คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ดูดนมจากเต้าทำได้หรือไม่

cleft lip cleft palate1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่ปากแหว่ง เพดานโหว่ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตในส่วนโครงสร้างของใบหน้า ทำให้เกิดการไม่เชื่อมต่อกันของผิวหนัง เนื้อเยื่อ และกระดูกบริเวณปาก และเพดานในปากด้านบน โดยทั่วไปจะพบความผิดปกติของทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียวร้อยละ 20 ทารกที่มีเพดาโหว่อย่างเดียวร้อยละ 30 และทารกที่มีปากแหว่งและเพดาโหว่ร้อยละ 50

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียว หากสามารถประกบปากเข้ากับเต้านม และส่วนของเนื้อเต้านมแนบสนิทกับปากทารก ทารกจะสามารถสร้างแรงดูดนม และสามารถดูดนมจากเต้าได้ แต่ในทารกที่มีเพดานโหว่ การสร้างแรงดูดนมอาจทำได้ไม่ดี จำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยป้อนนมแม่ให้กับทารก โดยอาจใช้หลอดฉีดยา ช้อน หรือการป้อนด้วยถ้วย และจัดท่าให้ทารกอยู่ในลักษณะที่นั่งตัวตรง จะช่วยป้องกันการสำลักของทารกได้ การใช้แผ่นพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อปิดเพดานโหว่ (palate obturator) ก็ช่วยในการกินนมของทารก การติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่มีความจำเป็น เนื่องจากทารกอาจดูดนมได้น้อยและอาจต้องการการป้อนนมเสริม ในทารกเหล่านี้ มารดาจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วย

? ? ? ? ? ?สำหรับการผ่าตัดแก้ไข ส่วนใหญ่จะทำเมื่อทารกอายุ 1-2 ปี ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่อง การอักเสบของหู การได้ยิน การเจริญเติบโตของฟันที่ผิดปกติ และความล่าช้าในการออกเสียงหรือการใช้ภาษา ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของนมแม่ มารดาจะตั้งใจและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

ทารกกินนมแม่บ่อยมาก ผิดปกติไหม

S__38207879

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปกติหลังคลอด ทารกจะกินนมแม่วันละ 8-12 ครั้ง หากน้อยกว่า 8 ครั้งถือว่า ทารกอาจมีการกินนมแม่ที่น้อยเกินไป ต้องตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารกหรือการเจริญเติบโตของทารกว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ แต่หากทารกกินนมแม่บ่อยกว่าวันละ 12 ครั้ง จะถือว่ากินนมแม่บ่อยมาก สาเหตุอาจเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสมทำให้การดูดนมไม่มีประสิทธิภาพ ทารกจะหิวบ่อย หรืออาจเกิดจากการที่ทารกง่วงหลับระหว่างการกินนม ซึ่งทำให้ทารกกินนมได้น้อยและต้องกินนมบ่อยๆ ดังนั้น ในการดูแลเบื้องต้น ควรสังเกตการณ์ให้นมแม่ของมารดา ปรับเปลี่ยนการเข้าเต้าหรือท่าให้เหมาะสม และหากทารกง่วงหลับระหว่างการให้นม อาจจำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ทารกดูดนม โดยการกระตุ้นทารกที่มุมปากหรือบีบนวดเต้านม ทำให้น้ำนมไหลมากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นการดูดนมของทารกได้ หรืออาจจะเปิดผ้าที่ห่อทารกกระตุ้นที่หน้าอกและหลังทารกเพื่อปลุกทารก ทารกจะตื่นและดูดนมได้ดีขึ้น แต่หากหลังจากการดูแลเบื้องต้นแล้ว ทารกเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างเหมาะสม และทารกมีน้ำหนักขึ้นหรือการเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ อาจเกิดจากทารกอยู่ในช่วงที่เรียกว่า ?ทารกยืดตัว (growth spurt)? ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 10 วัน 3 สัปดาห์ 6 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ทารกในช่วงนี้จะกินนมบ่อย อาจจะทุกชั่วโมง การดูแลมารดาอาจเพียงให้ความมั่นใจหรืออธิบายให้มารดาเข้าใจ รู้สึกสบายใจ และไม่ต้องวิตกกังวล ร่วมกับมีการติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและการเจริญเติบโตของทารกเพื่อยืนยันการวินิจฉัย จะเห็นว่า การที่ทารกกินนมบ่อยมากอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติในการกินนมหรือเป็นเรื่องปกติที่ทารกกำลังจะยืดตัว ความรู้และความเข้าใจของมารดาจะทำให้มารดาปฏิบัติตัวและดูแลทารกได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ข้อแนะนำสามีในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38207874

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หลังการคลอด มารดาจะต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นสิ่งใหม่โดยเฉพาะในมารดาครรภ์แรก การปรับตัวกับความเหนื่อยล้า การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความวิตกกังวลให้แก่มารดาได้ สามีผู้ซึ่งมีความใกล้ชิด เข้าใจ และรู้ใจมารดาจะมีส่วนช่วยให้มารดาผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยดีและน่าจดจำ โดยมีข้อแนะนำสำหรับสามี ดังนี้

? ? ? ? ?-เป็นส่วนหนึ่งของทีมเสมอ เพราะสามีซึ่งเป็นพ่อของลูกจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตลอดเวลา

? ? ? ? -โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ แม้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่มารดาต้องทำ? แต่สำหรับพ่อของลูกการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อช่วยให้ทารกหลับได้ดี สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก ซึ่งมากกว่าการดูแลเปลี่ยนผ้าอ้อมเวลาทารกขับถ่ายเพียงอย่างเดียว ซึ่งพ่อที่สามารถให้การดูแลลูกได้ จะเกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจที่จะช่วยมารดาในการให้ลูกกินนมแม่

? ? ? ? -ดูแลมารดาด้วยความอ่อนโยน ความอ่อนโยนและอบอุ่นที่มารดาได้รับจะส่งผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ?-ควรลืมเกี่ยวกับงานอื่นๆ ไปก่อน สนใจ ใส่ใจกับแม่ ลูก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มาก

? ? ? -ช่วยดูแลทารกระหว่างที่มารดางีบหลับ พักผ่อน หากมารดาเหนื่อยหรือเมื่อยล้า

? ? ? ? จะเห็นว่า บทบาทของสามีมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างอบอุ่น หากสามีถูกกันออกจากทีม หรือถูกบ่นด่าในการมีส่วนร่วม ความมีส่วนร่วมหรือทีมจะหายไป มีการศึกษาพบอาการซึมเศร้าที่พบในพ่อของลูกได้หลังคลอดร้อยละ 11 ดังนั้น มารดาควรหลีกเลี่ยงที่จะวิจารณ์ความช่วยเหลือของสามีในการช่วยดูแลลูก เห็นความสำคัญหรือความใส่ใจหรือความเอาใจใส่ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม การพูดจาด้วยคำชมเชยหากพ่อปฏิบัติได้ดี และเสนอแนะบ้างในกรณีที่สามีต้องการคำแนะนำช่วยในการดูแลทารก จะทำให้ความราบรื่นในการต้อนรับสมาชิกคนใหม่เป็นไปได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ปั๊มนมจากเต้าอย่างเดียวดีไหม

electric expression x1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ปัจจุบัน การปั๊มนมและนำนมที่ปั๊มได้มาป้อนจากถ้วยหรือใส่ขวดมีมากขึ้น จึงเกิดคำถามว่า การปั๊มนมจากเต้าอย่างเดียวแล้วให้แก่ทารกได้หรือไม่ และดีไหม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยให้ทารกดูดนมจากเต้าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทารกจะดูดนมจากเต้าได้เกลี้ยงกว่าและกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีกว่า นอกจากนี้ ขณะที่ทารกดูดนม มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ ตาสบตา และมารดาได้พูดคุยกับทารกจะกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาทการรับรู้ต่างๆ ของทารกได้ดีขึ้น การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมือนั้นจำเป็นในกรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ โดยอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนดหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ นอกจากนี้ การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมืออาจช่วยในกรณีที่มารดาจำเป็นต้องแยกจากทารกหรือกรณีที่มารดาต้องทำงานนอกบ้าน การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมือเก็บไว้ให้ทารกระหว่างที่มารดาไม่อยู่ อย่างน้อยทารกก็ยังได้ประโยชน์จากการกินนมแม่ ดังนั้น การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมือ หากใช้อย่างเหมาะสมก็จะเป็นเครื่องมือช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนแรกประสบความสำเร็จได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed.The American Academy of Pediatrics 2016.

 

เต้านมคัดประคบร้อนหรือประคบเย็นดี

S__38207894

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เต้านมคัด โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในระยะแรกหลังคลอด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ลดลงในระยะหลังคลอด ทำให้มีเลือดและน้ำเหลืองมาคั่งบริเวณเต้านม ร่วมกับในระยะนี้น้ำนมจะยังไม่ไหลดี ทำให้เกิดอาการคัด เจ็บ เต้านมจะอุ่น ตึง และในมารดาบางคนอาจมีไข้ได้ แต่อาการไข้มักไม่สูงมาก และจะลดลงใน 24 ชั่วโมงเมื่ออาการตึงคัดลดลง ในการบรรเทาอาการตึงคัดเต้านม การประคบร้อนจะช่วยการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนออกจากเต้านมได้ดี ทำให้ลดอาการตึงคัดได้ นอกจากนี้ยังทำให้การไหลของน้ำนมดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลดอาการตึงคัดเต้านมได้อีกทางหนึ่ง การประคบร้อน อาจทำได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้ลูกประคบสมุนไพรวางประคบบริเวณเต้านมก็ได้ สำหรับการประคบเย็น หลักการคือการช่วยลดอาการปวดเต้านมและความเย็นจะทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงที่เต้านมหดตัว ทำให้อาการตึงคัดไม่เพิ่มขึ้น การประคบเย็นอาจทำโดยการใช้แผ่นเจลที่ใช้ลดไข้ หรือใบกะหล่ำปลีแช่เย็น เพื่อประคบเต้านม อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีอาการปวด ตึง คัดเต้านมมาก การใช้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบร่วมด้วย จะช่วยบรรเทาอาการให้มารดารู้สึกสบายตัวขึ้นได้

? ? ? ? ? ? ?สรุปว่า เต้านมคัด ทั้งการประคบร้อนและประคบเย็นสามารถช่วยบรรเทาอาการเต้านมคัดได้ โดยหากต้องการเน้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น ควรประคบร้อน แต่หากมารดาทรมานมากจากการปวดตึงคัด การประคบเย็นมารดาจะรู้สึกสบายตัวได้เร็วกว่า ดังนั้น หากเลือกใช้การประคบร้อนและเย็นให้เหมาะสมกับอาการที่เป็นปัญหาของมารดาในแต่ละคน จะทำให้มารดามีความสุขที่จะนมลูกโดยไม่ต้องทรมานจากอาการตึงคัดเต้านม

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.