คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่7

IMG_1042

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?แผนปฏิบัติการสำหรับผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายอาหารทารกและเด็กเล็ก ได้แก่

? ? ? ? ?-สร้างให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้จำหน่าย

? ? ? ? ?-กำหนดและติดตามให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการควบคุมมาตรฐานสารอาหารในอาหารทารกและเด็กเล็ก

? ? ? ? แผนปฏิบัติการสำหรับภาคประชาชนและชุมชน ได้แก่

? ? ? ? -จัดลำดับความสำคัญในเรื่อง? ?นมแม่ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด? ไว้ในลำดับแรกในเรื่องการให้ความร่วมมือในการส่งเสริมให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ รวมทั้งฝึกอบรมพนักงานในสถานประกอบการหรืออาสาสมัครในชุมชนให้มีความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สูงขึ้น

? ? ? ? –ช่วยเฝ้าระวังการละเมินหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้กลไกการดูแลในเรื่องนี้ของภาครัฐมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎระเบียบอย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่6

IMG_1018

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?แผนปฏิบัติการสำหรับสถาบันการค้า การลงทุนและการเงินระหว่างประเทศ ที่ควรจัดให้มีได้แก่

? ? ? ? ?-สร้างความตระหนักว่า ?นมแม่เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สร้างความสมบูรณ์ของร่างกาย ความเฉลียวฉลาด และความมั่นคงทางด้านจิตใจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่จะก่อกำเนิดในบุคคลทุกหมู่เหล่า? ดังนั้น การดำเนินงานหรือปฏิบัติการที่ทำให้เกิดการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมสำหรับทารกจะเป็นอุปสรรคต่อการลดปัญหาความยากจน และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่ความยั่งยืน

? ? ? ?-จัดสรรแหล่งเงินทุน งบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย การดำเนินงาน การติดตามและประเมินผลในเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็ก รวมทั้งโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก

? ? ? ?-เพิ่มการสนับสนุนกรอบการลงทุนในประเทศหรือพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์เรื่องอาหารทารกและเด็กเล็ก

? ? ? ?-ให้การสนับสนุนด้านวิจัยในระบบการดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาระบบงานในเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็ก

? ? ? ? -กระตุ้นให้มีการใส่แผนพัฒนาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไว้ในแผนแก้ไขหรือลดความยากจนและแผนการพัฒนาในด้านสุขภาพของประชากร

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่5

IMG_1034

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?แผนปฏิบัติการสำหรับภาครัฐ ที่ควรจัดให้มี ได้แก่

? ? ? ? –การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานที่มีอำนาจรับผิดชอบเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็ก คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรที่ดูแลในภาพรวมให้มีอิสระในการดำเนินงาน ปราศจากข้อขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์

? ? ? ? -เน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินงานโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกในโรงพยาบาล และต้องมีการประเมินการผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามระบบโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกของสถานพยาบาลทุกสถานพยาบาล รวมทั้งมีการสนับสนุนและความร่วมมือต่างๆ จากในชุมชนและสถานรับเลี้ยงเด็ก

? ? ? ? -การดำเนินงานเรื่องหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยปกป้องมารดาและทารกจากการตลาดที่ไม่เหมาะสมและสร้างความยั่งยืนในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ?-เร่งการออกกฎหมายที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนโดยครอบคลุมมารดาที่ทำงานในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะมารดาที่ทำงานในระบบจ้างงานที่ไม่ชัดเจน

? ? ? ?-การกำหนดมาตรฐานเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กให้อยู่ในเกณฑ์กำหนดในการอบรมวิชาชีพทางการแพทย์ พยาบาล และงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างให้บุคลากรที่ผ่านการอบรมมีสมรรถนะในเรื่องการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารเสริมตามวัยอย่างเหมาะสม

? ? ? ?-การสนับสนุนให้มารดาสามารถเข้าถึงการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารตามวัยจากบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง

? ? ? ?-การสร้างระบบที่ยั่งยืนในการติดตามรูปแบบของการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก เพื่อการวางแผนในการรณรงค์และปรับปรุงระบบการดำเนินงาน

? ? ? ?-กระตุ้นให้สื่อสารมวลชนช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างค่านิยม ?ปกติแรกเกิดทารกทุกคนต้องกินนมแม่? และสร้างกิจกรรมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในสัปดาห์นมแม่โลก

? ? ? -การจัดให้มีการตรวจวัดปริมาณการได้รับสารเคมีและสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการตรวจติดตามในสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตร

? ? ? ?-จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานในแผนการปฏิบัติการเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กให้อย่างเพียงพอ

? ? ? ?-การติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของการดำเนินงานในด้านอาหารทารกและเด็กเล็ก และมีการรายงานผลเป็นระยะๆ รวมทั้งจัดเวทีสร้างแนวคิดในเรื่อง ?สิทธิของเด็กในการที่จะได้รับนมแม่และอาหารตามวัยที่เหมาะสม?

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่4

IMG_1012

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?จากปฏิญญาบริสุทธิ์ที่ว่าด้วยอาหารทารกและเด็กนำไปสู่เป้าหมายแผนปฏิบัติการในแต่ละภาคส่วน ดังนี้

? ? ? ? ? ?แผนปฏิบัติการในทุกภาคส่วน

? ? ? ? ? ? -เสริมพลังให้สตรีในเรื่องบทบาทความเป็นแม่ และเสริมพลังให้ผู้ให้บริการในการให้การสนับสนุนข้อมูลและทักษะการปฏิบัติเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดา

? ? ? ? ? ? -สนับสนุนให้เกิดค่านิยมที่ชี้ว่า ??ปกติทารกแรกเกิดทุกคนต้องกินนมแม่?

? ? ? ? ? ?-ชี้ให้เห็นความเสี่ยงของการกินนมผสมที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก

? ? ? ? ? ?-สนับสนุนให้เกิดการสร้างสุขภาวะและโภชนาการที่ดีของสตรีในทุกช่วงวัยของชีวิต

? ? ? ? ? ? -ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสนับสนุนให้มารดาไม่ละทิ้งการให้นมแม่ มีการให้อาหารเสริมอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการแจกนมผสม

? ? ? ? ? ?-ดำเนินงานในเรื่องมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีกับการเลือกให้อาหารสำหรับทารก โดยกำหนดกรอบแผนปฏิบัติการ แนวทางการให้คำปรึกษา และการดูแลอาหารทารกสำหรับมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ประวัติกลยุทธ์สำหรับอาหารทารกและเด็กเล็กของโลก ตอนที่3

latching2-1-l

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในปี พ.ศ. 2548 องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟได้ประกาศปฏิญญาบริสุทธิ์ที่ว่าด้วยอาหารทารกและเด็กเล็ก (Innocenti Declaration on Infant and Young Child Feeding) ครอบคลุมการปฏิบัติมากกว่าฉบับเดิม ซึ่งการประกาศนี้เป็นนัยว่า การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องมีการควบคุมดูแลเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็กด้วย จาก 15 ปีที่ดำเนินการประกาศปฏิญญาฉบับแรก ได้มีความก้าวหน้าทางด้านการปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปได้ระดับหนึ่ง ซึ่งช่วยลดภัยคุกคามต่อสุขภาพและการรอดชีวิตของทารกจากการที่ทารกไม่ได้กินนมแม่หรือกินนมแม่ได้น้อยกว่าระยะเวลาที่เหมาะสม ?การลงทุนเพียงแค่สามารถให้ลูกได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวสามารถช่วยชีวิตเด็กมากกว่า 3500 คนต่อวัน ซึ่งมากกว่าการลงทุนทางด้านการป้องกันสุขภาพด้านอื่นๆ? โดยสิ่งนี้นำไปสู่การคุ้มครองสิทธิของเด็กที่จะได้รับการกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน ตามด้วยอาหารตามวัยที่เหมาะสมพร้อมกับนมแม่จนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.