คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

โรคอ้วน โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ช่วยป้องกันได้

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่จะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อในลำไส้ และช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อลง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่กับความสัมพันธ์ของโรคอ้วน โดยที่ปริมาณโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ที่มากจะสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกและสัดส่วนของไขมันที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายที่น้อยกว่า1 ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นกลไกอีกกลไกหนึ่งที่ควบคุมและลดโรคอ้วนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น นอกเหนือจากการที่ทารกฝึกการควบคุมการกินแม่ตามความต้องการที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Alderete TL, Autran C, Brekke BE, et al. Associations between human milk oligosaccharides and infant body composition in the first 6 mo of life. Am J Clin Nutr 2015;102:1381-8.

โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย

S__45850803

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โอลิโกแซคคาไรด์เป็นสารประกอบคาร์บอไฮเดรตที่มีอยู่ในนมแม่ ซึ่งในนมผงดัดแปลงสำหรับทารกพยายามจะเสริมสารอาหารต่างๆ รวมทั้งโอลิโกแซคคาไรด์ลงไปในนมผงเพื่อสร้างความแตกต่างและชูจุดขายในชนิดและยี่ห้อนมที่เสริมสารเหล่านี้ แต่โอลิโกแซคคาไรด์ที่มีในนมแม่นั้นมีความจำเพาะและมีความสามารถในการต่อต้านการติดเชื้อโรต้าไวรัส1ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียในทารกโดยหากมีการติดเชื้อและอาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่นั้นนอกจากจะห้ามการเจริญเติบโตของไวรัสแล้วยังลดระยะเวลาการติดเชื้อของไวรัสลง2 ทำให้ความรุนแรงของอาการท้องเสียลดลง นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อธิบายเหตุผลว่าทำไมทารกที่กินนมแม่จึงมีภูมิคุ้นกันต่อต้านการติดเชื้อในลำไส้รวมถึงอาการท้องเสียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญในการเสียชีวิตของทารกในระยะแรกของชีวิตได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Hester SN, Chen X, Li M, et al. Human milk oligosaccharides inhibit rotavirus infectivity in vitro and in acutely infected piglets. Br J Nutr 2013;110:1233-42.
  2. Li M, Monaco MH, Wang M, et al. Human milk oligosaccharides shorten rotavirus-induced diarrhea and modulate piglet mucosal immunity and colonic microbiota. The ISME journal 2014;8:1609-20.

 

มารดาวัยรุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าจริงหรือ

IMG_9404

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปัญหามารดาวัยรุ่นในประเทศไทยพบได้บ่อย โดยที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบร้อยละ 14.81 แม้ว่ามารดาวัยรุ่นจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดสูงขึ้น ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความยากลำบากในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากทารกอาจจำเป็นต้องแยกจากมารดาและดูแลอยู่ที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต บุคลากรทางการแพทย์จึงต้องใส่ใจและให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดากลุ่มนี้ แต่ในกรณีที่มารดาวัยรุ่นที่คลอดครบกำหนดและไม่มีภาวะแทรกซ้อน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่ได้แตกต่างจากมารดาในกลุ่มอายุอื่นๆ เลย1,2 ความเข้าใจในเรื่องนี้ อาจทำให้การจดสรรกำลังบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapompong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
  2. Jara-Palacios MA, Cornejo AC, Pelaez GA, Verdesoto J, Galvis AA. Prevalence and determinants of exclusive breastfeeding among adolescent mothers from Quito, Ecuador: a cross-sectional study. Int Breastfeed J 2015;10:33.

 

 

เด็กที่กินนมแม่จะกินผักมากกว่า

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ?ลักษณะการรับประทานอาหารของเด็กในปัจจุบันมักเลือกรับประทาน โดยรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์สูง ขณะที่รับประทานผักในปริมาณที่น้อยหรือไม่ยอมรับประทานเลย มีการศึกษาว่า ทารกที่กินนมแม่นานมากกว่า 1 ปี เมื่ออายุ 4-7 ปีจะรับประทานผักมากกว่าทารกที่กินนมแม่น้อยกว่าถึง 2.7 เท่า1 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ลักษณะนิสัยที่รับประทานผักเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น หากต้องการให้ลูกรับประทานผัก การวางแผนให้ลูกกินนมแม่นอกจากจะประโยชน์ในการช่วยด้านนี้แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพระยะยาวและความเฉลียวฉลาดของลูกอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Soldateli B, Vigo A, Giugliani ER. Effect of Pattern and Duration of Breastfeeding on the Consumption of Fruits and Vegetables among Preschool Children. PLoS One 2016;11:e0148357.

 

ภาวะลิ้นติดกับการกินนมแม่

moderat tongue-tie1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ?ทารกที่มีภาวะลิ้นติด ได้แก่ ทารกที่มีพังผืดใต้ลิ้นยึดยาวมาที่ปลายลิ้นจนจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น ซึ่งหากความรุนแรงไม่มาก การกินนมแม่สามารถทำได้ ในกรณีที่แบ่งความรุนแรงของภาวะลิ้นติดตามเกณฑ์ของ Kotlow พบว่า ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงมีความเสี่ยงในการเข้าเต้าได้ไม่ดีมากกว่าทารกปกติ1 ซึ่งการให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วตั้งแต่เริ่มแรกหลังคลอดหรือเมื่อมารดาให้ทารกเข้าเต้าดูดนมแล้วมีอาการเจ็บหัวนม จะทำให้ลดปัญหาการหยุดให้นมก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมลงได้2

??????????????? ในประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลอุบัติการณ์ของภาวะลิ้นติด พบร้อยละ 13.4 ซึ่งพบเป็นภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงร้อยละ 7.2 ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือ MED SWU Tongue-tie Director ที่ใช้วัดความรุนแรงของภาวะลิ้นติดตามเกณฑ์ของ Kotlow นำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดทุกรายที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และใช้ช่วยในการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นด้วย ซึ่งผลลัพธ์ในการใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และช่วยให้ทารกหลังการผ่าตัดแก้ไขปัญหาลิ้นติดเข้าเต้าดูดนมได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Manipon C. Ankyloglossia and the Breastfeeding Infant: Assessment and Intervention. Adv Neonatal Care 2016;16:108-13.

 

DIAGNOSIS LABEL