คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

มารดาบีบเก็บน้ำนมได้น้อยควรทำอย่างไร

hand expression11

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป นมแม่จะเพียงพอสำหรับทารกในแต่ละช่วงเวลา การให้นมแม่ตามความต้องการของทารกจะดีที่สุด แต่ในกรณีที่มารดาต้องไปทำงานนอกบ้าน การบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ทารกอาจมีความจำเป็น การบีบเก็บน้ำนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดสามารถทำได้ แต่มารดาไม่ควรคาดหวังว่าจะสามารถบีบน้ำนมเก็บได้เต็มแก้วหรือเต็มขวดในครั้งแรก นมแม่เมื่อได้รับการกระตุ้นบ่อยๆ และให้ทารกดูดหรือบีบออกจนเกลี้ยงเต้า น้ำนมจะผลิตเพิ่มขึ้น

? ? ? ? ? ? ?หากในช่วงหลังคลอดใหม่ มารดาให้ทารกกินนมแล้ว บีบเก็บน้ำนมได้น้อย ทารกยังเจริญเติบโตตามเกณฑ์ ขับถ่ายปกติ ไม่ควรวิตกกังวลเรื่องการบีบเก็บน้ำนมได้น้อย การบีบเก็บน้ำนม ควรเริ่มต้นด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือก่อนในระยะแรกหลังคลอด โดยอาจบีบน้ำนมในเต้านมข้างที่ทารกไม่ได้ดูดนมขณะเดียวกันกับให้ทารกดูดเต้านมอีกข้าง การดูดนมของทารกจะกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซินที่จะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น เมื่อน้ำนมไหลได้ดี การปั๊มนมจากเต้าทั้งสองพร้อมกันในระหว่างมื้อของการให้นมทารก จะให้ได้น้ำนมมากขึ้นโดยใช้เวลาในการปั๊มน้อยลง ยิ่งกระตุ้นบีบน้ำนมเก็บบ่อยๆ น้ำนมก็ยิ่งผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ?มารดาควรระลึกไว้เสมอว่า การให้นมจากเต้าที่สดใหม่ย่อมดีกว่าการให้น้ำนมที่บีบเก็บหรือแช่เย็นไว้ และการให้นมแม่ที่แช่เย็นไว้ก็ยังดีกว่าการให้นมผสม?

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ภาวะลิ้นติด

moderat tongue-tie1

เอกสารประกอบการสอนภาวะลิ้นติด

tongue-tie review

เหตุใดนมแม่ในมารดาบางคนจึงมาน้อย

S__38207899

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?นมแม่ส่วนใหญ่จะเพียงพอสำหรับทารก แต่ในมารดาบางรายนมแม่มีน้อย การตรวจหาสาเหตุมีความจำเป็น เพื่อการแก้ไขที่เหมาะสมให้น้ำนมกลับมาเป็นปกติ สาเหตุที่ทำให้มารดามีน้ำนมน้อย ได้แก่

? ? ? -การให้ลูกเริ่มกระตุ้นดูดนมช้า ความถี่ในการดูดนมน้อยเกินไป การดูดนมที่ไม่เกลี้ยงเต้า (พบเป็นสาเหตุได้บ่อย)

? ? ? -การให้นมผสมเสริมจากนมแม่

? ? ? -มารดาเปลี่ยนใจจากการให้ลูกกินนมผสมเปลี่ยนมาให้นมแม่

? ? ? -มารดาสูบบุหรี่

? ? ? -มารดาที่ได้รับยาที่ทำให้น้ำนมมาน้อย ได้แก่ pseudoephedrine โดยอาจได้รับร่วมกับยา antihistamine

? ? ? -โรคหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดหรือหลังคลอด ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอด มารดามีภาวะไทรอยด์ผิดปกติ มารดาเคยได้รับการผ่าตัดเต้านม หรืออาจเกิดจากมารดามีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเต้านมผิดปกติ (พบน้อย)

? ? ? ? ? ? ? ดังนั้น จะเห็นว่า สาเหตุที่พบส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ หากมารดาตั้งใจ เอาใจใส่ และได้รับการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม มารดากลุ่มนี้ จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ทารกหลังคลอดไม่ควรน้ำหนักลดเกินเท่าไหร่

IMG_0718

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกจะมีน้ำหนักลด แต่มีข้อแนะนำว่า น้ำหนักของทารกที่ลดไม่ควรเกินร้อยละ 7 จากน้ำหนักแรกคลอดในที่ 5 หลังคลอด เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และมารดาระมัดสาเหตุที่ทำให้ทารกน้ำหนักลดอาจเป็นอันตรายแก่ทารกได้ ดังนั้น จึงเขียนตารางเทียบน้ำหนักตัวของทารกและน้ำหนักที่ไม่ควรลดเกินในวันที่ 5 หลังคลอด เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการดูแลในเรื่องน้ำหนักทารกที่ลดลง

น้ำหนักแรกคลอด (กิโลกรัม) ในวันที่ห้าหลังคลอด น้ำหนักที่ลดไม่ควรเกิน (กรัม)?
2.5 175
2.75 192.5
3 210
3.25 227.5
3.5 245
3.75 262.5
4 280
4.25 297.5
4.5 315

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

ตารางประมาณค่าความต้องการนมแม่ของทารกปกติต่อวัน

IMG_0712

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในทารกปกติ มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์อาจใช้สูตรคำนวณปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการต่อวันได้ดังนี้

น้ำหนักทารก(กิโลกรัม)คูณด้วย 5.5 จะเท่ากับปริมาณน้ำนม(ออนซ์)ที่ทารกควรจะได้รับต่อวัน

?ซึ่งเพื่อให้ดูง่าย ได้จัดทำเป็นตารางน้ำหนักทารกและความต้องการน้ำนม แสดงในตาราง

น้ำหนักทารก?(กิโลกรัม)

ความต้องการนมแม่?(ออนซ์) ต่อวัน นมแม่ (ออนซ์) ต่อมื้อ?(8 มื้อต่อวัน) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังกินนมแม่(กรัม)
2.5 13.75 1.72 52
2.75 15.125 1.89 57
3 16.5 2.06 62
3.25 17.875 2.23 67
3.5 19.25 2.41 72
3.75 20.625 2.58 77
4 22.0 2.75 83
4.25 23.375 2.92 88
4.5 24.75 3.09 93
4.75 26.125 3.27 98
5 27.5 3.44 103

? ? ? ? ? ? ?หรืออาจใช้น้ำหนักทารก (กิโลกรัม) คูณด้วย 20.6 เท่ากับน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นหลังกินนม (กรัม) หากให้นมทารก 8 มื้อต่อวัน ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์ประเมินการให้นมทารกได้อย่างง่ายๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.