คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยพัฒนาการด้านภาษาในเด็กหญิงก่อนวัยเรียน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ การพัฒนาการด้านการทำงานของกล้ามเนื้อ และความเฉลียวฉลาด แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการศึกษาที่สนับสนุนข้อมูลนี้โดยพบว่า ทารกเพศหญิงที่กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยสามเดือนที่เจริญเติบโตเข้าสู่วัยเด็กก่อนวัยเรียนจะมีพัฒนาการทางด้านการรับฟังภาษาดีกว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่โดยไม่ขึ้นกับตัวแปรของไอคิว  อายุ และดัชนีมวลกายของมารดา1 ดังนั้นนี่อาจจะเป็นข้อมูลอีกหนึ่งข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่มีต่อพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้หรือความฉลาดที่พบมากกว่าในทารกที่แม่มีโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

เอกสารอ้างอิง

1.            Guzzardi MA, Granziera F, Sanguinetti E, Ditaranto F, Muratori F, Iozzo P. Exclusive Breastfeeding Predicts Higher Hearing-Language Development in Girls of Preschool Age. Nutrients 2020;12.

ที่อยู่ที่มารดาอยู่สำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

แม้ว่าความตั้งใจ ความมุ่งมั่นและความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ยังมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมถึงตำแหน่งที่ที่มารดาอยู่ก็ยังมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย เหตุผลของความสัมพันธ์นี้เกิดจากการที่แต่ละพื้นที่มีองค์กรที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าถึงการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดามีความแตกต่างกัน ทำให้ผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดามีความแตกต่างกันด้วย1 ดังนั้น การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ทำให้มารดามีโอกาสจะเข้าถึงจากทุก ๆ ที่โดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจเป็นคำตอบที่จะช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันของการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละพื้นที่

เอกสารอ้างอิง

1.            Grubesic TH, Durbin KM. Geodemographies of Breastfeeding Support. J Hum Lact 2020:890334420941416.

มารดาที่สุขใจขณะให้นมลูกจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นาน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การที่มารดามีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ยังพบว่า การที่มารดารู้สึกมีความสุขในการให้นมลูกจะช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นาน1 ซึ่งการที่มารดารู้สึกมีความสุขในระหว่างการให้นมลูกจะสัมพันธ์กับการที่สามีสนับสนุนมารดาให้ให้นมลูกและทั้งสองมีความสุขที่ได้ใกล้ชิดลูก ดังนั้น จะเห็นว่าความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะเป็นแรงผลักดันที่ช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดีขึ้น ขณะที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ช่วยในการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้มีเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

1.            Granberg A, Ekstrom-Bergstrom A, Backstrom C. First-Time Mothers’ Enjoyment of Breastfeeding Correlates with Duration of Breastfeeding, Sense of Coherence, and Parental Couple and Child Relation: A Longitudinal Swedish Cohort Study. Nurs Res Pract 2020;2020:8194389.

การให้นมแม่แก่ทารกแรกเกิดพร้อมกับพี่คนโต

มารดาบางคนอาจมีความวิตกกังวลว่าสามารถจะให้นมทารกแรกเกิดไปพร้อมกันกับพี่คนโตที่เรียกร้องจะกินนมแม่ได้หรือไม่ คำตอบคือสามารถทำได้โดยไม่ต้องกลัวเรื่องน้ำนมไม่พอหรือจะรบกวนการกินนมของทารกแรกเกิด นอกจากนี้นมแม่ยังคงมีประโยชน์สำหรับเด็กหรือพี่คนโตด้วย