ทัศนคติของสามีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

obgyn

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ทัศนคติของสามีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงทัศนคติของสามีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติของมารดาอย่างมีนัยสำคัญ และในกรณีที่สามีมีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่ามารดามีโอกาสหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่า1-3 นอกจากนี้ การให้ความรู้กับสามีเกี่ยวกับการช่วยสนับสนุนในการให้กินนมแม่หลังจากมารดากลับไปทำงานยังส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย4

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

2.??????????? Wolfberg AJ, Michels KB, Shields W, O’Campo P, Bronner Y, Bienstock J. Dads as breastfeeding advocates: results from a randomized controlled trial of an educational intervention. Am J Obstet Gynecol 2004;191:708-12.

3.??????????? Sharps PW, El-Mohandes AA, Nabil El-Khorazaty M, Kiely M, Walker T. Health beliefs and parenting attitudes influence breastfeeding patterns among low-income African-American women. J Perinatol 2003;23:414-9.

4.??????????? Tsai SY. Influence of partner support on an employed mother’s intention to breastfeed after returning to work. Breastfeed Med 2014;9:222-30.

 

ความเครียดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

obgyn2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ความเครียดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในสตรีที่มีความเครียดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะน้ำนมมาช้า ซึ่งการที่น้ำนมมาช้าจะสัมพันธ์การการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ความเครียดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เกิดได้จากหลายอย่าง เช่น ?ความพร้อมของการตั้งครรภ์ การที่มารดามีภาวะที่ต้องทำงานหรือเลี้ยงดูบุตรคนก่อนที่ยังเล็กไม่มีผู้ช่วยดูแล การเจ็บป่วยระหว่างการตั้งครรภ์ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความเครียดของมารดาซึ่งมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New Insight into Onset of Lactation: Mediating the Negative Effect of Multiple Perinatal Biopsychosocial Stress on Breastfeeding Duration. Breastfeed Med 2012.

 

ความรู้สึกกังวลใจและไม่ปลอดภัยในการให้นมลูกในที่สาธารณะกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breastfeedy1-

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ความรู้สึกกังวลใจและไม่ปลอดภัยในการให้นมลูกในที่สาธารณะ มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 มารดาที่จะเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การซื้อของ การเดินทาง หรือการทำงาน หากสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการให้นมแม่ในที่สาธารณะ ได้แก่ การขาดการจัดสถานที่ที่เหมาะสมในที่สาธารณะต่างๆ เช่น ศูนย์การค้า สถานีรถไฟฟ้า สวนสาธารณะหรือในสถานประกอบการ จะส่งผลต่อความรู้สึกวิตกกังวลของมารดาและเกิดความไม่มั่นใจที่จะให้นมในที่สาธารณะ ทำให้ต้องใช้นมผสมหรือหยุดให้นมแม่ อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การรณรงค์ว่าการให้นมแม่เป็นเรื่องน่าชื่นชมหากจำเป็นต้องให้ในที่สาธารณะ ทัศนคติเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยเวลาเพื่อเปลี่ยนแปลงค่านิยมที่มีอยู่ในสังคมนั้นๆ

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Scott JA, Mostyn T. Women’s experiences of breastfeeding in a bottle-feeding culture. J Hum Lact 2003;19:270-7.

 

มารดารู้สึกเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?มารดารู้สึกเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาที่รู้สึกไม่สบายตัว เหนื่อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ผลของมารดาเหนื่อยจะมีตั้งแต่ในช่วงระหว่างการคลอด ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดการคลอดยาก การคลอดที่เนิ่นนาน การงดน้ำงดอาหารในระยะรอคลอดและไม่ให้มารดารับประทานอาหารหลังคลอดมีผลต่อการรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียของมารดา นอกจากนี้การที่มารดามีภาระต้องรับผิดชอบในงานบ้านและการต้องดูแลเลี้ยงลูกคนก่อนด้วย สิ่งเหล่านี้มีผลต่อความเครียดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Dykes F, Moran VH, Burt S, Edwards J. Adolescent mothers and breastfeeding: experiences and support needs–an exploratory study. J Hum Lact 2003;19:391-401.

 

ความผูกพันและสัญชาติญาณความเป็นแม่

จับเลอ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ความผูกพันและสัญชาติญาณความเป็นแม่ มีผลดีต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งปีหลังคลอด1 ความรักความผูกพันของแม่ที่มีต่อลูกช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองได้นานกว่า โดยมารดาบางคนอาจรู้สึกผิดและเครียดหากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่โดยทั่วไปสัญชาติญาณความเป็นแม่มักเกิดตั้งแต่ระยะก่อนการคลอด และเมื่อแม่เห็นลูก ความรู้สึกนี้จะรุนแรงขึ้น การกระตุ้นให้มารดาได้สัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับทารกตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะกระตุ้นความผูกพันระหว่างแม่กับลูกด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Britton JR, Britton HL, Gronwaldt V. Breastfeeding, sensitivity, and attachment. Pediatrics 2006;118:e1436-43.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)