คลังเก็บหมวดหมู่: มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่

สตรีที่ไม่มีลูกมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่สูงกว่า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การที่สตรีไม่มีลูกนั้นมีการศึกษาพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่สูงกว่าสตรีที่มีลูก1 เนื่องจากความเชื่อที่ว่า การที่สตรีมีการตกไข่ เมื่อมีไข่ตกแล้ว จะมีแผลที่รังไข่ ซึ่งจะมีการซ่อมแซมและรักษาตัวเองของรังไข่ แต่การเกิดการตกไข่ที่เกิดบ่อยกว่าในสตรีไม่มีบุตรรวมทั้งกรณีที่สตรีนั้นไม่ได้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ที่สูงกว่า ดังนั้น ประวัติการตั้งครรภ์หรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นเสมือนสิ่งที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าชนิดของมะเร็งที่พบที่สัมพันธ์กับประวัติการไม่เคยมีบุตร ได้แก่ มะเร็งรังไข่ชนิด clear cell และ endometrioid จากข้อมูลเหล่านี้ ทำให้การดูแลหรือคัดกรองสตรีในแต่ละคนของแพทย์อาจใช้ประวัติเหล่านี้ร่วมในการวางแผนการคัดกรองมะเร็งรังไข่ในสตรีได้อย่างเหมาะสมตามความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้การดูแลมีความจำเพาะและเหมาะสมในการเลือกใช้วิธีคัดกรองมากกว่าการให้คำปรึกษาหรือแนะนำอย่างทั่ว ๆ ไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Gaitskell K, Green J, Pirie K, et al. Histological subtypes of ovarian cancer associated with parity and breastfeeding in the prospective Million Women Study. Int J Cancer 2018;142:281-9.

การใช้เคมีบำบัด Cisplatin กับการให้นมแม่ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?Cisplatin รายละเอียดที่การใช้เขียนไว้ในการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก คือ ยา Cisplatin เป็นพิษต่อตัวอ่อนและทำให้เกิดความพิการในสัตว์ทดลอง ยาสามารถผ่านน้ำนมได้ ค่าครึ่งชีวิต (half-life) ของยา 24 ชั่วโมง มีรายงานที่ขัดแย้งกันที่ตรวจไม่พบยาในน้ำนมหลังการให้ยานี้แล้ว 3 วันและมีรายงานที่มีการตรวจพบยาในน้ำนมหลังจากการให้ยาแล้วในวันที่ 3 และวันที่ 51-3 ดังนั้นการให้นมแม่ขณะได้รับยาควรหลีกเลี่ยง หากจำเป็นควรให้นมหลังมารดาให้ยาเคมีบำบัดครบแล้ว 1 สัปดาห์

หนังสืออ้างอิง

  1. Ben-Baruch G, Menczer J, Goshen R, Kaufman B, Gorodetsky R. Cisplatin excretion in human milk. J Natl Cancer Inst 1992;84:451-2.
  2. de Vries EG, van der Zee AG, Uges DR, Sleijfer DT. Excretion of platinum into breast milk. Lancet 1989;1:497.
  3. Egan PC, Costanza ME, Dodion P, Egorin MJ, Bachur NR. Doxorubicin and cisplatin excretion into human milk. Cancer Treat Rep 1985;69:1387-89.

 

 

การใช้เคมีบำบัด Etoposide กับการให้นมแม่ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? Etoposide ยานี้ทำให้เกิดความพิการและเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ในสัตว์ทดลอง ยาสามารถผ่านน้ำนมได้1 ค่าครึ่งชีวิต (half-life) ของยา 4-11 ชั่วโมง การใช้ยานี้ระหว่างการให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากความเป็นพิษของยา หากจำเป็นควรให้นมหลังมารดาให้ยานี้อย่างน้อย 55 ชั่วโมง

หนังสืออ้างอิง

  1. Azuno Y, Kaku K, Fujita N, Okubo M, Kaneko T, Matsumoto N. Mitoxantrone and etoposide in breast milk. Am J Hematol 1995;48:131-2.

 

การใช้เคมีบำบัด Bleomycin กับการให้นมแม่ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? Bleomycin มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) และโปรตีน ยานี้ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตของตัวอ่อนในครรภ์ในสัตว์ทดลอง ค่าครึ่งชีวิต (half-life) ของยา 2 ชั่วโมง ยังไม่มีรายงานการใช้ยานี้ระหว่างการให้นมลูก ดังนั้นการให้นมแม่ขณะได้รับยาควรหลีกเลี่ยง หากจำเป็นควรให้นมหลังมารดาให้ยานี้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง

การให้นมแม่ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่

IMG_7236

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ มารดาที่ตรวจพบก้อนเนื้องอกที่รังไข่ในระหว่างตั้งครรภ์ การเลือกที่จะผ่าตัดเข้าไปตรวจพิสูจน์และประเมินระยะของโรค หากทำได้จะเลือกทำผ่าตัดในช่วงไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ โดยในมารดาอายุน้อยมีรายงานว่า การผ่าตัดส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะเป็นการผ่าตัดที่จะเหลือรังไข่อีกข้างไว้เพื่อให้มารดาคงโอกาสที่จะมีบุตรได้ในอนาคต1 ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียวหากหลังผ่าตัดไม่มีภาวะแทรกซ้อน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้เหมือนผู้ป่วยผ่าตัดคลอด สำหรับมารดาที่จะเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมด้วย เคมีบำบัดที่มักใช้ในการรักษามะเร็งรังไข่ชนิดเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ bleomycin, etoposide และ cisplatin ซึ่งการจะให้นมแม่ต้องดูรายละเอียดของการใช้ยาแต่ละชนิด

หนังสืออ้างอิง

  1. Neeyalavira V, Suprasert P. Outcomes of malignant ovarian germ-cell tumors treated in Chiang Mai University Hospital over a nine year period. Asian Pac J Cancer Prev 2014;15:4909-13.