คลังเก็บป้ายกำกับ: ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่2

IMG_1036

สำหรับเป้าหมายของแผนปฏิบัติการในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงแรกปี พ.ศ.2533 มี 4 ข้อคือ

? ? ? ? ? ? ? ?1.เจรจาหาความร่วมมือจากผู้ที่อำนาจในการดำเนินงาน พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐ เอกชน และบุคลากรทางการแพทย์

? ? ? ? ? ? ? ?2.สนับสนุนการให้สถานพยาบาลดำเนินการตามหลักบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?3.ยึดการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

? ? ? ? ? ? ? ?4.ส่งเสริมให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองและปกป้องสิทธิในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่สตรีที่ทำงาน

? ? ? ? ? ? ? ? และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการเพิ่มเป้าหมายในแผนปฏิบัติการอีก 5 ข้อ

? ? ? ? ? ? ? ? 5.พัฒนา ติดตามและประเมินผลนโยบายและระบบการดำเนินงานเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กตามบริบทของนโยบายเรื่องอาหาร อนามัยการเจริญพันธุ์ และการแก้ปัญหาเรื่องความยากจนของแต่ละประเทศ

? ? ? ? ? ? ? ? ?6.สนับสนุนให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องสุขภาพและหน่วยงานภาคประชาสังคมช่วยกันปกป้องให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น โดยช่วยส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนของครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบการ และทำให้มารดาสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเหล่านี้ได้

? ? ? ? ? ? ? ? 7.ส่งเสริมการจัดอาหารเสริมตามวัยที่ปลอดภัยและให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? ? 8.จัดทำแนวทางในการให้อาหารทารกและเด็กเล็กในกรณีที่มีความเจ็บป่วยหรือยากลำบากในการให้ พร้อมทั้งการให้การสนับสนุนในมารดา ครอบครัว และบุคลากรทางแพทย์ในกรณีเดียวกัน

? ? ? ? ? ? ? ? ?9.พิจารณาการระเบียบหรือตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อใช้ส่งเสริมหรือวัดผลการดำเนินงานของหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและปัญหาด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่1

IMG_1041

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การดำเนินการด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขององค์การอนามัยโลกได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2524 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสนับสนุนให้มีการใช้หลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กเมื่อปี พ.ศ. 2524 หรือเรียกย่อว่า code และมีประเทศที่นำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้กว่าร้อยละ 70 ทั่วโลก1 โดยวัตถุประสงค์ของการออกหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารของทารกและเด็กเล็กเพื่อป้องกันมารดาและบุคลากรทางการแพทย์จากการตลาดของนมผสม ในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) องค์กรอนามัยโลกและองค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) ประกาศการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างชัดเจนในปฏิญญาบริสุทธิ์ที่ว่าด้วยการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Innocent ?Declaration on the Protection, Promotion and Support of Breastfeeding) และในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) มีการเริ่มนโยบายการดำเนินงานโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือยุทธวิธี คือ บันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในช่วงแรกมีแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 4-6 เดือน2 ต่อมาเมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่เริ่มมากขึ้น โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจและหูอักเสบ ผิวหนังอักเสบ3 จึงได้นำไปสู่ให้ข้อแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มจาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศข้อแนะนำว่ามารดาควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือนในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544)2

เอกสารอ้างอิง

  1. Salasibew M, Kiani A, Faragher B, Garner P. Awareness and reported violations of the WHO International Code and Pakistan’s national breastfeeding legislation; a descriptive cross-sectional survey. Int Breastfeed J 2008;3:24.
  2. Fewtrell MS, Morgan JB, Duggan C, et al. Optimal duration of exclusive breastfeeding: what is the evidence to support current recommendations? Am J Clin Nutr 2007;85:635S-8S.
  3. Kramer MS, Chalmers B, Hodnett ED, et al. Promotion of breastfeeding intervention trial (PROBIT): a cluster-randomized trial in the Republic of Belarus. Design, follow-up, and data validation. Adv Exp Med Biol 2000;478:327-45.

?