คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด

20

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?”การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดไม่ใช่สิ่งที่เกินเอื้อมหรือเป็นไปไม่ได้ แต่มารดาต้องมีความเข้าใจในลักษณะของโรคของทารก” ทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจอาจส่งผลให้เหนื่อยง่าย ไม่มีแรงในการดูดนม หรือดูดนมได้ไม่นาน เริ่มต้นต้องมีการประเมินว่าทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้หรือไม่ เนื่องจากอาการของความผิดปกติของหัวใจในทารกแรกเกิดมีตั้งแต่กลุ่มที่มีความรุนแรงน้อยไปถึงกลุ่มที่มีความรุนแรงมาก หากทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ ควรให้ทารกดูดนมจากเต้า หากทารกดูเหนื่อย อาจหยุดพักและให้นมบ่อยๆ จะทำให้ทารกได้ปริมาณน้ำนมเพียงพอร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งจะช่วยในพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อ

? ? ? ? ? ?สำหรับทารกที่ไม่สามารถเริ่มดูดนมจากเต้าได้ในครั้งแรก อาจพิจารณาการใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่น้ำนมและบีบช่วยให้น้ำนมไหลขณะทารกดูดนม เมื่อฝึกให้ทารกแข็งแรงดูดนมได้ดีขึ้นแล้วจึงให้ดูดนมจากเต้าโดยตรง ซึ่งในระหว่างการฝึกดูดนม มารดาอาจจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติการบีบน้ำนมเก็บด้วยมือ เพื่อเก็บน้ำนมไว้สำหรับใส่ในอุปกรณ์ที่ช่วยฝึกการเข้าเต้าด้วย ความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ได้ จะเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยด้านสุขภาพอื่นๆ ของทารกรวมถึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่จะลดการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

58887641

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในกลุ่มทารกที่มีความเสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลที่ต่ำ การให้นมแม่สามารถให้ได้ เพียงแค่ให้ทารกได้แลบลิ้นเลียหัวน้ำนมที่มีร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อก็ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลได้ หากทารกแรกเกิดไม่ได้มีโรคประจำตัว การปรับตัวของระดับน้ำตาลของทารกจะเป็นปกติภายในสองถึงสามชั่วโมง นอกจากนี้ การให้ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาเนื้อแนบเนื้อราว 15 นาทีก่อนการเจาะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้

? ? ? ?สำหรับอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลต่ำในทารก ได้แก่

? ? -ทารกร้องเสียงสูง หรือไม่มีแรงร้อง

? ? -หายใจลำบาก? หายใจมีเสียง หรือจมูกบานเวลาหายใจ

? ? -หายใจไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีอาการเขียว (cyanosis)

? ? -การควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่คงที่

? ? -หงุดหงิด กระวนกระวาย

? ??-เกร็ง หรือมีอาการชัก

? ? -ไม่ยอมกินนม

? ? -อ่อนแรง (hypotonia) เฉื่อยชา หัวใจเต้นช้า

? ? ? ? ? ? ?อาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลต่ำเหล่านี้เป็นอาการที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแลที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? -ทารกส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาทสามารถที่จะให้นมแม่ได้ หากแม้นทารกไม่สามารถจะให้นมแม่อย่างเดียวได้ นมแม่ก็คงยังมีความสำคัญ จะมีบางวิธีที่จะช่วยในการให้นมแม่ ได้แก่

??????? กระตุ้นให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาและดูดนมตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด

??????? อาจจะต้องปลุกให้ทารกตื่นเพื่อให้นมได้บ่อยๆ และกระตุ้นให้ทารกคงการตื่นตัวระหว่างการกินนม

??????? ช่วยให้มารดาจัดท่าและเข้าเต้าได้ดี

??????? การพยุงเต้านมและจัดให้คางทารกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยให้เข้าเต้าได้ดี โดยอาจใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้พยุงคางทารก ส่วนอีกสามนิ้วที่เหลือพยุงหรือประคองเต้านม

??????????? -นอกจากนี้

??????? การให้นมจะใช้เวลานานไม่ว่าจะให้ด้วยวิธีใด ควรช่วยให้มารดาเข้าใจว่า ไม่ใช่เป็นเฉพาะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่จะใช้เวลานาน

??????? มารดาอาจจำเป็นต้องบีบน้ำนมและป้อนนมทารกด้วยถ้วย

??????? หลีกเลี่ยงการให้ทารกดูดจุกนมเทียมหรือหัวนมหลอก เนื่องจากทารกจะลำบากในการเรียนรู้ทั้งการดูดนมจากเต้าและการดูดจุกนมเทียม

??????? ทารกบางคนที่มีความผิดปกติของระบบประสาทจะมีน้ำหนักขึ้นช้า แม้ว่าจะได้รับนมแม่เพียงพอแล้วก็ตาม

??????? ทารกบางคนที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอาจจะมีปัญหาด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาทางด้านหัวใจ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009