ระยะเวลาการกินนมแม่กับโรคสมาธิสั้น

IMG_1671

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การกินนมแม่ มีประโยชน์ที่หลากหลายทั้งทางด้านความเฉลียวฉลาด? และสร้างสุขภาพที่ดีเนื่องจากการได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเริ่มต้นกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกและระยะเวลาของการกินนมแม่กับโรคสมาธิสั้น (attention-deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) ซึ่งพบว่า การเริ่มต้นกินนมแม่ในระยะแรกไม่มีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น แต่ระยะเวลาการกินนมแม่มีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น โดยทารกที่มีระยะเวลาการกินนมแม่ที่สั้นกว่าจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคสมาธิสั้นมากกว่า1 ดังนั้น มารดาที่อาจกังวลเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นในลูก อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมาธิสั้น โดยให้ลูกกินนมแม่ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก คือ กินนมแม่อย่างเดียวนานหกเดือน หลังจากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Stadler DD, Musser ED, Holton KF, Shannon J, Nigg JT. Recalled Initiation and Duration of Maternal Breastfeeding Among Children with and Without ADHD in a Well Characterized Case-Control Sample. J Abnorm Child Psychol 2016;44:347-55.

 

การส่องไฟทารกกับการเกิดมะเร็งในเด็ก

IMG_1517

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การส่องไฟเพื่อรักษาอาการทารกตัวเหลืองเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในทารกมีหลากหลาย ได้แก่ ภาวะเลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน G6PD การที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอ การติดเชื้อ เป็นต้น มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการส่องไฟทารกกับการเกิดมะเร็งในวัยเด็กของทารก ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยพบมะเร็งในเด็ก 25 คนเทียบกับ 18 คนต่อทารก 100000 คนในกลุ่มเปรียบเทียบ1 และอีกการศึกษาหนึ่งเพิ่มโอกาสพบมะเร็ง 32.6 คนเทียบกับ 21 ต่อทารก 100000 คนในกลุ่มเปรียบเทียบ2 จะเห็นว่า ข้อมูลหลักฐานจากการวิจัยยังมีน้อย และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมีไม่มาก อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาการใช้การส่องไฟในการรักษาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองอย่างสมเหตุสมผล

เอกสารอ้างอิง

  1. Newman TB, Wickremasinghe AC, Walsh EM, Grimes BA, McCulloch CE, Kuzniewicz MW. Retrospective Cohort Study of Phototherapy and Childhood Cancer in Northern California. Pediatrics 2016;137.
  2. Wickremasinghe AC, Kuzniewicz MW, Grimes BA, McCulloch CE, Newman TB. Neonatal Phototherapy and Infantile Cancer. Pediatrics 2016;137.

การกินนมแม่ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

IMG_1605

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ประโยชน์ของนมแม่เป็นที่ทราบกันดีว่ามีมากมายหลายด้าน ได้แก่ ด้านความเฉลียวฉลาด? สุขภาพที่ดีเนื่องจากได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ การลดโรคเรื้อรัง ภาวะอ้วน เบาหวาน ภูมิแพ้ มะเร็งในเด็กบางชนิด นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาการให้นมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด พบว่า การที่ทารกก่อนกำหนดได้รับนมแม่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น1 ดังนั้น เมื่อปัจจุบัน การให้การดูแลหรือสามารถเลี้ยงดูทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้ดี โอกาสรอดชีวิตมีสูงขึ้น การช่วยให้ทารกได้กินนมแม่ จะช่วยเรื่องสุขภาพของหัวใจของทารกที่ดีในอนาคตด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Lewandowski AJ, Lamata P, Francis JM, et al. Breast Milk Consumption in Preterm Neonates and Cardiac Shape in Adulthood. Pediatrics 2016;138.

มุมนมแม่ในที่สาธารณะ

IMG_1601

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบัน การให้นมแม่ แม้จะมีกระแสสังคมที่ให้การสนับสนุนมากขึ้น แต่การอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะทั่วไป ยังขาดการจัดสรรพื้นที่เอื้อสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร เช่น ตามสวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก หรือตามโรงงานหรือสถานประกอบการ แม้จะมีนโยบายที่ส่งเสริมให้โรงงานหรือสถานประกอบการมีมุมหรือห้องนมแม่ แต่ยังมีที่ที่จัดการสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำกัด ทำให้ขาดการเข้าถึงการจัดการสนับสนุนมุมนมแม่ในที่สาธารณะและสถานประกอบการ สิ่งนี้ต้องการความร่วมมือของภาคเอกชน และการเห็นและจัดลำดับความสำคัญในการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งหากภาคส่วนสังคมให้ความตระหนักแล้ว การจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มารดาที่การให้ลูกกินนมแม่ไม่ว่าจะเดินทางอย่างไรหรือไปในสถานที่ใด เช่นตัวอย่างการจัดห้องให้นมแม่บนเรือเฟอร์รี่ในประเทศฮ่องกง1 ที่แสดงถึงความใส่ใจในเรื่องสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก หากทารกได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. ข้อมูลจาก http://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/1961856/hong-kong-ferry-company-launch-first-breastfeeding

การใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1629

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะอ้วนในทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น โดยกลไกการเกิดจากการที่ทารกควบคุมการกินนมแม่ด้วยตนเอง ร่วมกับผลจากการดูดซึมและกลไกจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเชื้อถิ่นที่มีประโยชน์ที่อยู่ในลำไส้กระตุ้นการทำงานและการเผาพลาญสารอาหารของร่างกาย การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะช่วงทารกคลอดและหลังคลอดใหม่จะมีผลในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ได้ และอาจมีผลในการลดการได้ประโยชน์จากการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนของทารกได้1 ดังนั้น การพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาและทารกในช่วงแรกของชีวิต อาจต้องใช้ตามความจำเป็นและข้อบ่งชี้ เพื่อให้ทารกได้ประโยชน์จากการกินนมแม่อย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

  1. Korpela K, Salonen A, Virta LJ, Kekkonen RA, de Vos WM. Association of Early-Life Antibiotic Use and Protective Effects of Breastfeeding: Role of the Intestinal Microbiota. JAMA Pediatr 2016.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)