัวในผู้ที่ช่วยดูแลทารก จะมีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 ในการศึกษาในประเทศไทยพบเป็นสาเหตุสำคัญที่พบบ่อยที่สุดในการหยุดกินนมแม่3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

2.???????????? Ladomenou F, Kafatos A, Galanakis E. Risk factors related to intention to breastfeed, early weaning and suboptimal duration of breastfeeding. Acta Paediatr 2007;96:1441-4.

3.???????????? Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health sci 2009;16:116-23.

4.???????????? Plewma P. Prevalence and factors influencing exclusive breast-feeding in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 3:S94-9.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

  • เศรษฐานะ มารดาที่มีรายได้ต่ำสัมพันธ์ความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2
  • การแต่งงาน ในมารดาที่แต่งงานเป็นปัจจัยบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
  • การศึกษา มารดาที่มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า3
  • อาชีพ พบบางอาชีพอาจเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ทหาร4 อาชีพลูกจ้างมีความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ามารดาที่เป็นแม่บ้านหรือมีธุรกิจส่วนตัว5
  • การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์ มีผลดีต่อความสำเร็จและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น7,8 โดยรูปแบบความรู้สามารถให้ได้ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ รูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) การให้ฝึกปฏิบัติ (hand on) การให้แก้โจทย์ปัญหาหรือการให้แสดงบทบาท (role-play) การจัดการสนับสนุนความรู้ที่เป็นรูปแบบที่เป็นการพูดคุยต่อหน้า (face to face) หลากหลายรูปแบบระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดให้ผลดีกว่าการจัดรูปแบบเดียว9
  • การใช้นมผสม มีผลต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมสั้นหากมีมารดาใช้นมผสม10
  • โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก (Baby-Friendly Hospital Initiative) จะมีการปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Ten Steps to Successful Breastfeeding) ส่งผลดีต่อการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่11-14
  • การกลับเข้าทำงานของมารดา มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่15
  • การลาพักหลังคลอด ในมารดาที่ลาพักหลังคลอดได้นานจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า5
  • สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ที่ให้นมแม่ ตู้เย็นเก็บนมแม่ สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่16
  • การเยี่ยมบ้าน พบว่าหากมีการเยี่ยมบ้านของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงของการใช้นมผสมลง17

?

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

2.???????????? Dettwyler KA. When to wean: biological versus cultural perspectives. Clin Obstet Gynecol 2004;47:712-23.

3.???????????? Hall WA, Hauck Y. Getting it right: Australian primiparas’ views about breastfeeding: A quasi-experimental study. Int J Nurs Stud 2007;44:786-95.

4.???????????? Bales K, Washburn J, Bales J. Breastfeeding rates and factors related to cessation in a military population. Breastfeed Med 2012;7:436-41.

5.???????????? Skafida V. Juggling work and motherhood: the impact of employment and maternity leave on breastfeeding duration: a survival analysis on Growing Up in Scotland data. Matern Child Health J 2012;16:519-27.

6.???????????? Britton C, McCormick FM, Renfrew MJ, Wade A, King SE. Support for breastfeeding mothers. Cochrane Database Syst Rev 2007:CD001141.

7.???????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

8.???????????? Noel-Weiss J, Rupp A, Cragg B, Bassett V, Woodend AK. Randomized controlled trial to determine effects of prenatal breastfeeding workshop on maternal breastfeeding self-efficacy and breastfeeding duration. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:616-24.

9.???????????? Meedya S, Fahy K, Kable A. Factors that positively influence breastfeeding duration to 6 months: a literature review. Women Birth 2010;23:135-45.

10.????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

11.????????? Hawke BA, Dennison BA, Hisgen S. Improving Hospital Breastfeeding Policies in New York State: Development of the Model Hospital Breastfeeding Policy. Breastfeed Med 2012.

12.????????? Goodman K, DiFrisco E. Achieving baby-friendly designation: step-by-step. MCN Am J Matern Child Nurs 2012;37:146-52; quiz 52-4.

13.????????? Labbok MH. Global baby-friendly hospital initiative monitoring data: update and discussion. Breastfeed Med 2012;7:210-22.

14.????????? Venancio SI, Saldiva SR, Escuder MM, Giugliani ER. The Baby-Friendly Hospital Initiative shows positive effects on breastfeeding indicators in Brazil. J Epidemiol Community Health 2012;66:914-8.

15.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

16.????????? Cameron B, Javanparast S, Labbok M, Scheckter R, McIntyre E. Breastfeeding support in child care: an international comparison of findings from Australia and the United States. Breastfeed Med 2012;7:163-6.

17.????????? Feldens CA, Ardenghi TM, Cruz LN, Cunha Scalco GP, Vitolo MR. Advising mothers about breastfeeding and weaning reduced pacifier use in the first year of life: a randomized trial. Community Dent Oral Epidemiol 2012.