รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โดยทั่วไป
มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จได้โดยอาจจะไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งหมด
แต่รายละเอียดเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ หากมารดากำลังประสบปัญหาในการให้นมแม่หรือหากทารกน้ำหนักไม่ขึ้นหรือกินนมบ่อยมาก
บ่อยครั้งคำอธิบายที่ให้คือ การดูดนมของทารกที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการแก้ไขมักทำได้ง่าย
ต่อไปนี้เป็นลักษณะของการดูดนมที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
- ตอนเริ่มกินนม ทารกจะดูดนมอย่างรวดเร็วสองสามครั้งโดยไม่มีการกลืนนม
ซึ่งจะกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินและการไหลของน้ำนม ขั้นตอนนี้เป็น “การดูดนมเพื่อเรียกน้ำนม
(call-up
suckling)”
- ต่อมาจะเป็น
“การดูดนมที่ทารกจะได้รับน้ำนม (nutritive suckling)” ทารกจะดูดลึกและมีจังหวะที่ช้าลง (จังหวะของการดูดนมต่อการกลืนนมจะเป็นหนึ่งต่อหนึ่ง)
โดยช่วงหยุดสั้น ๆ เมื่อน้ำนมเริ่มไหล
- ได้ยินเสียงกลืนนม
เสียงดัง “โกวะฮ์ (cuh)” แสดงว่าทารกได้รับน้ำนมจากเต้านมมารดา
- มีลักษณะที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ชัดเจน
3 ถึง 4 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
- มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
25 – 30 กรัมต่อวันหลังจากนมมาแล้ว
หมายเหตุ
ในกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์จะประเมินการให้นมลูก “ต้องมั่นใจว่าได้ทำการสังเกตการให้นมลูกของมารดาเสมอ”
ก่อนที่จะชี้ว่ามีปัญหาและให้คำแนะนำใด ๆ การเข้าไปแทรกแซงหรือให้มารดาเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติต่าง
ๆ ควรทำเฉพาะในกรณีที่มีปัญหาจริง ๆ เท่านั้น1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
ลักษณะของการดูดนมจากขวดนมและการดูดนมแม่จากเต้ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของการดูดนม การกลืน การหายใจและเคลื่อนไหวของลิ้นที่เหมาะสม
แต่สำหรับการดูดนมจากจุกนมเทียมของขวดนม กลไกการดูดนมจะให้ความรู้สึกและมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน
โดยที่น้ำนมที่ไหลออกจากขวดจะเกิดจากแรงในการดูดนมโดยตรง การออกแรงบีบกดจุกนมเทียม
และแรงโน้มถ่วง และเนื่องจากกลไกการดูดนมที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการให้ทารกดูดจุกนมเทียมรวมทั้งจุกนมหลอกจนกว่าทารกจะคุ้นเคยกับการดูดนมแม่
สามารถดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมารดามีการสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพียงพอ จนกระทั่งทารกมีความชำนาญในการดูดนมแม่จากเต้าแล้ว
ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ การให้ทารกดูดนมจากเต้าสลับกับการดูดนมจากขวดอาจสามารถทำได้1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
การสังเกตการดูดนมที่ไม่มีประสิทธิภาพ1
สังเกตได้จาก
- ไม่ได้ยินเสียงกลืนนมของทารก
- การดูดนมของทารกจะมีลักษณะที่ขยับถี่
ๆ คือจะสั้นและเร็ว
- แม่อาจรู้สึกเจ็บปวด
สำหรับข้อควรระวัง หากมีผู้ช่วยที่จะช่วยมารดาในการเข้าเต้ามือของผู้ช่วยควรประคองศีรษะ
คอและไหล่ ในลักษณะที่อยู่ใต้ท้ายทอยของทารก เพราะหากอยู่เหนือท้ายทอย
เวลาเคลื่อนทารกเข้าเต้า แรงที่เคลื่อนทารกจะไปกดศีรษะให้ก้ม ทำให้การเข้าเต้าที่เหมาะสมของทารกทำได้ยาก1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
หากทารกเข้าเต้าได้ไม่ดีหรือไม่เหมาะสม1
จะสังเกตเห็น
- ริมฝีปากของทารกเม้มแน่น
- จะพบช่องว่างระหว่างคางทารกกับเต้านมมารดา
- จะพบช่องว่างระหว่างจมูกของทารกและเต้านมมารดา
- ริมฝีปากล่างของทารกจะม้วนเข้าด้านใน
- แม่อาจรู้สึกเจ็บปวด
- หัวนมมารดาจะแบนลงหลังจากให้นม
- อาจพบหัวนมมารดาถลอกหรือแตก
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
หากทารกมีการเข้าเต้าได้ดีหรือถูกต้อง1
จะสังเกตเห็น
- ริมฝีปากของทารกจะปลิ้นออก
- ปากของทารกจะอ้ากว้าง
- คางของทารกจะชิดเต้านม
- มองเห็นลานนมของมารดาเหนือริมฝีปากบนมากกว่าด้านล่างของริมฝีปากล่างหากมารดามีลานนมขนาดใหญ่ โดยลักษณะการเข้าเต้าลักษณะนี้จะเรียกว่า “การเข้าเต้าแบบไม่สมมาตร (asymmetrical latch)”
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)