คลังเก็บหมวดหมู่: ทำความรู้จักประจำเดือน

ทำความรู้จักประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

 

โอ๊ย…ปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือน เป็นอาการที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับสตรีในทุกรอบเดือน บางครั้งอาการเป็นมากจนปฏิบัติงานไม่ได้ ต้องหยุดงาน สร้างความวิตกกังวลตลอดเมื่อถึงรอบการมีประจำเดือน การปวดประจำเดือนนั้นมีหลายสาเหตุ มาเรียนรู้ในเรื่องนี้กันดีกว่า

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการมีประจำเดือนเกิดขึ้นได้อย่างไร ประจำเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายสตรี โดยการสั่งการจากสมองมากระตุ้นการเจริญเติบโตของรังไข่ ซึ่งจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไปกระตุ้นการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน เมื่อไข่ตกแล้วไม่ได้รับการผสมหรือปฏิสนธิ การสร้างฮอร์โมนจะต่ำลง เยื่อบุโพรงมดลูกจะขาดการกระตุ้น ขาดเลือดไปเลี้ยง ฝ่อ ตาย และหลุดออกมาพร้อมกันกับมีเลือดที่อยู่ในชั้นเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนด้วย ในขณะที่มีการขาดเลือดของเยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมทั้งการที่มีเลือดขังอยู่ในโพรงมดลูกนั้น จะมีการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสารที่ทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูกเพื่อขับไล่เลือดออกมา การบีบตัวของตัวมดลูกจะทำให้รู้สึกปวดหน่วงท้องน้อย ซึ่งจะเป็นอาการปวดประจำเดือน

การปวดประจำเดือนในภาวะปกติ อาการจะมีไม่มาก มักเป็นในวันแรกและวันที่สองของการมีประจำเดือน ส่วนใหญ่มากหายเอง ความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดมีน้อย และมักไม่รบกวนการทำงานหรือการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน

อาการปวดประจำเดือนอาจเกิดจากการมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่

– ?การอักเสบในอุ้งเชิงกราน

– ?การมีเนื้องอกมดลูก

– ?เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

– ?มะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกหรือกล้ามเนื้อมดลูก

– ?การแท้ง

– ?การท้องนอกมดลูก

การปวดประจำเดือนจากสาเหตุเหล่านี้ สังเกตได้จากมักมีอาการปวดประจำเดือนมาก ต้องใช้ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการ มักเป็นอยู่หลายวัน และอาจพบมีเลือดประจำเดือนออกมากหรือผิดปกติร่วมด้วย การวินิจฉัยจำเป็นต้องใช้แพทย์เป็นผู้ตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากประวัติระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวด อาการร่วม ได้แก่ การมีไข้ การเคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีปัสสาวะบ่อย แสบขัด หรือเป็นหนอง ตกขาวผิดปกติมีกลิ่นเหม็น การคลำก้อนได้ที่ท้องน้อย การมีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ การมีประจำเดือนมามากหรือผิดปกติ การขาดหรือไม่สม่ำเสมอของประจำเดือน อาการคลื่นไส้อาเจียน โดยเมื่อได้ข้อมูลจากประวัติแล้ว แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้องและตรวจภายใน การตรวจจะช่วงให้ได้การวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นการปวดประจำเดือนลักษณะปกติหรือเป็นโรคใด หากข้อมูลที่ได้ยังไม่ชัดเจน การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยและช่วยในการวางแผนการรักษาด้วย แผนการรักษามีตั้งแต่การติดตาม การใช้ยาบรรเทาหรือรักษาอาการ และการผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรค อายุ ความต้องการมีบุตร แพทย์จะให้คำปรึกษาเรื่องโรคและวิธีการรักษาโดยร่วมกันวางแผนการรักษากับผู้ป่วยและครอบครัว ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดประจำเดือนมักต้องการการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน

ในสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนหากอายุมากใกล้หมดประจำเดือนและสาเหตุของการปวดประจำเดือนไม่ใช่เนื้อร้ายหรือมะเร็ง การรักษาด้วยยาบรรเทาอาการและนัดติดตามการรักษาเป็นระยะๆ จนกระทั่งหมดประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนก็จะหมดไป จะเห็นว่าการปวดประจำเดือนนี้ อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงการมีประจำเดือนราว 40 ปี กว่าจะหมดประจำเดือนโดยส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน จึงเป็นสิ่งที่สตรีควรใส่ใจ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง และปรึกษาแพทย์หากสงสัยความผิดปกติของอาการปวดประจำเดือน

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

ประจำเดือนคืออะไร?

?ประจำเดือนคืออะไร?

? ? ? ? ? ? ? ??

? ? ? ? ? เมื่อเด็กสาวอายุ? 12 ? 14? ปี? จะเริ่มมีประจำเดือน? มาดูกลไกการเกิดของประจำเดือนและเข้าใจว่าประจำเดือนนั้นคืออะไร? ?เริ่มต้นด้วยแต่ละรอบเดือนรังไข่จะผลิตไข่มีการเจริญเติบโต? และเกิดการตกไข่ครั้งละ? 1? ฟอง? ซึ่งจะเดินทางผ่านท่อนำไข่เข้าไปสู่โพรงมดลูก? ขณะที่ไข่กำลังเดินทางอยู่ในท่อนำไข่นั้น? มดลูกจะเริ่มสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นและมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง? เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสม? เพื่อหล่อเลี้ยงและให้อาหารแก่ทารก? แต่ส่วนใหญ่เมื่อไม่มีการร่วมเพศไม่เกิดการปฏิสนธิ? จะไม่มีฮอร์โมนมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ต่อ? เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้จึงขาดเลือดตาย??? มีเลือดออกและหลุดลอกออกมา? จากนั้นมดลูกก็จะเริ่มขับเอาเนื้อเยื้อไข่ที่ไม่ได้รับการผสมและเลือดที่ค้างอยู่ออกมาทางช่องเล็ก ๆ? ทางปากมดลูกและไหลผ่านช่องคลอดมาที่ปากช่องคลอดเรียก? ?เลือดประจำเดือน? หรือ ?ระดู? การขับเลือดออกจากร่างกายนี้ปกติจะใช้เวลา? 2 ? 7? วัน? (ขณะมีการขับเลือดนี้อาจจะมีการปวดท้องน้อยได้จากมดลูกบีบตัว)? โดยหลังจากนั้นก็จะมีการเริ่มของกลไกเหล่านี้ใหม่? ซึ่งแต่ละรอบจะกินเวลาประมาณ? 28 ? 30 วัน? โดยจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองในอายุเฉลี่ยประมาณ? 50? ปี? ซึ่งเกิดจากรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและหยุดการสร้างไข่

คราวนี้มาถึงคำถามที่น่าสนใจ? ?เลือดประจำเดือนจะไหลออกมาหมดแค่ไหนนะ? แล้วมันจะไหล? พลั่ก? พลั่ก? ออกมาหรือเปล่าก็ไม่รู้ซี?? คำตอบคือ ?ปริมาณของเลือดประจำเดือนมีระดับแตกต่างกันในแต่ละคน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง? 2? ปีแรกของการมีประจำเดือน? อาจจะมีน้อยแค่? 1? ช้อนโต๊ะ? หรือมากถึง? 6? ช้อนโต๊ะและในแต่ละครั้งเลือดอาจจะออกมาไม่หมดในทีเดียว?? โดยบางคนจะไหลออกมามากในวันสองสามวันแรก? และน้อยลงในวันต่อ ๆ?? ไป

??????????????? คำถาม? ?การปวดท้องขณะมีประจำเดือนเป็นอันตรายไหม? และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?? คำตอบคือ? เนื่องจากอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมดลูกขับไล่เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกและเลือดที่ค้างอยู่ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ไม่อันตราย? ความรุนแรงจะไม่เท่ากันในแต่ละคนแต่ส่วนใหญ่จะปวดไม่มาก? ถ้าปวดรุนแรงมากผิดปกติ? ทำงานไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์? เพื่อตรวจสอบ? เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ? แอบแฝงอยู่? วิธีการช่วยผ่อนคลายอาการปวดท้องมีหลายวิธี? ได้แก่? การจับ ๆ? นวด ๆ? บริเวณท้อง? การอาบน้ำอุ่น? หรือดื่มอะไรร้อน ๆ? การออกไปเดินเล่น? หรือหันเหความสนใจไปสู่สิ่งอื่น ๆ? สุดท้ายการกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลก็สามารถช่วยได้

??????????????? การมีประจำเดือนครั้งแรกของเด็กสาว? บางทีอาจทำให้ความรู้สึกภูมิใจ? แต่บางทีก็อาจทำให้รู้สึกอับอายได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

??????????????? ?เมื่อหนูมีประจำเดือนครั้งแรกหนูร้องไห้ตกใจมาก แม่ไปโพทนากับพี่ชาย คุณพ่อ และเพื่อนบ้านหมดเลย แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้หนูยังรู้สึกอับอายทุครั้งที่หนูมีประจำเดือน?

??????????????? ?ที่บ้านของหนู วันนี้ได้จัดอาหารค่ำเป็นพิเศษ เพื่อเลี้ยงฉลองเนื่องในวันแรกที่หนูเริ่มมีประจำเดือน หนูรู้สึกอบอุ่นและภูมิใจที่จะได้เป็นสาว และทุกคนในบ้านก็รับรู้ถึงสิ่งนั้นและแสดงการต้อนรับอย่างอบอุ่นกับความเป็นสาวของหนู?

??????????????? ในช่วงเดือนแรก ๆ? หลังจากมีประจำเดือน? ร่างกายจะใช้เวลาหลายปีในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง? จนกระทั่งเกิดเป็นวงจรสม่ำเสมอ? จนเรารู้สึกคุ้นเคยกับมันโดยไม่รู้ตัว? ในปีแรกรอบเดือนอาจขาดหายไปบางเดือน? หรือมาผิดปกติเดือนละสองครั้ง? แต่เมื่อวงจรเริ่มเข้าที่เป็นปกติ? รอบเดือนจะมาสม่ำเสมอ? ราวทุก? 28? วัน? แต่เป็นเพียงการประมาณคร่าว ๆ? ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นเช่นนั้น? วิธีที่ดีวิธีหนึ่งของการสังเกตรอบเดือนคือ? การทำเครื่องหมายลงบนปฏิทินในวันที่มีประจำเดือนมาในครั้งหนึ่ง ๆ? จนกระทั่งถึงวันที่มีประจำเดือนครั้งต่อไป? การทำเช่นนี้จะทำให้รู้ว่ารอบเดือนของคุณนั้นกินเวลากี่วัน? ถ้าประจำเดือนของคุณไม่เคยมาเป็นปกติเลย? ควรรับการปรึกษาจากสูตินรีแพทย์

??????????????? ?ผ้าอนามัย? ปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในระหว่างมีประจำเดือน ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยมีหลายชนิดให้เลือก จนบางครั้งทำให้รู้สึกลำบากใจในการเลือก มารู้จักชนิดของผ้าอนามัยกันก่อน

  1. ผ้าอนามัยแบบแผ่น? จะมีชนิดที่มีสายคาด? และชนิดที่มีแถบกาวเหนียวใช้ติดกับกางเกงในได้เลย
  2. ผ้าอนามัยแบบสอด? จะมีลักษณะเป็นสำลีอัดแผ่นเหมือนไส้กรอก? ปลายข้างหนึ่งของผ้าอนามัยจะมีเชือกผูกติดอยู่? วิธีใช้สอดผ้าอนามัยด้านตรงข้ามกับเชือกไปในช่องคลอด? โดยค่อย ๆ? คันเข้าไปจนหมดแท่ง? เหลือปลายเชือกห้อยยาวออกมาอยู่ที่ปากช่องคลอด? เมื่อต้องการเปลี่ยนอันใหม่ก็ดึงเชือกค่อย ๆ? ช้า ๆ? ผ้าอนามัยก็จะหลุดออกมา

การเลือกผ้าอนามัยไม่ว่าจะเป็นแบบแผ่นหรือแบบสอด? แนะนำให้เริ่มใช้ขนาดเล็กก่อน? เนื่องจากเมื่อเริ่มใช่ใหม่ ๆ? คุณอาจรู้สึกไม่มั่นใจ? เกรงว่าจะปรากฏร่องรอยออกมาและเห็นออกมาภายนอกและอาจรู้สึกเทอะทะ? รำคาญ? จากนั้นจึงปรับขนาดตามความเหมาะสมกับร่างกายเรา? สำหรับผ้าอนามัยแบบสอด? มักมีปัญหาในการสอดใส่? เนื่องจากความไม่คุ่นเคย? กับปากช่องคลอด? ซึ่งเป็นช่องที่จะใส่ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไป? แม้จะอ่านคำแนะนำและวิธีใช้จากข้างกล่อง? นอกจากนี้? บางคนยังกลัวว่า? ผ้าอนามัยแบบสอดจะหลุดเข้าไปในมดลูก? ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้? เพราะปากมดลูกนั้นเล็กเกินกว่าผ้าอนามัยจะผ่านเข้าไปได้? ความนิยมของผ้าอนามัยแบบสอดจึงน้อยกว่า? ?อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ผ้าอนามัยชนิดไหนขึ้นอยู่กับความสะดวกใจของผู้ใช้แต่ละคนนั่นเอง?

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์