? ? ? ? ? ปัญหาสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่พบเจอในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่น้ำนมมาช้า มาน้อยและมาไม่เพียงพอ ปกติน้ำนมแม่จะเริ่มมาภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งกลไกสำคัญที่ทำให้น้ำนมมาเร็วคือ การเข้าเต้าได้ถูกต้องและให้ลูกกระตุ้นดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง เมื่อน้ำนมมาแล้ว คุณแม่ก็มักจะวิตกกังวลว่าน้ำนมจะเพียงพอหรือไม่ จะมีวิธีในการสังเกตอย่างไร สิ่งนี้ไม่ยากเลย หากคุณแม่สังเกตลักษณะต่างๆ ที่บ่งบอกว่านมแม่มีพอ1 ดังนี้
– เต้านมคุณแม่ตึงก่อนให้นม และนิ่มหลังจากให้นมเรียบร้อยแล้ว
– ขณะที่ลูกดูดนมข้างหนึ่ง น้ำนมจะไหลออกจากเต้านมอีกข้าง
– ได้ยินเสียงกลืนน้ำนมขณะลูกดูดนม
– ลูกรู้สึกผ่อนคลายขณะดูดนมและพึงพอใจหลังดูดนม
– ระหว่างลูกดูดนม มีเวลาที่ลูกตื่น รู้สึกตัวแต่สงบ
– ให้นมได้ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
– ลูกปัสสาวะเกือบทุกครั้งหลังดูดนมและถ่ายหลายครั้งต่อวัน
– น้ำหนักลูกเพิ่มขึ้น 20-30 กรัมต่อวันหลังจาก 3-5 วันหลังคลอด
? ? ? ? ? ลักษณะหลายอย่างข้างต้นบ่งบอกถึงว่า น้ำนมที่ให้ลูกน่าจะเพียงพอ เมื่อคุณแม่สังเกตพบอาการต่างๆ แล้ว อยากให้มีความมั่นใจ เนื่องจากเด็กที่กินนมแม่มักจะไม่อ้วน แต่น้ำหนักขึ้นและพัฒนาการตามเกณฑ์ปกติ คุณแม่บางคนอยากให้ลูกอ้วน น่ารัก แต่การที่ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะมีผลต่างความเจ็บป่วยในระยะยาวของลูกได้ ดังนั้น ความต้องการหรือค่านิยมผิดๆ คุณแม่และครอบครัวควรทำความเข้าใจและนึกถึงประโยชน์ของลูกเป็นหลักก่อนเสมอ
? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น เมื่อมีน้ำนมมาแล้วและมาเพียงพอ การยิ่งกระตุ้นให้บ่อยน้ำนมยิ่งมามาก การให้ลูกดูดนมแนะนำให้ลูกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าข้างหนึ่ง แล้วสลับมาให้อีกข้างให้เกลี้ยงเต้าเช่นกัน การให้นมจนเกลี้ยงเต้าข้างหนึ่งแล้วสลับมาให้อีกข้างจะให้เวลาการสร้างน้ำนมในข้างที่หมด และจะทำให้การสร้างน้ำนมยิ่งสร้างเร็วขึ้น การให้นมโดยมีเทคนิคถูกต้องนี้จะสร้างให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนได้ตามความตั้งใจ
หนังสืออ้างอิง
- Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์