คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ภาวะลิ้นติดกับการพูด

Mom-300x215

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การมีภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัญหาในเรื่องการพูด สำหรับในเรื่องการพูด มีรายงานหนึ่งการศึกษาถึงผลของการรักษาภาวะลิ้นติดโดยการผ่าตัดเปรียบเทียบในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดรักษา กลุ่มที่ไม่ได้รักษา และกลุ่มควบคุม โดยทดสอบการพูดโดยใช้แบบทดสอบการพูดมาตรฐาน (standardized articulation test) ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและการพูด ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละกลุ่ม แต่ในกลุ่มที่ไม่ได้รักษาพบพูดผิดบ่อยกว่า1 และมีสามรายงานการศึกษาที่เก็บรวบรวมข้อมูลของการรักษาภาวะลิ้นติดโดยการผ่าตัด ผลการศึกษามีแนวโน้มว่าการผ่าตัดรักษาจะช่วยให้การพูดดีขึ้น2-4 ซึ่งจำนวนตัวอย่างที่ศึกษาน้อย การสรุปผลจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dollberg S, Manor Y, Makai E, Botzer E. Evaluation of speech intelligibility in children with tongue-tie. Acta Paediatr 2011;100:e125-7.

2.???????????? Heller J, Gabbay J, O’Hara C, Heller M, Bradley JP. Improved ankyloglossia correction with four-flap Z-frenuloplasty. Ann Plast Surg 2005;54:623-8.

3.???????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: the adolescent and adult perspective. Otolaryngol Head Neck Surg 2003;128:746-52.

4.???????????? Messner AH, Lalakea ML. The effect of ankyloglossia on speech in children. Otolaryngol Head Neck Surg 2002;127:539-45.

?

อาการผิดปกติที่ควรปรึกษาแพทย์หลังคลอด

breastfeeding3-300x225

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

อาการผิดปกติที่ควรปรึกษาแพทย์

-แผลฝีเย็บปวดมากขึ้น มีหนองหรือมีกลิ่นเหม็น หากผ่าตัดคลอด แผลผ่าตัดคลอดซึมหรือแยก

-มีเลือดออกจากช่องคลอดชุ่มผ้าอนามัยภายในหนึ่งชั่วโมง

-มีอาการปวดเกร็งท้องน้อยรุนแรง

-มีน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น

-มีอาการปวดบริเวณแผล มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อนและกดเจ็บ

-มีไข้สูงตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียส

-มีคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงหรือนาน 12 ชั่วโมง

-มีอาการปวดและอักเสบแดงที่น่อง

-มีอาการแน่นหน้าอก

-มีอาการหายใจเร็วหรือหอบ

-มีปัสสาวะแสบขัดหรือปัสสาวะเป็นเลือด

-มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว

-เต้านมมีอาการปวด บวม แดง กดเจ็บ อาจมีไข้หรือปวดเมื่อยตัวร่วมด้วย

 

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การมีเพศสัมพันธ์

-หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลาซึ่งการเริ่มการมีเพศสัมพันธ์จะสามารถทำได้เมื่อน้ำคาวปลาลดลงไม่มีสีน้ำตาลแล้ว และคุณแม่ไม่มีอาการปวดแผล หากยังให้นมลูกอย่างเดียวอยู่ ประจำเดือนยังไม่มา ในระยะสามเดือนแรก การให้นมลูกจะช่วยยับยั้งการตกไข่และช่วยคุมกำเนิด แต่หากมีประจำเดือนมาแล้วควรคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย

การตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังคลอด

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

-ควรตรวจเต้านมเดือนละครั้งในเวลาเดียวกันของเดือนเพื่อป้องกันการลืม

-การตรวจเต้านม หากยังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรให้นมให้เต้านมลดการคัดตึงลงก่อน หากในรายที่มีประจำเดือนมาแล้ว ควรตรวจเต้านมในวันที่ 5-7 หลังมีประจำเดือน

-เต้านมหากพบคลำได้ก้อน ขณะให้นมลูก ส่วนใหญ่จะเป็นก้อนจากน้ำนมขังซึ่งจะหายไปเอง หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์

การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดหลังคลอด

breastfeeding3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอด

หลังคลอดคุณแม่สามารถบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดได้เลย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อนี้กระชับขึ้น การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดจะทำโดยการขมิบช่องคลอด หากไม่ทราบว่าขมิบอย่างไร สังเกตจากขณะปัสสาวะ หากทำการขมิบจะกลั้นปัสสาวะปัสสาวะได้ หยุดขมิบจะปัสสาวะต่อได้ การขมิบหรือเกร็งกล้ามเนื้อจะทำสองถึงสามวินาทีและผ่อนคลาย ทำเป็นชุดต่อเนื่องกันชุดละ 5 ครั้ง วันละ 50-100 ชุด การบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน จะทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดแข็งแรงและกระชับดีขึ้น