การติดเชื้อซิก้าไวรัสกับการให้นมลูก

IMG_9423

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เชื้อซิก้าไวรัสเป็นไวรัสที่มีการติดต่อผ่านพาหะคือ ยุงสายพันธุ์ Aedes aegypti?และ Aedes albopictus ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นผื่นแดง ปวดข้อ และมีตาแดง สำหรับอาการที่รุนแรงพบน้อย มีรายงานการติดเชื้อซิก้าไวรัสผ่านมารดาไปยังทารกระหว่างการตั้งครรภ์โดยอาจทำให้เกิดภาวะศรีษะเล็กในทารกและเกิดการแท้งได้โดยมีการพบไวรัสซิก้าในสมองของทารกที่ติดเชื้อและทารกที่เสียชีวิตจากการแท้ง มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสซิก้าในน้ำนม แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อผ่านการกินนมแม่ ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (center for disease control) จึงยังแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อซิก้าไวรัส เนื่องจากประโยชน์ของนมแม่มีมากกว่าความเสี่ยงจากการติดเชื้อซิก้าไวรัส1

เอกสารอ้างอิง

  1. Staples JE, Dziuban EJ, Fischer M, et al. Interim Guidelines for the Evaluation and Testing of Infants with Possible Congenital Zika Virus Infection – United States, 2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:63-7.

 

 

โอเมก้า-3 และน้ำมันปลาควรให้ในมารดาที่ให้นมลูกหรือไม่

hand expression x2-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?โอเมก้า-3 และน้ำมันปลามีประโยชน์ในช่วงที่มารดาให้นมบุตร โดยเฉพาะในมารดาที่มีการขาดกรดไขมันเหล่านี้ ในสหรัฐอเมริกามีการสำรวจอาหารมารดาขณะตั้งครรภ์ให้นมบุตร พบว่ามีปริมาณโอเมก้า-3 น้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นการให้เสริมจะได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังเนื่องจากโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาจะได้จากปลาทะเลซึ่งในปัจจุบันมีการปนเปื้อนสารปรอทค่อนข้างมาก การจะรับประทานจำเป็นต้องทราบว่ามีการผ่านการตรวจสอบสารปรอทแล้วหรือยัง มิฉะนั้น สารปรอทอาจเป็นพิษต่อทารก และจะเกิดโทษมากกว่าผลดีที่ได้ สำหรับแหล่งของโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาที่มักพบสารปรอทสูง ได้แก่ ปลาทู king mackerel ปลาทูน่าครีบสีฟ้า ปลาฉลาม ปลาปากดาบ ปลา albacore และปลา tilefish

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

สมุนไพรที่ช่วยเพิ่มน้ำนม

S__45850798

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในสมัยโบราณ มีการใช้สมุนไพรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมหลายชนิดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีการใช้หัวปลี ขิง พริกไทยอ่อน นมวัว นมนาง หรือน้ำนมราชสีห์ และพืชผักอีกหลายชนิด ในต่างประเทศมีการใช้ลูกซัด (fenugreek) ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศจีน อินเดีย และแถบเมดิเตอเรเนียน นอกจากนี้ยังมี blessed thistle, alfalfa, red clover น้ำข้าวบาร์เล่ย์ และราก marshmallow แต่น่าเสียดายที่ยังขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงขนาด ปริมาณและระยะเวลาที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังและอาการข้างเคียงที่ต้องติดตาม ดังนั้น มารดาที่มีน้ำนมน้อยไม่ควรหวังพึ่งพาสมุนไพรเหล่านี้เป็นหลัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุจะดีกว่า สำหรับอาหารหรือสมุนไพรเน้นการรับประทานให้หลากหลายครบทุกหมู่ เน้นผัก ผลไม้สีเขียว ข้าวโอ๊ตและธัญพืชเสริมน่าจะเหมาะสมกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

อาหารอะไรบ้างที่ช่วยเพิ่มน้ำนม

00024-5-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปกติหลังคลอด มารดามักได้ยินเกี่ยวกับอาหารต่างๆ หลายชนิดที่ช่วยเพิ่มน้ำนม ซึ่งมีความเชื่อหลายอย่างในแต่ละสังคมหรือในวัฒนธรรมที่หลากหลาย ที่มารดามักคุ้นเคย ได้แก่ ในครอบครัวคนจีนมีการแนะนำให้มารดากินซุปไก่หรือซุปปลา ในเกาหลีมีการแนะนำให้กินซุปสาหร่าย ซึ่งอาหารที่ส่งเสริมให้กินเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนมในบางวัฒนธรรมอาจเป็นข้อห้ามในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง เช่น ในสังคมอเมริกันไม่แนะนำให้กินกระเทียม พริกหรืออาหารรสเผ็ด พริกไทยแดง และอาหารจำพวกถั่ว ในขณะที่บางวัฒนธรรมถือว่าอาหารที่มีรสจัดเหล่านี้ดีสำหรับมารดาที่ให้นม

? ? ? ? ? แล้วในความเป็นจริงแล้ว มารดาควรกินอาหารประเภทใดเพื่อช่วยเพิ่มน้ำนม อาหารที่มีรายงานว่าช่วยเพิ่มน้ำนม ได้แก่ ข้าวโอ๊ต น้ำมันเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก ผักใบเขียวเข้ม ยี่หร่า หัวผักกาด และมันเทศ มะละกอที่ยังดิบเป็นสีเขียวหรือผลไม้ที่มีสีเขียวที่อุดมไปด้วยเอนไซม์ปาเปน (papain) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการช่วยเพิ่มน้ำนมได้ ดังนั้นในประเทศไทย การกินผักใบเขียวและผลไม้สีเขียวที่มีหลากหลายจึงมีประโยชน์และการกินแกงเลียงซึ่งประกอบไปด้วยผักใบเขียวหลายชนิดจะช่วยเพิ่มการสร้างน้ำนมได้ นอกจากนี้ การกินส้มตำซึ่งประกอบด้วยมะละกอดิบก็ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำนมได้เช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

มารดาต้องเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุใดขณะให้นมบุตร

IMG_9390

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป มารดาจะได้รับการดูแลโดยมีการให้ธาตุเหล็กเสริมระหว่างช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งการเสริมธาตุเหล็ก มารดายังมีความจำเป็นต้องได้รับอย่างต่อเนื่องในขณะมารดาให้นมบุตร โดยบางครั้ง การให้การดูแลหรือเอาใจใส่ในการแนะนำเรื่องอาหารหรือการเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุในมารดาหลังคลอดมักถูกละเลย เนื่องจากอาจเป็นรอยต่อของการดูแลจากสูติแพทย์ไปที่กุมารแพทย์ หากบุคลากรทางการแพทย์ไม่มีการสอบถามถึงการกินอาหารที่เหมาะสมหรือการเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่มารดาควรได้รับ อาจส่งผลต่อความครบถ้วนของสารอาหารที่มีในนมแม่ได้ นอกจากนี้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารบางชนิด ได้แก่ ไอโอดีน และกรดโฟลิค การให้สารเหล่านี้เสริมแก่มารดาจะมีความจำเป็น และต้องมีการเน้นย้ำให้มีการให้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมารดาหยุดให้นมบุตรด้วย

? ? ? ? ? ในประเทศไทย นอกจากการเสริมธาตุเหล็กแล้ว ควรมีการเสริมแคลเซียมให้มารดาด้วย เนื่องจากมารดาต้องการแคลเซียมขณะให้นมบุตรสูงขึ้นโดยมีความต้องการวันละ 1500 มิลลิกรัม แต่เนื่องจากแคลเซียมที่ได้รับจากอาหารปกติที่คนไทยรับประทาน จะได้รับแคลเซียมจากอาหารราว 400 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการแนะนำเรื่องอาหารที่มีแคลเซียมสูงร่วมกับการเสริมแคลเซียมเสริมในขณะที่มารดาให้นมบุตร ซึ่งพบว่ามารดาที่ให้นมบุตรอาจมีการสูญเสียมวลกระดูกได้ร้อยละ 3-5 แต่มวลกระดูกจะกลับมาสู่ภาวะปกติราวหกเดือนหลังจากหยุดการให้นมลูก หากมารดามีการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)