คลังเก็บป้ายกำกับ: สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในน้ำนม

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหาร

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารที่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหารในนมแม่ ได้แก่ neuronal growth factor ในการพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหารต้องอาศัยการทำงานของ neurotrophic factor จากสมองและจาก glial cell-line ซึ่งจะกระตุ้นทำให้การบีบตัวของลำไส้ (peristalsis) และทำให้ลำไส้ทำงานปกติ1,2 โดยระบบการทำงานนี้จะพบได้บ่อยว่าทำงานไม่สมบูรณ์ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด สารที่ช่วยการเจริญเติบโตเหล่านี้ร่วมกับ ciliary neurotrophic factor ที่พบในน้ำนมในช่วง 90 วันหลังคลอดจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและช่วยให้อัตราการรอดชีวิตของเซลล์ประสาทสูงขึ้น3,4

?

หนังสืออ้างอิง

1.????? Rodrigues DM, Li AY, Nair DG, Blennerhassett MG. Glial cell line-derived neurotrophic factor is a key neurotrophin in the postnatal enteric nervous system. Neurogastroenterol Motil 2011;23:e44-56.

2.????? Boesmans W, Gomes P, Janssens J, Tack J, Vanden Berghe P. Brain-derived neurotrophic factor amplifies neurotransmitter responses and promotes synaptic communication in the enteric nervous system. Gut 2008;57:314-22.

3.????? Li R, Xia W, Zhang Z, Wu K. S100B protein, brain-derived neurotrophic factor, and glial cell line-derived neurotrophic factor in human milk. PLoS One 2011;6:e21663.

4.????? Fichter M, Klotz M, Hirschberg DL, et al. Breast milk contains relevant neurotrophic factors and cytokines for enteric nervous system development. Mol Nutr Food Res 2011;55:1592-6.

?

?

?

 

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของลำไส้

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -สารที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของลำไส้ ได้แก่ ?epidermal growth factor ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในน้ำคร่ำและน้ำนม1,2 สารนี้จะทนทานต่อภาวะกรดในกระเพาะและทนทานต่อเอนไซม์ในลำไส้เล็กจึงผ่านไปถึงลำไส้เล็กได้และกระตุ้นเซลล์ของลำไส้ (enterocyte) ให้เพิ่มการสังเคราะห์ดีเอนเอ การแบ่งเซลล์ การดูดกลับของน้ำและน้ำตาล และการสังเคราะห์โปรตีน3,4 นอกจากนี้ยังมีผลด้านการยับยั้งกระบวนการการเสื่อมและการเสียชีวิตของเซลล์ (programmed cell death) การปรับให้โปรตีนที่เชื่อมรอยต่อระหว่างตับกับลำไส้จัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม5 และ epidermal growth factor บางตัว คือ heparin-binding epidermal growth factor จะช่วยรักษาความเสียหายจากผลของการขาดออกซิเจน หรือการขาดเลือดไปเลี้ยงของเซลล์ได้ รักษาอาการบาดเจ็บจากการเสียเลือด อาการช็อก และ necrotizing enterocolitis6 ปริมาณของ epidermal growth factor ในน้ำนมจะมีมากในน้ำนมระยะแรกและค่อยๆ ลดลง โดยจะมีความเข้มข้นในหัวน้ำนม? (colostrum) มากเป็น? 2000 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำนมในระยะสมบูรณ์ (mature milk) และมากเป็น 100 เท่าเมื่อเทียบกับปริมาณในกระแสเลือดมารดา ยิ่งกว่านั้น ในน้ำนมของมารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนดจะพบ epidermal growth factor สูงกว่าในน้ำนมมารดาที่คลอดทารกครบกำหนด ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนดเหล่านี้7,8

หนังสืออ้างอิง

1.????? Wagner CL, Taylor SN, Johnson D. Host factors in amniotic fluid and breast milk that contribute to gut maturation. Clin Rev Allergy Immunol 2008;34:191-204.

2.????? Hirai C, Ichiba H, Saito M, Shintaku H, Yamano T, Kusuda S. Trophic effect of multiple growth factors in amniotic fluid or human milk on cultured human fetal small intestinal cells. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2002;34:524-8.

3.????? Chang CJ, Chao JC. Effect of human milk and epidermal growth factor on growth of human intestinal Caco-2 cells. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2002;34:394-401.

4.????? Read LC, Upton FM, Francis GL, Wallace JC, Dahlenberg GW, Ballard FJ. Changes in the growth-promoting activity of human milk during lactation. Pediatr Res 1984;18:133-9.

5.????? Khailova L, Dvorak K, Arganbright KM, Williams CS, Halpern MD, Dvorak B. Changes in hepatic cell junctions structure during experimental necrotizing enterocolitis: effect of EGF treatment. Pediatr Res 2009;66:140-4.

6.????? Radulescu A, Zhang HY, Chen CL, et al. Heparin-binding EGF-like growth factor promotes intestinal anastomotic healing. J Surg Res 2011;171:540-50.

7.????? Dvorak B, Fituch CC, Williams CS, Hurst NM, Schanler RJ. Increased epidermal growth factor levels in human milk of mothers with extremely premature infants. Pediatr Res 2003;54:15-9.

8.????? Dvorak B, Fituch CC, Williams CS, Hurst NM, Schanler RJ. Concentrations of epidermal growth factor and transforming growth factor-alpha in preterm milk. Adv Exp Med Biol 2004;554:407-9.

?

?

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในน้ำนมแม่มีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตของทารกโดยมีผลต่อระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ แบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ได้ดังนี้

??????????????? -สารที่ช่วยด้านการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของลำไส้ ได้แก่ ?epidermal growth factor

??????????? -สารที่ช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทในทางเดินอาหาร ได้แก่ neuronal growth factor

??????????????? -สารที่ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ได้แก่? สารในกลุ่มของ insulin-like growth factor

??????????????? -สารที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ได้แก่ vascular endothelial growth factor

??????????? -สารที่ช่วยในการพัฒนาการของลำไส้และป้องกันภาวะซีด ได้แก่ erythropoietin

??????????? -ฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ได้แก่ calcitonin และ somatostatin

??????????? -สารที่ช่วยควบคุมการเผาพลาญและสัดส่วนของร่างกาย ได้แก่ adiponectin และฮอร์โมนอื่นๆ

??????????????? จะเห็นว่า สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่นั้น มีคุณสมบัติที่มากกว่าเรื่องความครบถ้วนของสารอาหาร เนื่องจากสารเหล่านี้ช่วยควบคุมระบบการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม

สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในน้ำนม

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ (bioactive component in human milk) คือสารที่ออกฤทธิ์ต่อกระบวนการทางชีวภาพ มีผลต่อหน้าที่การทำงานของร่างกาย สภาวะหรือตลอดจนสุขภาพ แหล่งกำเนิดของสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในนมแม่ อาจจะมีมาจากการสร้างจากเซลล์เยื่อบุผิวในเต้านม เซลล์ที่มีอยู่ในน้ำนม หรือผ่านมาจากกระแสเลือดโดยผ่านตัวรับที่เซลล์ของเต้านม นอกเหนือจากความสำคัญในด้านสารอาหารในนมแม่ที่มีอย่างครบถ้วนแล้ว นมแม่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพของทารกในด้านการควบคุมการเจริญเติบโต พัฒนาการและระบบภูมิคุ้มกันด้วย