คลังเก็บป้ายกำกับ: กลุ่มอาการสมาธิสั้นของเด็กกับปัจจัยแวดล้อมในครรภ์และการกินนมแม่

กลุ่มอาการสมาธิสั้นของเด็กกับปัจจัยแวดล้อมในครรภ์และการกินนมแม่

IMG_3964

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? กลุ่มอาการสมาธิสั้น (attention deficit hyperactive disorders หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติทางจิตประสาทที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางพฤติกรรมและจิตใจ การแสดงออกของอาการจะมีลักษณะขาดสมาธิในการจดจ่อในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีผลการเรียนจะต่ำ มีอารมณ์โกรธ ซึมเศร้า มีแรงกระตุ้นผลักดันให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย อยู่ไม่สุก โดยอาการมักเริ่มต้นเห็นอาการในวัยเด็ก ความชุกของกลุ่มอาการสมาธิสั้นที่พบทั่วโลกพบร้อยละ 5-8 ซึ่งจะพบเด็กที่ยังคงมีอาการต่อเนื่องไปถึงวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งของความชุกที่พบ มีรายงานถึงผลกระทบที่เกิดจากการมีความผิดปกติในกลุ่มอาการสมาธิสั้น ได้แก่ ทำให้เสียการเรียน สูญเสียอาชีพและบทบาทของด้านสังคม เพิ่มโอกาสการใช้ยาเสพติด เพิ่มอุบัติเหตุจากการจราจร เพิ่มโอกาสเกิดโรคทางจิตประสาทอื่นๆ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในภาพรวมของสังคม?

??????????? จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ได้แก่ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียดหรือภาวะกดดันสภาวะจิตหรือสังคม นิโคตินจากการสูบบุหรี่ การกินเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดโคเคน ภาวะแทรกซ้อนและการบาดเจ็บที่ศีรษะของทารกจากการคลอด ภาวะขาดเลือดหรือออกซิเจนของทารกในครรภ์ รวมถึงภาวะต่างๆ ที่ส่งผลทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทำให้เกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคกลุ่มเมตาบอลิก (metabolic disease) ได้

??????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด

??????????? มีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซินพบว่าช่วยหรือซ่อมแซมกลไกการเกิดการตั้งโปรแกรมอดออมของทารกได้1 ดังนั้น การให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งมีการกระตุ้นออกซิโตซินตามธรรมชาติก็น่าจะมีส่วนช่วยในการลดการเกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.