เลปติน ฮอร์โมนที่ควบคุมการกินอาหารในนมแม่

00024-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัญหาในเรื่องการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน การกินนมแม่ช่วยฝึกให้ทารกรู้จักควบคุมการกินอาหารจากการที่มารดาให้ทารกกินนมแม่ตามความต้องการ นอกจากนี้ ในน้ำนมแม่ยังมีฮอร์โมนเลปติน (leptin) และอะดิโพเนคติน (adiponectin) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการกินอาหารและการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย เมตาบอลิสมของไขมัน และความไวของการตอบสนองของอินซูลิน ซึ่งจะมีผลต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้ ซึ่งเรื่องนี้มีความน่าสนใจและมีการศึกษาถึงฮอร์โมนเลปตินกับการกินอาหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากเราทราบรายละเอียดถึงกลไกที่สำคัญในการควบคุมการกิน? การป้องกันโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดตามมาหลังจากโรคอ้วนก็จะสามารถทำได้และจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

ไขมัน ส่วนสำคัญที่ให้พลังงานในนมแม่

IMG_9698

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในน้ำนมแม่นั้น ไขมันในน้ำนมเป็นส่วนให้พลังงานที่สำคัญมากถึงร้อยละ 50 ลักษณะของไขมันในนมแม่จะอยู่ในรูปกลุ่มก้อนไขมันเล็กๆ (fat globule) ไลเปสที่กระตุ้นการทำงานของน้ำดี และกรดไขมันที่จำเป็นซึ่งอยู่ในรูปไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันที่จำเป็นและมีลักษณะเฉพาะที่พบในนมแม่ ได้แก่ กรดอะแรชิโดนิก (arachidonic acid หรือ AA) และกรดไดโคซาเฮซาโนอิก (dicosahexaenoic acid หรือ DHA) ซึ่งจะช่วยในพัฒนาการของจอประสาทตาและสมอง กรดไขมันเหล่านี้จะไม่พบในนมวัว นอกจากนี้กรดไขมันที่อยู่ในรูปกรดปาล์มมิติก (palmitic acid) ยังช่วยในการดูดซึมเกลือแร่จากทางเดินอาหารให้ดีขึ้นด้วย

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ในน้ำนมส่วนหน้า (foremilk) หรือน้ำนมในส่วนที่ทารกกินก่อนจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าและมีแลตโตสมากกว่าน้ำนมส่วนหลัง (hindmilk) หรือน้ำนมในส่วนที่ทารกกินในตอนท้ายใกล้เกลี้ยงเต้า ดังนั้น การที่จะให้ทารกได้รับพลังงานจากน้ำนมที่เพียงพอ อิ่ม และหลับนาน ควรให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าก่อนจะเปลี่ยนไปดูดนมจากอีกเต้าหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

 

ลักษณะที่น่าสนใจของคาร์โบไฮเดรตในนมแม่

 

S__45850801

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในน้ำนมแม่จะมีคาร์โบไฮเดรตที่พบมากได้แก่ แลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ย่อยได้ง่าย ส่วนใหญ่จะย่อยจนเกือบหมด ในส่วนที่เหลือจะช่วยให้อุจจาระนุ่ม ช่วยในการขับถ่าย ช่วยในการดูดซึมของเกลือแร่ และช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โอลิโกแซคคาไรด์พบร้อยละ 5-10 ของคาร์โบไฮเดรตในนมแม่ ซึ่งมีชนิดที่แตกต่างกันกว่า 100 ชนิด โดยเป็นสารอาหาร และช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้และช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

โปรตีนในนมแม่ ความแตกต่างที่ควรรู้

hand expression x2-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ธรรมชาติจะสร้างมาให้เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มนุษย์ก็เช่นกัน ในนมแม่จะมีลักษณะที่จำเพาะของโปรตีน นมแม่จะมีสัดส่วนของเวย์ต่อเคซีนโปรตีนเท่ากับ 70:30 ขณะที่นมวัวจะมีสัดส่วนของเวย์ต่อเคซีนโปรตีนเท่ากับ 18:82 เวย์โปรตีนจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่า ซึ่งเวย์โปรตีนในนมแม่จะมีอัลฟาแลคตาบูมิน ขณะที่นมวัวจะเป็นเบต้าแลคตาบูมิน นอกจากนี้?เวย์โปรตีนในนมแม่ยังมีแลคโตเฟอริน ไลโซไซม์ และ secretory immunoglobulin A ที่มีความจำเพาะสำหรับมนุษย์ที่ช่วยเป็นภูมิคุ้นกันป้องกันการติดเชื้อในช่องทางเดินอาหาร

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ลดเบาหวาน โรคอ้วน และมะเร็ง

S__45850759

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่มีประโยชน์มากมายในหลายๆ ด้าน โดยอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การป้องกันโรคเรื้อรังในระยะยาวรวมทั้งมะเร็งในเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเป็นปัญหามากขึ้นในยุคนี้ที่มีวิถีชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวาน และได้รับสารปนเปื้อนจากชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการเกิดเบาหวาน โรคอ้วน มะเร็งในเด็ก รวมทั้งการเสียชีวิตเฉียบพลันของทารก พอจะสรุปได้ดังนี้

? ? ?-ลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งต้องพึ่งพาการรักษาด้วยอินซูลินร้อยละ 30 หากทารกกินนมแม่มากกว่า 3 เดือน และลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 40 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ?-ลดการเกิดโรคอ้วนร้อยละ 24 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ?-ลดการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กร้อยละ 15-20 หากทารกกินนมแม่มากกว่าหกเดือน

? ? ?-ลดการเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันของทารกโดยไม่ทราบสาเหตุ (sudden infant death syndrome) ร้อยละ 73 หากทารกกินนมแม่อย่างเดียว

? ? ?จะเห็นว่า นอกจากการป้องกันโรคติดเชื้อ ภาวะภูมิแพ้ การต้านการอักเสบแล้ว นมแม่ยังช่วยให้ทารกมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว โดยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน โรคอ้วนที่จะนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ป้องกันมะเร็งในเด็ก ซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่ดีของทารกจะที่เจริญเติบโตไปเป็นกำลังที่แข็งแรงและมีคุณภาพของประเทศชาติ

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)