คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การให้นมทารกที่มีการบาดเจ็บจากการคลอด

IMG_0728

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ทารกที่บาดเจ็บจากการคลอดที่พบได้บ่อย คือ การที่มีเลือดออกในเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ โดยทั่วไป มักพบในทารกที่คลอดยาก มีการคลอดติดขัด หรือเนิ่นนาน และพบในมากขึ้นในทารกที่มีการใช้หัตถการในการช่วยคลอด ได้แก่ การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ อาการแสดงที่ตรวจพบจะพบทารกมีศีรษะบวม คลำได้หยุ่น คล้ายถุงน้ำอยู่ที่ศีรษะ ซึ่งการบวมจะไม่ข้ามรอยของกระดูกหรือกระหม่อม เมื่อทารกบาดเจ็บที่ศีรษะจากการคลอด การให้นมแม่สามารถทำได้ แต่ต้องจัดท่าให้นมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือกดทับบริเวณที่บาดเจ็บ บางครั้งทารกอาจอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าจากการคลอดและการบาดเจ็บ การกินนมของทารกอาจทำได้ไม่ดี การติดตามดูน้ำหนักทารก ร่วมกับการเอาใจใส่กับภาวะตัวเหลืองที่พบได้สูงขึ้นในทารกเหล่านี้จากการดูดซึมลดขนาดบริเวณที่บวมจากเลือดออกที่ศีรษะ จะทำให้ทารกปลอดภัยและสามารถกินนมได้สำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เป็น PKU

IMG_0697

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ภาวะพีเคยู หรือฟีนิวคีโตนยูเรีย (phenylketonuria) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนโปรตีน phenylalanine เป็นกรดอะมิโน tyrosine ได้ ร่างกายจะมีปริมาณของ phenylalanine สูง ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของการเชื่อมต่อกันของระบบเส้นประสาท มีผลต่อความเฉลียวฉลาด สติปัญญา และการพัฒนาการของสมอง ความผิดปกติของพฤติกรรมและการเรียนรู้ และพบมีภาวะกระดูกบางในผู้ป่วยที่มีโรคนี้ด้วย โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาพบราว 1 ใน 13500-15000 ราย ส่วนในประเทศญี่ปุ่นพบภาวะนี้น้อย ภาวะนี้เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมในยีนร่างกายชนิดที่เป็นยีนด้อย (autosomal recessive)

? ? ? ? ? ? ในน้ำนมจะมีโปรตีน phenylalanine อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อร่างกายขาดเอนไซม์ที่จะเปลี่ยน phenylalanine เป็น tyrosine จะเกิดผลเสียเมื่อมีระดับของ phenylalanine สูง ดังนั้น อาหารที่ทารกรับประทานจำเป็นต้องควบคุมให้มีโปรตีนนี้ต่ำและระดับ phenylalanine ในกระแสเลือดไม่สูงจนเกินไป เช่นเดียวกันกับการกินนมแม่ สามารถกินได้โดยควบคุมปริมาณตามระดับของ phenylalanine และจำเป็นต้องกินอาหารเฉพาะที่มีการจำกัดหรือปราศจากโปรตีนตัวนี้ร่วมด้วย ซึ่งการให้การวินิจฉัยจำเป็นต้องให้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อลดผลเสียที่เกิดกับการพัฒนาการของระบบเส้นประสาทและสมอง

? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทยได้มีระบบการคัดกรองโรคนี้ในทารกที่คลอดทุกรายโดยคัดกรองร่วมกับภาวะขาดไทรอยด์หรือโรคเอ๋อ โดยการเจาะเลือดจากส้นเท้าทารกแรกเกิดทุกราย อย่างไรก็ตาม หากทารกมีอาการหรืออาการแสดงของทารกของโรคนี้ ได้แก่ มีผื่นแดง การเคลื่อนไหวผิดปกติของแขนขา การสั่น การชัก ทารกอยู่ไม่สุก (hyperactivity) ศีรษะเล็ก คลื่นไส้อาเจียน มีกลิ่นมัสตาร์ดจากลมหายใจ ผิวหนัง หรือจากปัสสาวะที่บ่งบอกถึงการมี phenylalanine ในปริมาณที่มากเกินไป มีพัฒนาการของสติปัญญาที่ช้าผิดปกติ มีพบมีมวลกระดูกต่ำหรือมีกระดูกบาง ควรให้การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากภาวะนี้จึงเป็นภาวะที่มีผลต่อสุขภาพทารกแรกเกิดที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การให้การดูแลรักษาตั้งแต่แรกเริ่มจะให้ผลดี บุคลากรจึงควรใส่ใจในการให้การวินิจฉัยรวมทั้งให้การดูแลเรื่องอาหารทารกและนมแม่อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. ?2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เป็น galactosemia

IMG_0730

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?กาแลคโตซีเมีย (galactosemia) เป็นภาวะที่ร่างกายขาดเอนไซม์ในการย่อยเปลี่ยนน้ำตาลกาแลคโตสเป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลกาแลคโตสในเลือดสูงมีผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของตับ ไต และทำให้เกิดต้อกระจก ภาวะกาแลคโตซีเมียเป็นภาวะความผิดปกติในยีนด้อยของร่างกาย แต่จากการที่มียีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ที่ย่อยเปลี่ยนน้ำตาลกาแลคโตสหลายตัว ดังนั้นลักษณะที่ผิดปกติจึงมีระดับความผิดปกติได้หลายระดับ ตั้งแต่ร่างกายทารกไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้เลยที่เรียกว่า ?ภาวะกาแลคโตซีเมียชนิดคลาสสิก? จนถึงสามารถสร้างได้ราวร้อยละ 50

? ? ? ? ? ?อุบัติการณ์ของภาวะนี้พบได้น้อย ในคนญี่ปุ่นพบราวหนึ่งในล้าน ภาวะกาแลคโตซีเมียชนิดคลาสสิกนี้ถือเป็นข้อห้ามเพียงหนึ่งเดียวที่ชัดเจนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมถึงการให้นมผสมที่ผลิตจากนมวัวด้วย ทารกจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้นมผสมที่ผลิตจากนมถั่วเหลือง แต่สำหรับทารกที่ยังสามารถสร้างเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลกาแลคโตสได้บ้าง จะยังมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ต้องมีการควบคุมหรือจำกัดปริมาณตามระดับน้ำตาลในกระแสเลือด1

? ? ? ? ? ?อาการของทารกที่มีภาวะกาแลคโตซีเมีย2 ได้แก่ ตัวเหลือง คลื่นไส้อาเจียน ตับโต เจริญเติบโตช้า กินได้น้อย เฉื่อยชา ท้องเสีย มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติและพบมีติดเชื้อในกระแสร่วมด้วยได้ อาการเหล่านี้มักพบใน 2-3 วันแรกหลังคลอด ส่วนอาการต้อกระจกเนื่องจากเลนส์ตาขุ่นจากการสะสมของน้ำตาลกาแลคโตสในเลนส์ตามักพบหลังสองสัปดาห์ไปแล้ว ?นอกจากนี้เมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นอาจพบภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด (premature ovarian failure) ด้วย การให้การวินิจฉัยภาวะนี้ในบางประเทศจะมีการตรวจคัดกรองในทารกแรกเกิดทุกราย แต่สำหรับในประเทศไทยยังใช้การตรวจวินิจฉัยเมื่อทารกมีประวัติพ่อแม่มีภาวะกาแลคโตซีเมีย หรือมีอาการหรืออาการแสดงที่สงสัยภาวะนี้เท่านั้น ดังนั้น แม้มีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น แต่ควรใส่ใจและไม่ละเลยในการวินิจฉัยภาวะนี้ โดยการให้การดูแลทารกอย่างเหมาะสมตั้งแต่ในระยะแรก จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับทารกเหล่านี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
  2. Waggoner DD, Buist NR, Donnell GN. Long-term prognosis in galactosaemia: results of a survey of 350 cases. J Inherit Metab Dis 1990; 13:802.

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติในช่องปาก

55899542

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ทารกที่มีความผิดปกติในช่องปากที่พบเห็นกันบ่อย ได้แก่ ภาวะปากแหว่งเพดาโหว่ ความผิดปกติในช่องปากของทารกนี้ จะส่งผลให้ทารกไม่สามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมได้ จึงจำเป็นสำหรับมารดาที่ต้องปรับเปลี่ยนท่าที่ให้นมและให้การช่วยเหลือทารกให้ดูดนมได้ การจัดท่ามีความสำคัญสำหรับทารกกลุ่มนี้อย่างมาก หากทารกมีภาวะปากแหว่ง หากมารดาสามารถจัดท่าให้เนื้อของเต้านมมาประกบติดกับบริเวณที่มีปากแหว่ง ทำให้ทารกสามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอที่จะดูดนมได้ นอกจากนี้ การให้นมท่านั่งหลังตรงในทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่ยังช่วยป้องกันการสำลักได้ อย่างไรก็ตาม หากทารกยังกระตุ้นดูดนมแม่ไม่ได้ดี การบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมจะช่วยให้มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก

? ? ? ? ? ?ความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยอีกสาเหตุหนึ่ง ได้แก่ ภาวะลิ้นติด ซึ่งหากมีภาวะลิ้นติดมากอาจสังเกตได้ง่าย ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ทารกยื่นลิ้นไปประกบและกดไล่น้ำนมจากลานนมได้ไม่ดี จนต้องออกขบกดหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่มในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงมาก จะช่วยให้ทารกเข้าเต้าและดูดนมได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดกลุ่มอาการดาวน์

hand expression7-2

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน สตรีมีการแต่งงานและมีบุตรช้าลง โดยอายุที่แต่งงานหรือมีบุตรสูงขึ้น เมื่อมารดาอายุเกิน 35 ปี ความเสี่ยงในการที่จะมีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ก็เพิ่มขึ้นตามอายุ แม้มีการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ในทารกระหว่างการตั้งครรภ์ได้ แต่มารดาบางคนอาจเลือกที่จะดูแลทารกแม้ทารกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ในทารกกลุ่มนี้จะมีแรงของกล้ามเนื้ออ่อนลง การดูดกระตุ้นน้ำนมจากเต้านมจะทำได้ไม่ดี? การกินนมจากเต้าอาจเหนื่อยอ่อนและกินนมไม่เพียงพอ นอกจากนี้ อาจพบความผิดปกติของหัวใจหรือไตร่วมด้วยได้ ดังนั้น การให้นมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์ หากทารกไม่มีแรงดูดนมจากเต้าในช่วงแรก อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้นม โดยอาจใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่น้ำนมและบีบช่วยให้น้ำนมไหลขณะทารกดูดนม เมื่อฝึกให้ทารกแข็งแรงดูดนมได้ดีขึ้นแล้วจึงให้ดูดนมจากเต้าโดยตรง ซึ่งมารดาจำเป็นต้องบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มกระตุ้นน้ำนมด้วย เนื่องจากทารกไม่มีแรงกระตุ้นจากการดูดนมได้ดีพอ การฝึกทารกให้ดูดนมร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ทารกจะดูดนมจากเต้านมได้ เช่นเดียวกันกับประโยชน์ของนมแม่ในทารกปกติ แต่ประโยชน์ของนมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์เห็นได้ชัดเจนกว่า คือนอกจากจะช่วยเรื่องพัฒนาการและระดับความฉลาดแล้ว นมแม่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่จะเกิดจากการติดเชื้อในทารกกลุ่มอาการดาวน์ลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.