การใช้การบีบน้ำนมดูแลทารกที่มีความต้องการพิเศษ

DSC00035

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -น้ำนมจากมารดาที่คลอดบุตรก่อนกำหนดจะมีโปรตีน โซเดียม และแคลเซียมสูงกว่านมมารดาที่คลอดครบกำหนด ซึ่งในทารกคลอดก่อนกำหนดต้องการโปรตีนสูง ดังนั้นการกินนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนดจึงเป็นประโยชน์

??????????? -นมแม่จะมีพลังงาน 65 กิโลแคลอรีต่อ 100 มิลลิลิตรที่ปริมาณน้ำนม 200 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน ดังนั้นจะได้พลังงาน 130 กิโลแคลอรีต่อวัน หากมารดามีน้ำนมมากเกิน อาจจะบีบนมออกซึ่งจะทำให้มีการสร้างน้ำนมส่วนหลังเพิ่มขึ้น น้ำนมส่วนหลังจะมีไขมันมากทำให้ทารกได้พลังงานเพิ่มขึ้น

??????????? -ที่หอผู้ป่วยบางหอจะมีการเสริมนมผสมเพื่อที่จะให้ทารกน้ำหนักขึ้นเร็วขึ้น ผลของการที่ทารกมีน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะยาวยังไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน การเสริมนมผสมอาจจะทำให้มารดาวิตกกังวลว่านมแม่อาจจะไม่ดีเพียงพอสำหรับทารก บุคลากรทางการแพทย์ให้ความมั่นใจมารดาว่านมแม่ดีสำหรับลูกที่สุด โดยหากมีความจำเป็นต้องเสริมอาหารหรือของเหลวอื่นอาจจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ

??????????? -ถ้านมแม่และนมผสมได้ให้กับทารก การให้นมผสมรวมกับนมแม่จะทำให้การดูดซึมนมผสมดีกว่าการให้นมผสมอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การเสริมนมผสมแก่ทารกจะใช้เฉพาะทารกบางคนและเป็นเพียงนโยบายในบางหอผู้ป่วยเท่านั้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

การเรียนรู้การให้นมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่น้ำหนักตัวน้อย ทารกป่วยหรือมีความต้องการพิเศษ

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? นมแม่สำคัญสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่น้ำหนักตัวน้อย ทารกป่วยหรือมีความต้องการพิเศษ โดยจะช่วยให้สารอาหาร การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก และช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันด้วย

??????????? -การดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะขึ้นอยู่กับทารกและสภาพของทารกแต่ละคน โดยการดูแลจะแบ่งทารกเป็นกลุ่ม ดังนี้

??????? ทารกที่ไม่สามารถกินอาหารทางปาก ควรกระตุ้นให้มารดาบีบน้ำนมเพื่อป้อนให้ทารกจนกระทั่งสามารถดูดนมจากเต้านมได้ โดยอาจจะร่วมกับการแช่เย็นและนำออกมาละลายเพื่อให้นมลูก

??????? ทารกที่สามารถกินอาหารได้ทางปาก แต่ดูดนมจากเต้าได้ไม่ดี ควรบีบน้ำนมและป้อนด้วยถ้วยหรือสายยางหากทำได้

??????? ทารกที่สามารถดูดนมได้แต่ไม่สามารถกินนมได้เต็มที่ ควรให้ทารกดูดนมบ่อยตามที่ต้องการ การดูดนมสั้นๆ บ่อยๆ ทารกจะเหนื่อยน้อยกว่าการดูดนมที่ดูดติดต่อกันนานๆ อาจบีบน้ำนมและป้อนด้วยถ้วยหรือสายยางเสริมในทารกเหล่านี้

??????? ทารกที่ดูดนมได้ดี กระตุ้นให้ทารกดูดนมบ่อยๆ จะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน และทำให้ทารกสบายขึ้น

??????? ทารกที่ไม่สามารถจะรับนมแม่ได้ ได้แก่ ทารกที่มีความปกติทางเมตาบอลิซึ่ม เช่น galactosemia ทารกจำเป็นต้องใช้นมสูตรพิเศษ

??????????? -ดูแลให้มารดาได้รับอาหาร น้ำที่เพียงพอ และพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มารดาสามารถอยู่ดูแลทารกได้อย่างใกล้ชิด

??????????? -คาดหวังว่าทารกเหล่านี้จะหยุดขณะกินนมบ่อยๆ เพื่อพัก ควรให้เวลากับการกินนมแม่นาน ในบรรยากาศที่สงบและไม่เร่งรีบ

??????????? -เตรียมมารดาและทารกก่อนการอนุญาตให้กลับบ้าน โดยกระตุ้นให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง และให้มารดาได้เรียนรู้สัญญาณต่างๆ ของทารกเมื่อมีอาการหิวหรืออิ่ม และบอกวิธีการหาความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้าน

??????????? -จัดตารางการนัดติดตามเร็วในกรณีของทารกที่มีความต้องการเป็นพิเศษ

???????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่มากกว่าหนึ่งคน

??????????? มารดาสามารถจะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกสองหรือสามคน ปัจจัยที่สำคัญไม่ใช่การสร้างน้ำนม แต่เป็นเวลา การสนับสนุน และการให้กำลังใจจากบุคลากรทางการแพทย์ สามีและครอบครัว

????????? การป้องกันและการบริหารจัดการปัญหาทางคลินิกที่พบบ่อย

??????????? ควรนำการปฏิบัติดังต่อไปนี้ไปใช้ ได้แก่ การให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรก การให้ทารกดูดนมตั้งแต่ในระแรกและดูดนมบ่อยๆ การให้ทารกอยู่กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมง การบีบน้ำนมและป้อนนมโดยใช้ถ้วยหรือสายยางหากทารกง่วงนอนหรืออ่อนแอ และหลีกเลี่ยงการให้น้ำ

????????? ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการให้อาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่

??????????? ทารกที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการให้อาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ ควรนัดพบและติดตามกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ฝึกอบรมเฉพาะ

????????? ทารกต้องการสารอาหารทดแทนนมแม่หรือไม่?

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยในหกเดือนแรกเป็นสิ่งที่เป็นปกติและเป็นประโยชน์ต่อมารดาและทารก อาจมีสภาวะทางสุขภาพเล็กน้อยที่ต้องการทารกไม่สามารถให้นมแม่ได้ชั่วคราวหรือถาวร

สิ่งที่เป็นประโยชน์ควรแยกระหว่างทารกที่ไม่สามารถกินนมแม่ได้ต้องให้อาหารทดแทนนมแม่และทารกที่นมแม่ยังเป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุด แต่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นในช่วงเวลาที่จำกัด

????????? ทารกที่ไม่สามารถกินนมแม่ได้ต้องให้อาหารทดแทนนมแม่

??????????? ทารกที่ไม่สามารถกินนมแม่ได้ต้องให้อาหารทดแทนนมแม่จะรวมถึงทารกที่มีความผิดปกติทางเมตาบอลิซึ่มที่พบน้อย ได้แก่ galactosemia ที่จำเป็นได้รับนมผสมจำเพาะที่ปราศจากกาแลคโตส หรือในโรค maple syrup urine ทารกต้องได้รับนมผสมจำเพาะที่ปราศจาก leucine, isoleucine และ valine หรือในโรค phenylketonurea ทารกต้องได้รับนมผสมจำเพาะที่ปราศจาก phenylalanine

ทารกที่นมแม่ยังเป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุด แต่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นในช่วงเวลาที่จำกัด

ทารกที่นมแม่ยังเป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุด แต่จำเป็นต้องให้อาหารอื่นในช่วงเวลาที่จำกัด กลุ่มนี้จะรวมถึงทารกแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยมาก (น้ำหนักน้อยกว่า 1500 กรัม) ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก (คลอดก่อนกำหนดก่อน 32 สัปดาห์) ทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำโดยการสูญเสียการปรับตัวของเมตาบอลิซึ่มหรือมีความต้องการกลูโคสสูงขึ้น ซึ่งได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่น้ำหนักตัวน้อย หรือทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด ทารกที่ป่วยหรือทารกที่มารดาเป็นเบาหวานและระดับน้ำตาลยังคงต่ำหลังจากการให้นมแม่อย่างเต็มที่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

เหตุผลทางการแพทย์ในการให้อาหารอื่นนอกเหนือจากนมแม่

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?บางครั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจไม่ได้ให้ตั้งแต่เริ่มต้นหรืออาจจะถูกให้หยุดโดยปราศจากเหตุผลที่ชัดเจน จึงมีความสำคัญที่จะต้องแยกระหว่าง

??????? ทารกที่ไม่สามารถกินนมจากเต้านมได้แต่นมแม่ยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

??????? ทารกที่ไม่ควรได้รับนมแม่ นมผสมหรือนมชนิดอื่นใด

??????? ทารกที่นมแม่ไม่มี ไม่ว่าด้วนเหตุผลใดก็ตาม

-ทารกที่ไม่สามารถกินนมจากเต้าได้ อาจจะใช้การบีบน้ำนมแล้วป้อนด้วยถ้วย ช้อนหรือสายยาง และในทารกเหล่านี้ ควรจัดให้ทารกได้รับน้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันสูงที่จะช่วยให้ทารกเจริญเติบโตเพียงพอด้วย

-มีทารกส่วนน้อยมากที่มีความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึ่มแต่กำเนิด ได้แก่ galactosemia, PKU และ maple syrup urine disease ทารกเหล่านี้ต้องการการให้สารอาหารชนิดพิเศษบางส่วนหรือทั้งหมดทดแทนนมแม่ที่จำเพาะในแต่ละปัญหาของความผิดปกติทางเมตาบอลิซั่ม

-มารดาที่อาจจะต้องแยกจากทารกเนื่องจากเจ็บป่วยมาก เสียชีวิต หรือติดเชื้อเอชไอวีที่ตัดสินใจหลังจากที่ได้รับข้อมูลเพียงพอว่าจะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกเหล่านี้อาจจำเป็นต้องได้รับสารอาหารทดแทนนมแม่

-ทารกที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ทำให้ไม่สามารถจะให้นมแม่ได้จำเป็นต้องได้รับการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการแพทย์ ทารกเหล่านี้จะต้องได้รับการวางแผนการให้อาหารทดแทนและมารดาและครอบครัวควรจะรู้วิธีให้อาหารทารกเป็นอย่างดี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? -ทารกส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาการดาวน์หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาทสามารถที่จะให้นมแม่ได้ หากแม้นทารกไม่สามารถจะให้นมแม่อย่างเดียวได้ นมแม่ก็คงยังมีความสำคัญ จะมีบางวิธีที่จะช่วยในการให้นมแม่ ได้แก่

??????? กระตุ้นให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาและดูดนมตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด

??????? อาจจะต้องปลุกให้ทารกตื่นเพื่อให้นมได้บ่อยๆ และกระตุ้นให้ทารกคงการตื่นตัวระหว่างการกินนม

??????? ช่วยให้มารดาจัดท่าและเข้าเต้าได้ดี

??????? การพยุงเต้านมและจัดให้คางทารกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยให้เข้าเต้าได้ดี โดยอาจใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้พยุงคางทารก ส่วนอีกสามนิ้วที่เหลือพยุงหรือประคองเต้านม

??????????? -นอกจากนี้

??????? การให้นมจะใช้เวลานานไม่ว่าจะให้ด้วยวิธีใด ควรช่วยให้มารดาเข้าใจว่า ไม่ใช่เป็นเฉพาะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่จะใช้เวลานาน

??????? มารดาอาจจำเป็นต้องบีบน้ำนมและป้อนนมทารกด้วยถ้วย

??????? หลีกเลี่ยงการให้ทารกดูดจุกนมเทียมหรือหัวนมหลอก เนื่องจากทารกจะลำบากในการเรียนรู้ทั้งการดูดนมจากเต้าและการดูดจุกนมเทียม

??????? ทารกบางคนที่มีความผิดปกติของระบบประสาทจะมีน้ำหนักขึ้นช้า แม้ว่าจะได้รับนมแม่เพียงพอแล้วก็ตาม

??????? ทารกบางคนที่มีความผิดปกติของระบบประสาทอาจจะมีปัญหาด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาทางด้านหัวใจ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ทารกแรกเกิดที่มีการหายใจลำบาก

1523E86E-E72C-461B-9A29-0795B537AFBB_mw1024_n_s

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????????? ทารกที่หายใจลำบากควรจะกินนมแม่ปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ เพราะทารกเหนื่อยง่าย การกินนมแม่จะทำให้ทารกได้รับสารอาหาร น้ำ พลังงาน และภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้ทารกและมารดาที่มีภาวะเครียดสบายขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)