รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การให้ความรู้ความเข้าใจกับสตรีตั้งครรภ์ สามี และคนในครอบครัวที่จะช่วยดูแลมารดาและทารกถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรมีการปฏิบัติในตั้งแต่ในระยะของการฝากครรภ์ ซึ่งในไตรมาสแรกบุคลากรทางการแพทย์ควร1
??????????????? -แนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จากนั้นเริ่มอาหารตามวัยควบคู่กับการให้นมแม่ต่อจนครบ 2 ปีหรือนานกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก มีการศึกษาว่าการแนะนำนี้แม้เพียงอย่างเดียวก็ยังมีผลในการช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้
??????????????? -แนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่สตรีตั้งครรภ์ สามี และคนในครอบครัวที่จะดูแลมารดาและทารก
??????????????? -ให้คำปรึกษาถึงปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ความไม่มั่นใจ การเขินอาย ข้อจำกัดในด้านเวลาหรือสภาวะทางสังคม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องอาหารและสุขภาพ การขาดการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลทารก และความกลัวเรื่องความเจ็บปวด การให้คำปรึกษานี้จะช่วยได้มากในมารดากลุ่มที่มีความเสี่ยงในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม ได้แก่ มารดาวัยรุ่นและมารดาที่มีภาวะอ้วน
เอกสารอ้างอิง
Rosen-Carole C, Hartman S. ABM Clinical Protocol #19: Breastfeeding Promotion in the Prenatal Setting, Revision 2015. Breastfeed Med 2015;10:451-7.
? ???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? สเต็มเซลล์ (stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดซึ่งปัจจุบันมีการให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการนำมารักษาโรคต่างๆ เนื่องจากสเต็มเซลล์จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงและสามารถซ่อมแซมเซลล์ที่มีการบาดเจ็บหรือถูกทำลายของอวัยวะต่างๆ ที่หลากหลายได้ อย่างไรก็ตาม การหาแหล่งที่จะเก็บสเต็มเซลล์ให้ได้ปริมาณมากเพียงพอที่จะใช้ในการรักษายังมีข้อจำกัด
? ? ? ? ? ? สเต็มเซลล์ในนมแม่จะมีการหลั่งสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ (growth factor) ได้แก่ ? vascular endothelial growth factor และ hepatocyte growth factor ซึ่งจะช่วยกระตุ้นสาร surfactant ในปอดทารก ทำให้ปอดทารกทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และยังช่วยทารกให้มีพัฒนาการสมบูรณ์ด้วย มีการศึกษาพบว่า สเต็มเซลล์ที่เลี้ยงโดยมีน้ำนมแม่จะมีการสร้างสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซล์ได้มากกว่าสเต็มเซลล์ที่เลี้ยงในหลอดทดลองที่ไม่มีนมแม่1 ซึ่งการค้นพบนี้ อาจจะนำไปสู่การสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์หรือสเต็มเซลล์ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้โดยใช้ปัจจัยเรื่องนมแม่เป็นบทบาทที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์
เอกสารอ้างอิง
Kaingade PM, Somasundaram I, Nikam AB, Sarang SA, Patel JS. Assessment of Growth Factors Secreted by Human Breastmilk Mesenchymal Stem Cells. Breastfeed Med 2016;11:26-31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ในการดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นบทบาทส่วนที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ อุปสรรคที่พบในการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์1 ,2 ได้แก่ การขาดทักษะและมีเวลาน้อยที่ให้กับการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงเหตุผลในการหยุดการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า จากการที่บุคลากรมีเวลาน้อย ขาดทักษะ และให้ข้อมูลได้น้อยนำไปสู่ความไม่มั่นใจว่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและติดตามดูแลมารดาและบุตรได้ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่3 เมื่อไม่มีความมั่นใจก็อาจจะวนไปสู่วงจรของการไม่ให้เวลา หรือให้ข้อมูลน้อย ดังนั้น การสร้างทักษะและความมั่นใจในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างผู้นำที่ควรจะมีบทบาทนำในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
Taveras EM, Li R, Grummer-Strawn L, et al. Opinions and practices of clinicians associated with continuation of exclusive breastfeeding. Pediatrics 2004;113:e283-90.
Schanler RJ, O’Connor KG, Lawrence RA. Pediatricians’ practices and attitudes regarding breastfeeding promotion. Pediatrics 1999;103:E35.
Garner CD, Ratcliff SL, Thornburg LL, Wethington E, Howard CR, Rasmussen KM. Discontinuity of Breastfeeding Care: “There’s No Captain of the Ship”. Breastfeed Med 2016;11:32-9.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ความเร่งรีบของชีวิตในเมือง สามีและภรรยาต้องทำงานด้วยกันทั้งคู่ บางครั้งอาจส่งผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรได้ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาโดยให้พ่อมาเข้าอบรมหลักสูตรเพื่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สัปดาห์ละหนึ่งครั้งต่อเนื่องกันสามสัปดาห์ พบว่า การที่พ่อของลูกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประโยชน์ และกระบวนการที่จะช่วยมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลดีต่อความตั้งใจในการที่จะสนับสนุนมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ต่อไป1 โดยพ่อที่อบรมในสัปดาห์ที่หนึ่งถึงสามตั้งใจจะให้ลูกคนต่อไปกินนมแม่ร้อยละ 80-89 ดังนั้น จะเห็นว่า แม้ในสังคมเมืองที่มีชีวิตที่ยุ่งยาก ประโยชน์ของความรู้ความเข้าใจเรื่องนมแม่ของพ่อซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัวอาจช่วยสร้างความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่มารดาได้
เอกสารอ้างอิง
Furman L, Killpack S, Matthews L, Davis V, O’Riordan MA. Engaging Inner-City Fathers in Breastfeeding Support. Breastfeed Med 2016;11:15-20.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ปัจจุบัน การแต่งงานของสตรีช้าลง สตรีตั้งครรภ์ในอายุที่มากขึ้น หนึ่งในโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่มักพบเมื่ออายุมากขึ้นคือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผลของโรคหรือการรักษาต่อการให้นมลูกไม่ได้มีผลเสียใดๆ แต่ควรมีการเลือกใช้ยาในระยะให้นมลูกอย่างเหมาะสม ยาที่ควรเลือกใช้ก่อน ได้แก่ ยา methydopa ยา labetalol และยา hydralazine ในกรณีที่มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์หรือมีอาการครรภ์เป็นพิษ หากจำเป็นต้องกินยาลดความดันในระยะที่ตั้งครรภ์หรือในระยะคลอด หลังคลอดราวหกสัปดาห์ส่วนใหญ่ความดันโลหิตของมารดาจะกลับคืนสู่ค่าปกติ ซึ่งจะหยุดยาลดความดันโลหิตสูงได้ อย่างไรก็ตามในมารดาเหล่านี้จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคของหลอดเลือดและหัวใจได้ในอนาคต ดังนั้น การแจ้งให้มารดาทราบและติดตามมารดาในระยะยาวถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จะทำให้การวินิจฉัยและรักษาทำได้อย่างเหมาะและตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)