คลังเก็บป้ายกำกับ: ภาวะลิ้นติด

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด มีเกณฑ์การวินิจฉัยหลากหลาย เกณฑ์ของ Hazelbaker ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการศึกษาและการวิจัย ประเมินลักษณะของลิ้นทารกโดยใช้ลักษณะ 5 อย่างร่วมกับการใช้หน้าที่การทำงานของลิ้นอีก 7 อย่าง การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดเมื่อให้คะแนนลักษณะรวมแล้วได้ 8 หรือน้อยกว่า และ/หรือ คะแนนหน้าที่รวมแล้วได้ 11 หรือน้อยกว่า2 แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 เกณฑ์การประเมินลักษณะและหน้าที่การทำงานของลิ้นของ Hazelbaker

คะแนนลักษณะ คะแนนหน้าที่การทำงาน
ลักษณะลิ้นเมื่อกระดกขึ้น การเคลื่อนที่ไปด้านข้างของลิ้น
? 2: มนหรือเหลี่ยม ? 2: สมบูรณ์
? 1: ปลายหยักเล็กน้อย ? 1: ไปเฉพาะตัวลิ้น ปลายไม่ไป
? 0: รูปหัวใจหรือตัว V ? 0: ไม่ได้เลย
ความยืดหยุ่นของ frenulum การกระดกลิ้น
? 2: ยืดหยุ่นมาก ? 2: ปลายลิ้นถึงกลางปาก
? 1: ยืดหยุ่นปานกลาง ? 1: แค่ขอบสองข้างถึงกลางปาก
? 0: ยืดหยุ่นเล็กน้อยหรือไม่เลย ? 0: ปลายอยู่แค่เหงือกล่างหรือกระดกได้ถึงเฉพาะเวลาเหงือกหุบ
ความยาวของ frenulum เมื่อลิ้นกระดก การแลบลิ้น
? 2: > 1 cm ? 2: ปลายลิ้นอยู่บนริมฝีปากล่าง
? 1: 1 cm ? 1: ปลายลิ้นอยู่บนเหงือกล่างเท่านั้น
? 0: < 1 cm ? 0: ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่าง หรือส่วนปลายหรือส่วนกลางลิ้นนูนสูงขึ้น
การยึดของ frenulum กับลิ้น การแผ่ของส่วนปลายของลิ้น
? 2: ส่วนหลังของปลายลิ้น ? 2: บริบูรณ์เต็มที่
? 1: ที่ปลายเลย ? 1: ปานกลางหรือบางส่วน
? 0: ปลายลิ้นมีรอยหยัก ? 0: เล็กน้อยหรือไม่เลย
ตำแหน่งยึดของ frenulum กับขอบเหงือกล่าง การม้วนของขอบลิ้นเมื่ออมหัวนม(cupping)
? 2: ยึดติดกับพื้นปากหรือหลังต่อขอบเหงือก ? 2: ตลอดขอบ ม้วนอมได้กระชับ
? 1: ยึดหลังขอบเหงือกพอดี ? 1: ขอบข้างเท่านั้น กระชับปานกลาง
? 0: ยึดติดที่ขอบเหงือก ? 0: ไม่ดี หรือไม่กระชับเลย
การเคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่นของลิ้น
? 2: สมบูรณ์ จากหน้าไปถึงหลัง
? 1: บางส่วน เริ่มจากส่วนหลังต่อปลายลิ้น
? 0: ไม่มี หรือเคลื่อนกลับทาง
การอมแล้วหลุด
? 2: ไม่เลย
? 1: เป็นครั้งคราว
? 0: บ่อยๆ หรือทุกครั้งที่ดูด

หมายเหตุ ข้อมูลแปลเป็นไทยโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์วีระพงษ์? ฉัตรานนท์ จาก http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=345949

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

 

 

ภาวะลิ้นติด (tongue-tie) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ภาวะลิ้นติดเป็นภาวะที่ทีมแพทย์ผู้ดูแล คุณแม่และครอบครัวมีความวิตกกังวลถึงผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบมีอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 1.7-10.72-4 เนื่องจากมีเกณฑ์การวินิจฉัยที่หลากหลาย โดยมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี และการหยุดนมแม่เร็ว นอกจานี้ยังอาจพบมีความยากในการออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ T, D, Z, S, N, J, L, CH, TH, DG และ R4,5 แต่ไม่ได้พบว่าเป็นสาเหตุของการพูดช้า5 สำหรับการเลือกทารกที่ควรจะได้รับการผ่าตัดรักษา โดยจากข้อมูลในปัจจุบันจะใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดร่วมกับการมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยวัดคะแนนการเจ็บเต้านม คะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือคะแนนการเข้าเต้า โดยการผ่าตัดรักษานิยมใช้การผ่าตัด frenotomy หรือ frenulotomy ผลลัพธ์ของการรักษาได้ผลดีและไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง2,3,6

 

หนังสืออ้างอิง

 

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

3.???????????? Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19:19-26.

4.???????????? Chaubal TV, Dixit MB. Ankyloglossia and its management. J Indian Soc Periodontol 2011;15:270-2.

5.???????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

6.???????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

?