คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

อาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่

IMG_1036

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปกติในทารกที่กินนมแม่จะไม่ค่อยพบว่ามีอาการท้องผูกในทารก เนื่องจากในนมแม่จะมีสารที่ช่วยในการระบายซึ่งจะทำให้ทารกถ่ายได้ง่าย แต่อาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่อาจพบในทารกที่อายุมากกว่าหนึ่งเดือน ในทารกที่ได้รับนมผสมหรือในทารกที่เริ่มอาหารเสริม ซึ่งอาจจะเกิดจากการกินนมแม่ได้แต่พบน้อย ส่วนใหญ่มักเป็นจากการกินนมผสมหรืออาหารที่ทารกได้เสริมที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก การปรับเปลี่ยนลักษณะการชงนมผสม และชนิดของอาหารเสริมจะสามารถลดอาการท้องผูกได้

? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่พบอาการท้องผูกในทารกที่กินนมแม่ ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติของทางเดินอาหารแต่กำเนิด โรค Hirschsprung ภาวะไทรอยด์ต่ำ การติดเชื้อโบทิลิซึ่ม (botulism) ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ มารดาควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้รักษาและได้รับคำแนะนำสำหรับการแก้ไขที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

น้ำนมเป็นสีชมพูเกิดจากอะไร

00025-1-1-l-small

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?น้ำนมสีชมพูเกิดจากการมีเลือดปนออกมากับน้ำนม มักเป็นในช่วงแรกๆ ที่มีเต้านมคัด การบีบน้ำนมหรือปั๊มนมที่รุนแรงก็อาจทำให้เกิดน้ำนมสีชมพูได้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า rusty-pipe syndrome แต่ในภาษาไทยอยากจะใช้คำว่า ?เลือดในอกที่ออกมาปนกับน้ำนมมารดา? ไม่มีอันตรายอะไรจากการที่ทารกกินน้ำนมสีชมพูนี้ โดยทั่วไป น้ำนมสีชมพูจะหายไปเองในหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การที่น้ำนมสีชมพูหรือปนเลือดจะทำให้มารดาวิตกกังวลและเป็นสาเหตุที่ทำให้หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนที่ควรจะเป็นได้ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้คำแนะนำให้มารดาปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมเพื่อให้มารดาสามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดังหวังได้

? ? ? ? ? ?สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้น้ำนมมีเลือดปน อาจเกิดจากมารดามีหัวนมแตกหรือเต้านมอักเสบ ซึ่งมารดาจะมีอาการเจ็บหัวนมหรือเต้านมร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการกินยาคุมกำเนิดและยาช่วยนอนหลับบางตัว?และในกรณีที่เป็นนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ยังไม่หาย อาจเกิดจากเนื้องอกในท่อน้ำนม (intraductal papilloma) หรือมะเร็งได้ ซึ่งมารดาควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้รักษาและแนะนำวิธีการให้นมแม่ที่ถูกต้องและเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

สิ่งของและเครื่องใช้ที่แนะนำสำหรับมารดาให้นมบุตร

 

00024-5-1-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในมารดาหลังคลอดใหม่ในการให้นมบุตรบางครั้งอาจจำเป็นต้องมีสิ่งของและเครื่องใช้หลายอย่าง ซึ่งหากมีการเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อมตั้งแต่ในระยะใกล้คลอด จะทำให้มารดาสามารถให้นมบุตรได้อย่างสะดวกและมีความสุข โดยสิ่งของและเครื่องใช้ที่แนะนำ ได้แก่

? ? ? ? ? -เสื้อชั้นในสำหรับให้นมบุตรที่เหมาะพอดี

? ? ? ? ? -แผ่นรองสำหรับใส่ในเสื้อชั้นในเพื่อซับน้ำนมที่ไหล

? ? ? ? ? -ครีมลาโนลิน (lanolin)

? ? ? ? ? -เลือกสถานที่ที่เหมาะสมในบ้านที่จะให้นมบุตร โดยอาจเลือกที่ที่สงบและอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกของบ้าน

? ? ? ? ? -เก้าอี้ที่ใหญ่และสะดวกในการให้นมบุตร อาจจะเป็นโซฟา เก้าอี้โยก หรือเก้าอี้ที่มีที่วางหรือที่เหยียดขา

? ? ? ? ? ?-ที่วางขาสำหรับวางขายืดหรือเหยียดขาเพื่อความสบายในการให้นมบุตร

? ? ? ? ? ?-โต๊ะที่วางด้านข้างสำหรับวางของใช้ต่างๆ ไว้ใกล้กับเก้าอี้ที่ให้นมบุตร

? ? ? ? ? ?-หมอนรองที่สำหรับให้นมบุตรที่อาจเป็นลักษณะของหมอนที่โค้งโอบเข้าลำตัว เพื่อช่วยรองรับการวางทารก รองรับการวางแขน หรือเต้านม

? ? ? ? ? ?-ขวดใส่น้ำสำหรับมารดาดื่มขณะกระหายน้ำ

? ? ? ? ? ?-อาหารว่างหรืออาหารเพื่อสุขภาพสำหรับมารดาเวลาหิว เนื่องจากมารดาขณะให้นมบุตรความต้องการพลังงานที่ใช้ต่อวันสูงขึ้น

? ? ? ? ? ?-หากมารดาจะบีบน้ำนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อการเก็บน้ำนม ควรมีรูปทารกวางอยู่เพื่อมารดาใช้ดูซึ่งจะช่วยกระตุ้นออกซิโตซินหรือกลไกน้ำนมพุ่งได้ สำหรับมารดาที่ใช้เครื่องปั๊มนมอาจใช้ชุดชั้นในชนิดที่สามารถประคองหัวปั๊มนมได้ มารดาจะสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยขณะทำการปั๊มนม การเตรียมนิตยสารหรือหนังสือที่มารดาชอบอ่านก็จะช่วยให้มารดาได้ผ่านคลายด้วยขณะปั๊มนมบุตร

? ? ? ? ? ?-หากมารดามีลูกคนก่อน อาจจัดให้เวลาลูกคนก่อนมีส่วนร่วมในการให้นมบุตร โดยอาจให้สามีหรือลูกคนก่อนช่วยหยีบของใช้ที่จำเป็นหรือช่วยในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกคนใหม่และคนในครอบครัว

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

การเตรียมการสำหรับการให้นมแม่ในสัปดาห์แรกที่บ้าน

S__38207874

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? หลังคลอดเมื่อมารดาได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ควรมีการเตรียมการสำหรับการให้นมแม่ในสัปดาห์แรก แน่นอนมารดาจำเป็นต้องมีการปรับตัวกับสมาชิกคนใหม่ในบ้านที่จะมาพร้อมกับภาระหน้าที่ของมารดาที่จำเป็นต้องให้นมแม่บ่อยวันละ 8-12 ครั้ง ต้องดูแลการขับถ่ายของทารก พร้อมกับปลอบประโลมเมื่อทารกร้องไห้ และมารดาบางคนอาจต้องมีหน้าที่ของภรรยาหรือแม่บ้านในการดูแลบ้าน ทำความสะอาด และการจัดเตรียมอาหารสำหรับสมาชิกในครอบครัว ซึ่งนับเป็นภาระที่มากที่อาจสร้างความเครียดและความวิตกกังวลให้กับมารดา ซึ่งจะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีข้อแนะนำสำหรับการเตรียมการในการให้นมแม่ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ดังนี้

? ? ? ? ควรมีการวางแผนการสำหรับการให้นมลูกในสัปดาห์แรก โดยมีการพูดคุยกับสามีและสมาชิกในครอบครัวเพื่อสร้างความเข้าใจว่า จำเป็นต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบบางอย่างให้กับสมาชิกในครอบครัวช่วยจัดการ เช่น

? ? ? ? -การดูแลเรื่องความสะอาด การซักรีดเสื้อผ้า สามีจะเป็นผู้ดูแลหรือจัดจ้างแม่บ้าน หรือจ้างร้านซักรีด

? ? ? ? -การจัดเตรียมอาหาร แนะนำให้ซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปมาเพื่อลดเวลาในการจัดเตรียม

? ? ? ? -การแจ้งให้ผู้ที่ต้องมาการเยี่ยมทราบว่า จะดีกว่า หากให้มารดาและครอบครัวได้ปรับตัวที่บ้านในสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด และหากเป็นไปได้ แนะนำให้ การมาเยี่ยมทารกควรทำช่วงหลังคลอดประมาณ 1 เดือน เมื่อมารดาและครอบครัวปรับตัวกับสมาชิกคนใหม่ได้ดีแล้ว โดยช่วงนี้ อาจสื่อสารกับญาติ หรือเพื่อนสนิทผ่านโซเชียลมีเดีย ได้แก่ เฟสบุ๊คหรือไลน์ ไปก่อนในช่วงที่มารดาไม่เหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียจนเกินไป

? ? ? ? สำหรับมารดา การให้นมลูกแนะนำให้ให้ทุก 2-3 ชั่วโมง และเมื่อทารกหลับ มารดาควรงีบหลับไปด้วย เพื่อให้ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอและไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป ควรมีการจัดเตรียมเตียงนอนสำหรับมารดาที่ให้อยู่ใกล้กับทารกตลอด เพื่อให้สังเกตอาการหิวของทารกและให้นมได้สะดวก ควรมีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับดูแลการขับถ่ายทารกไว้ใกล้ๆ พร้อมกับมีโทรศัพท์อยู่ในบริเวณที่สะดวกในการติดต่อ หากมารดาต้องการความช่วยเหลือ

? ? ? ? ?หลังจากผ่านไประยะหนึ่ง เมื่อมารดา ทารก และสมาชิกในครอบครัว เริ่มมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และปรับตัวช่วยในบทบาทต่างๆ ที่เปลี่ยนไปได้แล้ว ครอบครัวก็จะได้พบกับความสุขในการมีสมาชิกใหม่ คนที่ได้รับการเอาใจใส่ และมีสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เท่าที่ต้องการ เนื่องจากสัปดาห์แรกหลังคลอดเป็นเสมือนสัปดาห์ทองในการเริ่มต้นที่ดีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกแรกเกิดมีอาการอย่างไรต้องรีบไปพบแพทย์

IMG_1032

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?มารดาบางคนโดยเฉพาะมารดามือใหม่อาจสงสัยว่า ทารกแรกเกิดต้องมีอาการอย่างไรจึงต้องรีบไปพบแพทย์ อาการที่แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยฉุกเฉิน ได้แก่

? ? ? ? -ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวไม่ถ่ายอุจจาระเลยตลอดวัน

? ? ? ? -ทารกยังถ่ายเป็นขี้เทา (ลักษณะเป็นสีเขียวเข้ม) เกินวันที่ห้าหลังคลอด

? ? ? ? -ทารกไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง

? ? ? ? -ทารกไม่กินนมเลยเกิน 6 ชั่วโมง

? ? ? ? -ทารกปัสสาวะเป็นสีดำ

? ? ? ? -ทารกปัสสาวะเป็นตะกอน

? ? ? ? -สังเกตเห็นกระหม่อมทารกบุ๋มลึกลงไป

? ? ? ?-ทารกซึม ง่วงตลอด นอนไม่ค่อยขยับตัว

? ? ? ?-ทารกกระสับกระส่ายตลอด

? ? ? ?-ทารกกินนมได้ไม่ดี

? ? ? ? -ทารกมีไข้

? ? ? ? -ทารกมีการอ่อนเปลี้ยของกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อเกร็งตัวผิดปกติ

? ? ? ? -ทารกขาดการสนใจที่จะกินนมเฉียบพลัน

? ? ? ? ?-ทารกปลุกไม่ยอมตื่นหรือตื่นยาก

? ? ? ? ?-ทารกไม่ยอมหยุดร้องไห้หรือสงบแม้ว่าจะไกวเปลช่วยกล่อม

? ? ? ? ?-ทารกมีอาการเขียว (สังเกตจากบริเวณรอบปาก) เมื่อร้องไห้

? ? ? ? ? ? ?ฉะนั้น อย่างละเลยอาการเหล่านี้หากมารดาสังเกตเห็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.