ขั้นตอนที่สำคัญในการบีบน้ำนมด้วยมือ

milk expression

?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ขั้นตอนที่สำคัญในการบีบน้ำนมด้วยมือที่สำคัญมี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การกระตุ้นให้น้ำนมไหล
  2. การคลำหาท่อน้ำนม
  3. การกดเต้านมบริเวณท่อน้ำนม
  4. การทำซ้ำในทุกส่วนรอบเต้านม

ความจำเป็นในการสอนการบีบน้ำนมด้วยมือ

photo7-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?? ??การบีบน้ำนมด้วยมือเป็นการปฏิบัติที่สำคัญที่มารดาควรต้องปฏิบัติให้ได้ก่อนกลับบ้าน เพื่อนำไปใช้ในกรณีที่จำเป็นต้องบีบเก็บน้ำนมให้กับทารก

? ? ? ? ? ? เครื่องปั๊มนมอาจไม่ได้มีพร้อมใช้ในทางปฏิบัติเสมอในแต่ละสถานที่ ดังนั้นในมารดาควรจะสามารถบีบน้ำนมด้วยมือได้

? ? ? ? ? ? ข้อบ่งชี้ของการบีบน้ำนมที่พบบ่อย ได้แก่ การที่มารดากลับเข้าทำงาน สำหรับข้อบ่งชี้อื่นๆ ได้แก่ มารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกต้องการการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ทารกที่มีเพดาโหว่ที่ไม่สามารถสร้างแรงดูดที่จะดูดนมจากเต้านมแม่ได้ และในกรณีที่ต้องการให้มีน้ำนมมากขึ้น

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในรูปแบบอื่น

latch1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีการประเมินในรูปแบบอื่นๆ ด้วย ได้แก่ การประเมินเบื้องต้นข้างเตียง โดยใช้หลักคำย่อ ABC ซึ่งได้แก่ A คือ attachment หมายถึงการอ้าปากอมหัวนมและลานนม B คือ breast milk production หมายถึงการสร้างน้ำนม C คือ calorie หมายถึงพลังงานที่ทารกได้รับ หากมีการอ้าปากอมหัวนมและลานนมดี มีการสร้างน้ำนมดี ทารกได้รับพลังงานที่เพียงพอ น่าจะแสดงถึงการเลี้ยงลูกนมแม่น่าจะดี การใช้แบบสังเกตการให้นมทารก การจดบันทึกการให้นมลูก การสังเกตอาการแสดงของการให้นมลูกที่มีประสิทธิภาพของมารดาและทารก การใช้การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมแม่ และการใช้กราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของทารกขององค์การอนามัยโลก

ประสิทธิภาพของเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

latch on

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ประสิทธิภาพของเกณฑ์การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ?มีการศึกษาพบว่าเกณฑ์การประเมินคะแนน LATCH กับ Mother-Baby Assessment และ Infant Breastfeeding Assessment Tool ทั้งสามเกณฑ์นี้มีความสอดคล้องกันในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทย การใช้คะแนน LATCH ได้รับความนิยมในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมีการศึกษาพบว่ามีความตรงและความเที่ยงสูง1 อย่างไรก็ตามพบว่า คะแนน LATCH สามารถใช้ทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้เฉพาะในช่วงแรกหลังคลอดเท่านั้น2

หนังสืออ้างอิง

  1. Baiya N, Ketsuwan S, Pachaiyapoom N, Puapornpong P. Mother?s Knowledge, latch score and satisfaction after development of breastfeeding support service in HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. J Med Health sci 2013;20:17-23.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Hamontri S, Ketsuwan S, Wongin S. Latch score and exclusive breastfeeding during the first six months postpartum. J Med Health sci 2015 (in press).

 

เกณฑ์การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

28375829

ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เกณฑ์การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินหลายเกณฑ์ ได้แก่ Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT), Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB), The Mother?Baby Assessment (MBA), LATCH assessment (LATCH), Lactation Assessment Tool (LAT), Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT) และ Breastfeeding Assessment Score (BAS) ตัวแปรที่ใช้ในแต่ละเกณฑ์มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน บางเกณฑ์ประเมินเฉพาะในทารก บางเกณฑ์ประเมินจากทั้งมารดาและทารก แต่การอมหัวนมและลานนมหรือการเข้าเต้า (latch on) เป็นตัวแปรที่ใช้ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทุกเกณฑ์ซึ่งสะท้อนว่ากระบวนการนี้มีผลสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)