คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ข้อควรรู้ในการให้ยาระงับความรู้สึกในมารดาที่ให้นมลูก

IMG_0797

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดและต้องให้ยาระงับความรู้สึก มีข้อควรรู้สำหรับการให้ยาระงับความรู้สึกในมารดาที่ให้นมลูก ดังนี้

? ? ? ? ? –การแจ้งให้วิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลทราบว่า ขณะนี้มารดาให้นมบุตรอยู่เป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบ และวางแผนที่จะเลือกวิธีและยาระงับความรู้สึกให้มารดาอย่างเหมาะสม ร่วมกับการขอคำแนะนำว่า มารดาสามารถจะเริ่มให้นมแม่ได้เมื่อไร และสิ่งใดเป็นข้อควรระวังในการให้นมแม่หลังการให้ยาระงับความรู้สึก

? ? ? ? ?-หากเลือกได้ ควรให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่มากกว่าการให้ยาดมสลบ

? ? ? ? ? -มารดาที่จำเป็นต้องดมยาสลบ แก๊สที่ใช้ในระหว่างการดมยาสลบจะผ่านเข้ากระแสเลือดในช่วงสั้นๆ ดังนั้นจะมีปริมาณต่ำในน้ำนม มารดาจึงสามารถให้นมลูกได้อย่างปลอดภัยหลังการผ่าตัดเมื่อมารดาฟื้นตัวดี

? ? ? ? ? -การแยกมารดาและทารก อาจไม่จำเป็นต้องแยกจากกันนาน โดยหลังผ่าตัด หากมารดารู้สึกตัวดี มารดาสามารถให้นมลูกได้ในทารกปกติ แต่มีข้อควรระมัดระวังในกรณีที่มีความเสี่ยงในการหยุดหายใจ หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือทารกคลอดก่อนกำหนด

? ? ? ? ?ในกรณีที่มารดาได้รับยาร่วมกันหลายอย่างระหว่างการดมสลบ อาจมีความวิตกว่ายาอาจจะผ่านน้ำนมไปที่ทารก การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกเพียงครั้งเดียว ส่วนใหญ่จะกำจัดยาที่มารดาได้รับระหว่างดมยาสลบได้ เนื่องจากวิสัญญีแพทย์มักเลือกยาที่ออกฤทธิ์สั้น ดังนั้น มารดาควรสามารถคลายความวิตกกังวลเรื่องยาที่ทารกอาจได้รับจากน้ำนมของมารดาที่ได้รับยาดมสลบและให้นมแม่ได้อย่างมั่นใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

ปัญหาน้ำนมน้อยหลังหกเดือน ดูแลอย่างไร

hand expression x2-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หากมารดาสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกได้ นั่นเป็นสิ่งที่แสดงว่าน้ำนมของมารดามีเพียงพอ แล้วทำไมจึงเกิดปัญหาน้ำนมน้อยหลังหกเดือน ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดจากการเริ่มให้อาหารตามวัยขณะเดียวกันกับมารดายังปรับตัวไม่ทัน โดยรายละเอียดของปัญหาอาจเกิดจาก

? ? ? ? ? -มารดาให้ลูกกินนมบ่อยน้อยลง

? ? ? ? ?-มารดาเริ่มอาหารที่เป็นของแข็งเร็วเกินไป ซึ่งการย่อยของทารกอาจยังไม่ได้ปรับทำให้ย่อยยาก อิ่มนาน ไม่ค่อยอยากอาหาร การค่อยๆ เริ่มชนิดของอาหารจากอาหารเหลว ไปอาหารกึ่งแข็ง แล้วค่อยปรับเป็นอาหารแข็งจะทำให้ทารกปรับตัวได้ดีกว่า และไม่รบกวนการอยากอาหารของทารก

? ? ? ? ?-มารดาที่มักใช้การปั๊มนมมากกว่าการให้ลูกดูดนมจากเต้า การปั๊มนมจะกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้น้อยกว่าการให้ลูกดูดนมจากเต้า

? ? ? ? ?-การที่มารดาเริ่มมีประจำเดือนมาหรือเริ่มมีการตกไข่ จะมีผลทำให้น้ำนมลดลงชั่วคราวได้

? ? ? ? -การที่มารดากินยาคุมกำเนิดหรือตั้งครรภ์ใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและมีผลต่อน้ำนมได้

? ? ? ? ?สำหรับการแก้ไข เริ่มจากสร้างความมั่นใจให้กับมารดาก่อนเป็นอันดับแรกว่า ?นมแม่มีพอ? การปั๊มนมแล้วตัดสินจากปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้อย่างเดียวอาจใช้ในการประเมินความเพียงพอของน้ำนมไม่ได้ เนื่องจากการปั๊มนมจะได้ปริมาณน้อยกว่าการที่ทารกดูดนมจากเต้า ปรับการค่อยๆ เริ่มอาหารตามวัยให้เหมาะสม และปรับการให้นมระหว่างกลางวันกับกลางคืนให้พอเหมาะ โดยพยายามให้มีช่วงที่ทารกได้ดูดนมจากเต้าให้มากที่สุด ร่วมกับการให้มารดาลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่จำกัดหรือเข้มงวดในการลดอาหารหรือลดน้ำหนักจนเกินไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

 

นมแม่มีน้อย สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง

S__46162116

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?โดยทั่วไป มารดาส่วนใหญ่จะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก หากได้รับการกระตุ้นและดูแลอย่างเหมาะสม แต่มารดาที่มีความเชื่อว่าน้ำนมตนเองมีน้อยหรือมีไม่พอ พบได้บ่อยและมีผลต่อการเสริมนมผสมหรืออาหารเสริมต่างๆ ทำให้ทารกได้ประโยชน์จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวลดลง อย่างไรก็ตามมีภาวะหรือโรคบางโรคที่ส่งผลทำให้น้ำนมมีน้อย ได้แก่

? ? ? ? ? -มารดาที่พบเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ โดยระดับอินซูลินที่สูงจะทำให้การสร้างน้ำนมมีน้อย

? ? ? ? ? -มารดาที่อ้วน มารดาที่มีน้ำหนักมากก่อนการตั้งครรภ์จะทำให้การสร้างน้ำนมช้า และมีปริมาณที่น้อยได้

? ? ? ? ? -มารดาที่มีน้ำหนักขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์น้อยจนเกินไป

? ? ? ? ?-มารดาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมเลยระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีภาวการณ์เจริญเติบโตของต่อมน้ำนมที่ผิดปกติ (glandular insufficiency)

? ? ? ? ?-มารดาที่มีโรคไทรอยด์ โดยฮอร์โมนของไทรอยด์ที่ผิดปกติจะไปรบกวนการสร้างน้ำนม

? ? ? ? ?-มารดาที่มีภาวะมีบุตรยากหรือมีภาวะที่รังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก (polycystic ovarian syndrome)

? ? ? ? -มารดาที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังทางอายุกรรมอื่นๆ

? ? ? ? ?ดังนั้น ในมารดาเหล่านี้ บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจและควรมีการติดตามให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มารดากลุ่มนี้สามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การสักหรือการเจาะหัวนมมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

368231_9144185_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน แฟชั่นการแต่งตัว มีความหลากหลายมากรวมถึงรสนิยมในการสัก หรือการเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย?? ได้แก่ การเจาะหูหลายรู การระเบิดติ่งหู การเจาะจมูก เจาะปาก เจาะลิ้น เจาะสะดือและการเจาะหัวนม ซึ่งรายละเอียดของผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีดังนี้

? ? ? ? ? ?การสัก จะมีการฝังสีลงใต้ผิวหนัง เม็ดสีมีขนาดใหญ่ ไม่ได้ผ่านทางน้ำนม ดังนั้น มีความปลอดภัยในการให้นมลูก อย่างไรก็ตาม ต้องดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ในการสักให้ดีและเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อบาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการติดเชื้อเอชไอวี

? ? ? ? ? ?การเจาะใส่ห่วงตามที่ต่างๆ ของร่างกาย หากดูแลความสะอาดของเครื่องมือได้ดี ไม่มีผลเสียในระหว่างการให้นมลูก ยกเว้น การเจาะหัวนม เนื่องจากจะมีแผลที่หัวนม ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้ออักเสบของหัวนมและเต้านม การเจาะหัวนม หากต้องการทำควรทำก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งจะใช้เวลาราว 6-10 เดือนเพื่อให้แผลหายได้ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนก่อนที่จะให้นมลูก นอกจากนี้ ระหว่างการให้นม ควรถอดห่วงหรือหมุดที่เจาะออก เพื่อป้องกันการสำลักนมของทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

มารดาที่ให้นมลูกเสริมสวยได้หรือไม่

 

g46

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สตรีโดยทั่วไปจะรักสวยรักงาม ดังนั้น อาจมีคำถามที่อยากรู้ว่า ในช่วงหลังคลอด ขณะมารดาให้นมบุตรจะเสริมสวยได้หรือไม่ เนื่องจากมีกิจกรรมหลายอย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวันในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ได้แก่ การย้อมสีผม การทำเล็บ การฉีดโบท็อกซ์ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย หรือการนอนที่ตู้ที่ปรับผิวให้สีแทนในคนที่นิยมผิวสีแทน รายละเอียดของแต่ละกิจกรรม มีข้อแนะนำดังนี้

? ? ? ? ? ? การย้อมสีผม จะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนัง เข้าไปในกระแสเลือด และผ่านน้ำนมได้ แต่มีปริมาณเล็กน้อย มารดาสามารถย้อมสีผมในระหว่างช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ควรระมัดระวังสารระเหยที่เป็นตัวทำละลายสี หากขณะหมักหรือย้อมสีผมใช้เวลานาน มารดาอาจสูดดมสารที่เป็นตัวทำละลายสีจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้น ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? ?การทาเล็บ ในยาทาเล็บจะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ แต่มีปริมาณน้อย มารดายังสามารถทาเล็บได้ในช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ต้องระวังสารระเหยจะยาทาเล็บ ในมารดาที่ต้องทำงานอยู่ในร้านเสริมสวย และต้องทาเล็บให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ควรจัดสถานที่ในร้านให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? การฉีดโบท็อกซ์ สารโบท็อกซ์เป็นสารโมเลกุลใหญ่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกล้ามเนื้อที่ฉีดเข้าไป ไม่ควรจะผ่านไปที่น้ำนม อย่างไรก็ตาม ควรเว้นการให้นมบุตร 4-6 ชั่วโมงหลังจากการฉีดโบท็อกซ์

? ? ? ? ? ?การลดน้ำหนัก ในสตรีที่ให้นมบุตรจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ ดังนั้น หากมารดาเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม น้ำหนักมารดาจะกลับสู่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ได้ดี ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองจะเป็นส่วนช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักด้วยอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกินยาเพื่อลดน้ำหนักระหว่างการให้นมบุตร

? ? ? ? ? การออกกำลังกาย มารดาระหว่างการให้นมบุตรสามารถออกกำลังกายได้ แต่หากออกกำลังกายหนักมากจนร่างกายล้า ร่างกายจะผลิตกรดแลคติกเพิ่มขึ้น อาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป ไม่มีผลเสียต่อทารก แต่หากทารกปฏิเสธการกินนม อาจใช้นมที่บีบเก็บไว้ก่อนการออกกำลังกายมาให้ทารกได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายในขนาดที่เหมาะสม มารดาจะไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป จิตใจแจ่มใส และมีเรี่ยวแรงในการเอาใจใส่ดูแลบุตร

? ? ? ? สำหรับการนอนในตู้ที่ปรับสีผิวให้เป็นสีแทน สามารถทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงในบริเวณเต้านมและหัวนม เนื่องจากอาจทำให้ผิวแห้ง แสบ ไหม้ และเจ็บขณะให้นมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.