การปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมและกระตุ้นให้ลูกดูดนม


ในขณะที่มารดาให้นมลูก มารดาอาจเมื่อยและต้องการปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูก วิดีโอนี้แนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนท่าเบื้องต้นเพื่อลดอาการเมื่อยล้าและการกระตุ้นบีบน้ำนมซึ่งจะทำให้ทารกกินนมได้ดีขึ้น

การกระตุ้นปลุกลูกให้กินนมแม่


มักจะพบบ่อยว่าทารกติดหลับขณะดูดนมจากอกแม่ในกรณีที่่ทารกคลอดก่อนกำหนด วิดีโอนี้แนะนำการกระตุ้นปลุกทารกให้กินนมแม่ได้ดีขึ้น

การจัดท่าในการให้นมแม่

วิดีโอนี้จะบรรยายถึงหลัก 4 ประการในการจัดท่าให้นมลูก

หากต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ การเลือกโรงพยาบาลที่คลอดมีความสำคัญ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ในกระบวนการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะเริ่มตั้งแต่ในมารดาที่มาฝากครรภ์ โดยมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายและประเมินความเสี่ยงในการหยุดให้นมแม่ของมารดาก่อนเวลาอันควร เพื่อวางแผนการติดตามดูแลในระยะคลอดและหลังคลอด กระบวนการในการดูแลในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด รวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้านจะมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล แน่นอนโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีกระบวนการเหล่านี้เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า ดังนั้น หากมารดาต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรศึกษาว่าโรงพยาบาลโรงใดเป็นโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหากมารดาไม่เตรียมการศึกษาข้อมูลล่วงหน้า แล้วคลอดบุตรในโรงพยาบาลที่หลังแยก แยกมารดาและทารกออกจากกัน ไม่มีการกระตุ้นการดูดนมหรือโอบกอดเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด มารดาอาจต้องใช้ความพยายามมากขึ้นที่จะสร้างโอกาสที่จะช่วยให้ลูกได้กินนมแม่ นอกจากนี้ มีการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลที่สนับสนุนมารดาให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก มีแนวโน้มที่มารดาเหล่านี้จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่า1

เอกสารอ้างอิง

  1. Vehling L, Chan D, McGavock J, et al. Exclusive breastfeeding in hospital predicts longer breastfeeding duration in Canada: Implications for health equity. Birth 2018.

 

 

มารดาส่วนใหญ่ขาดเทคนิคการให้นมลูกที่ถูกต้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ มารดาขาดความมั่นใจและรู้สึกว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ1 สาเหตุที่สำคัญของปัญหานี้ก็คือ การขาดทักษะหรือเทคนิคการให้นมลูกที่เหมาะสม มีการศึกษาพบว่ามารดามากกว่าร้อยละ 50 มีเทคนิคการให้นมลูกที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาเรื่องการเจ็บหัวนม หัวนมแตก หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ และรวมถึงทำให้เกิดการหยุดการให้นมแม่ก่อนเวลาอันควร โดยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อเทคนิคการให้นมของมารดาได้แก่ การมีระดับการศึกษาอย่างน้อยระดับมัธยมศึกษา การมีประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มีปัญหาเรื่องเต้านมและหัวนม การสอนเทคนิคการให้นมลูกตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด และการมาฝากครรภ์อย่างน้อยสองครั้ง2 ดังนั้น จะเห็นว่า ขนาดของปัญหานี้ใหญ่ บุคลากรควรใส่ใจและเอาใจใส่ที่จะสร้างให้มารดามีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และมีเทคนิคการให้นมที่ถูกต้องก่อนอนุญาตให้กลับบ้าน หรือมีการติดตามอย่างใกล้ชิดในรายที่เทคนิคการให้นมแม่ยังไม่เหมาะสม กระบวนการนี้ควรจัดเป็นงานประจำเพื่อสร้างการดูแลที่เป็นมาตรฐานในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Tshering D, Gurung MS, Wangmo N, Pelzom D, Tejativaddhana P, Dzed L. Prevalence of Exclusive Breastfeeding and Factors Associated With Exclusive Breastfeeding of Children in Trongsa District, Bhutan. Asia Pac J Public Health 2018:1010539518768573.
  2. Tiruye G, Mesfin F, Geda B, Shiferaw K. Breastfeeding technique and associated factors among breastfeeding mothers in Harar city, Eastern Ethiopia. Int Breastfeed J 2018;13:5.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)