รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? เทคโนโลยีมือถือที่มีในปัจจุบันสร้างความสะดวกสบายรวมทั้งให้ความรู้ในสื่อสาระต่างๆ รวมทั้งนมแม่ แอพพริเคชั่น ?เลี้ยงลูกด้วยนมแม่? มีทั้งใน Play store และใน App storeที่เป็นระบบปฏิบัติการ android และ IOS ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยและ สสส. โดยมีความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ เตรียมตัวเตรียมใจก่อนให้นมลูก แรกเริ่มให้นมลูก คลายปมนมแม่ ปัญหาเต้านม ปัญหาการดูดนมของลูก ปัญหาของลูกที่กินนมแม่ นมแม่กับการทำงาน การเก็บน้ำนม แม่ป่วยและยากับการให้นมแม่ เมื่อลูกโตอาหารเสริมพัฒนาการ เป็นต้น นอกจากนี้ในมารดาที่ต้องการเห็นภาพหรือวิดีโอช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็สามารถเข้าไปที่เครื่องมือค้นหาในอินเตอร์เน็ตต่างๆ รวมทั้ง youtube ที่มีสื่อวิดีโอทำให้มารดาเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สื่อจาก youtube อาจต้องดูที่มาและแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือด้วย เพราะข้อมูลที่มากมายหลากหลายจำเป็นต้องใช้สติในการคัดกรองสิ่งที่เป็นประโยชน์ นำไปใช้และปฏิบัติได้
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ปัจจุบัน มือถือเป็นเสมือนปัจจัยที่ห้าที่บุคคลในสังคมจำเป็นต้องมีและมีความต้องการที่จะใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีมือถือจึงเฟื่องฟูมากขึ้น รวมทั้งการผลิตหรือสร้าง application ที่มีหลากหลายใน Play store และใน App storeในมือถือที่เป็นระบบปฏิบัติการ android และ IOS การให้ความรู้ผ่านสื่อมือถือจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้าถึงบุคคลต่างๆ ที่หลากหลายได้ดี มีการศึกษาทั้งการให้สื่อความรู้เรื่องนมแม่แก่คุณพ่อที่จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการให้คุณแม่ได้ให้นมลูก1 มีการร่วมมือระหว่างสหสาขามาผลิต application สำหรับเผยแพร่ความรู้เรื่องนมแม่ในสื่อมือถือ2 สำหรับในประเทศไทย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยและ สสส. ได้สนับสนุนและผลิตสื่อที่เป็น application บนมือถือชื่อ ?เลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ที่คุณแม่และครอบครัวสามารถ download ไปใช้ช่วยในการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้นได้ จึงอยากจะแนะนำให้มารดาและผู้ที่สนใจความรู้เรื่องนมแม่ได้นำ application ความรู้ที่ดีนี้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยได้กินนมแม่เพิ่มมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
White BK, Martin A, White JA, et al. Theory-Based Design and Development of a Socially Connected, Gamified Mobile App for Men About Breastfeeding (Milk Man). JMIR Mhealth Uhealth 2016;4:e81.
White B, White J, Giglia R, Tawia S. Feed Safe: a multidisciplinary partnership approach results in a successful mobile application for breastfeeding mothers. Health Promot J Austr 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ในอดีต ค่านิยมในเรื่องการกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเป็นเรื่องของคนมีเงินหรือคนรวยที่สามารถจะหาซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับทารกมาให้ลูกได้ ทั้งๆ ที่ประโยชน์จากการกินนมแม่มีมากกว่า แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยหนึ่งได้พบเจอ คนจนหรือคนที่ไม่มีเงินจะซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็จะให้นมแม่ ซึ่งกลับมีผลดีแก่ลูกมากกว่า แต่ในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า ความจนไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการที่มารดาให้ลูกกินนมแม่1 ในขณะที่มารดาที่มีความรู้และมีการศึกษาสูงกว่ามัธยมปลายสัมพันธ์กับการให้ลูกกินนมแม่2 นั่นคือ ความสำคัญของการให้น้ำหนักของความรู้ที่มากกว่าค่านิยม ที่มีผ่านมาในอดีต ดังนั้น การให้การศึกษาแก่มารดาและครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ในมารดาได้รับการศึกษาน้อย หากมีความเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของนมแม่ก็จะมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะให้นมแม่ได้
เอกสารอ้างอิง
Wiener RC, Sambamoorthi U, Hayes SE, Azulay Chertok IR. Association of Breastfeeding and the Federal Poverty Level: National Survey of Family Growth, 2011-2013. Epidemiol Res Int 2016;2016.
Zhu Y, Hernandez LM, Mueller P, Dong Y, Hirschfeld S, Forman MR. Predictive Models for Characterizing Disparities in Exclusive Breastfeeding Performance in a Multi-ethnic Population in the US. Matern Child Health J 2016;20:398-407.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? คำว่า ?ธนาคารนมแม่ หรือ milk bank? ใช้เป็นสถานที่ที่จัดการให้บริการเก็บนมแม่ที่ได้จากการบริจาค ทำการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อที่อาจพบได้จากการถ่ายทอดผ่านนมแม่ และส่งต่อให้แก่หน่วยงานที่ต้องการการใช้ประโยชน์จากนมแม่ ซึ่งมักจะได้แก่ หอทารกป่วยวิกฤต หรือ newborn intensive care unit (NICU) ??? โดยหลักการจะคล้ายคลึงกับการบริหารจัดการธนาคารเลือดที่รับบริจาคเลือด และนำมาให้หรือใช้กับผู้ป่วยที่มีความจำเป็น ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีการติดเชื้อที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอทารกแรกเกิดวิกฤตมักได้ประโยชน์จากการกินนมแม่ที่จะช่วยลดอัตราการตาย ช่วยลดการติดเชื้อในกระแสเลือด ลดการเกิดภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย (necrotizing enterocolitis) และการกินนมแม่อย่างต่อเนื่องหลังทารกออกจากหอทารกแรกเกิดวิกฤตยังมีส่วนช่วยในภาวะสุขภาพที่ดีในระยะยาวด้วย 1 อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย การให้บริการธนาคารนมแม่ยังมีจำกัดอยู่เฉพาะในโรงพยาบาลบางโรงพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากการลงทุนต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีราคาแพง ประชาชนและสังคมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการที่จะให้บริจาคนมแม่ หรือในกรณีที่มีความเข้าใจก็ขาดสถานที่ที่จะรองรับการบริจาคนมแม่ ทำให้การให้บริการธนาคารนมแม่มีจำกัด แต่หากดูแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นของธนาคารนมแม่ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สังคมไทยอาจจะต้องทำความรู้จักกับธนาคารนมแม่
เอกสารอ้างอิง
Williams T, Nair H, Simpson J, Embleton N. Use of Donor Human Milk and Maternal Breastfeeding Rates: A Systematic Review. J Hum Lact 2016;32:212-20.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การที่มารดาจะเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น มารดาต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงประโยชน์ของนมแม่ ทราบความสำคัญและความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และการที่จะให้นมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยต่อเนื่องไปจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นโดยขึ้นอยู่กับมารดาและทารก ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งแพทย์ควรจัดเวลาให้มีการแนะนำเรื่องความสำคัญและความจำเป็นในการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะการฝากครรภ์ ระยะคลอด รวมถึงในระยะหลังคลอดด้วย มีการศึกษาในกลุ่มผู้อพยพที่อยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และมีการให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกัน พบว่า ในกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่า1 จะเห็นว่า หากมารดาได้รับการให้บริการที่จะสร้างเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของนมแม่ก็จะทำให้แม่มีโอกาสที่จะให้นมลูกได้นานขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Wojcicki JM, Heyman MB, Elwan D, Lin J, Blackburn E, Epel E. Early exclusive breastfeeding is associated with longer telomeres in Latino preschool children. Am J Clin Nutr 2016;104:397-405.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)