คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติในช่องปาก

55899542

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ทารกที่มีความผิดปกติในช่องปากที่พบเห็นกันบ่อย ได้แก่ ภาวะปากแหว่งเพดาโหว่ ความผิดปกติในช่องปากของทารกนี้ จะส่งผลให้ทารกไม่สามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมได้ จึงจำเป็นสำหรับมารดาที่ต้องปรับเปลี่ยนท่าที่ให้นมและให้การช่วยเหลือทารกให้ดูดนมได้ การจัดท่ามีความสำคัญสำหรับทารกกลุ่มนี้อย่างมาก หากทารกมีภาวะปากแหว่ง หากมารดาสามารถจัดท่าให้เนื้อของเต้านมมาประกบติดกับบริเวณที่มีปากแหว่ง ทำให้ทารกสามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอที่จะดูดนมได้ นอกจากนี้ การให้นมท่านั่งหลังตรงในทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่ยังช่วยป้องกันการสำลักได้ อย่างไรก็ตาม หากทารกยังกระตุ้นดูดนมแม่ไม่ได้ดี การบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมจะช่วยให้มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก

? ? ? ? ? ?ความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยอีกสาเหตุหนึ่ง ได้แก่ ภาวะลิ้นติด ซึ่งหากมีภาวะลิ้นติดมากอาจสังเกตได้ง่าย ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ทารกยื่นลิ้นไปประกบและกดไล่น้ำนมจากลานนมได้ไม่ดี จนต้องออกขบกดหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่มในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงมาก จะช่วยให้ทารกเข้าเต้าและดูดนมได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดกลุ่มอาการดาวน์

hand expression7-2

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน สตรีมีการแต่งงานและมีบุตรช้าลง โดยอายุที่แต่งงานหรือมีบุตรสูงขึ้น เมื่อมารดาอายุเกิน 35 ปี ความเสี่ยงในการที่จะมีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ก็เพิ่มขึ้นตามอายุ แม้มีการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ในทารกระหว่างการตั้งครรภ์ได้ แต่มารดาบางคนอาจเลือกที่จะดูแลทารกแม้ทารกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ในทารกกลุ่มนี้จะมีแรงของกล้ามเนื้ออ่อนลง การดูดกระตุ้นน้ำนมจากเต้านมจะทำได้ไม่ดี? การกินนมจากเต้าอาจเหนื่อยอ่อนและกินนมไม่เพียงพอ นอกจากนี้ อาจพบความผิดปกติของหัวใจหรือไตร่วมด้วยได้ ดังนั้น การให้นมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์ หากทารกไม่มีแรงดูดนมจากเต้าในช่วงแรก อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้นม โดยอาจใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่น้ำนมและบีบช่วยให้น้ำนมไหลขณะทารกดูดนม เมื่อฝึกให้ทารกแข็งแรงดูดนมได้ดีขึ้นแล้วจึงให้ดูดนมจากเต้าโดยตรง ซึ่งมารดาจำเป็นต้องบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มกระตุ้นน้ำนมด้วย เนื่องจากทารกไม่มีแรงกระตุ้นจากการดูดนมได้ดีพอ การฝึกทารกให้ดูดนมร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ทารกจะดูดนมจากเต้านมได้ เช่นเดียวกันกับประโยชน์ของนมแม่ในทารกปกติ แต่ประโยชน์ของนมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์เห็นได้ชัดเจนกว่า คือนอกจากจะช่วยเรื่องพัฒนาการและระดับความฉลาดแล้ว นมแม่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่จะเกิดจากการติดเชื้อในทารกกลุ่มอาการดาวน์ลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด

20

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?”การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดไม่ใช่สิ่งที่เกินเอื้อมหรือเป็นไปไม่ได้ แต่มารดาต้องมีความเข้าใจในลักษณะของโรคของทารก” ทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจอาจส่งผลให้เหนื่อยง่าย ไม่มีแรงในการดูดนม หรือดูดนมได้ไม่นาน เริ่มต้นต้องมีการประเมินว่าทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้หรือไม่ เนื่องจากอาการของความผิดปกติของหัวใจในทารกแรกเกิดมีตั้งแต่กลุ่มที่มีความรุนแรงน้อยไปถึงกลุ่มที่มีความรุนแรงมาก หากทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ ควรให้ทารกดูดนมจากเต้า หากทารกดูเหนื่อย อาจหยุดพักและให้นมบ่อยๆ จะทำให้ทารกได้ปริมาณน้ำนมเพียงพอร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งจะช่วยในพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อ

? ? ? ? ? ?สำหรับทารกที่ไม่สามารถเริ่มดูดนมจากเต้าได้ในครั้งแรก อาจพิจารณาการใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่น้ำนมและบีบช่วยให้น้ำนมไหลขณะทารกดูดนม เมื่อฝึกให้ทารกแข็งแรงดูดนมได้ดีขึ้นแล้วจึงให้ดูดนมจากเต้าโดยตรง ซึ่งในระหว่างการฝึกดูดนม มารดาอาจจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติการบีบน้ำนมเก็บด้วยมือ เพื่อเก็บน้ำนมไว้สำหรับใส่ในอุปกรณ์ที่ช่วยฝึกการเข้าเต้าด้วย ความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ได้ จะเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยด้านสุขภาพอื่นๆ ของทารกรวมถึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่จะลดการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

58887641

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในกลุ่มทารกที่มีความเสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลที่ต่ำ การให้นมแม่สามารถให้ได้ เพียงแค่ให้ทารกได้แลบลิ้นเลียหัวน้ำนมที่มีร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อก็ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลได้ หากทารกแรกเกิดไม่ได้มีโรคประจำตัว การปรับตัวของระดับน้ำตาลของทารกจะเป็นปกติภายในสองถึงสามชั่วโมง นอกจากนี้ การให้ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาเนื้อแนบเนื้อราว 15 นาทีก่อนการเจาะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้

? ? ? ?สำหรับอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลต่ำในทารก ได้แก่

? ? -ทารกร้องเสียงสูง หรือไม่มีแรงร้อง

? ? -หายใจลำบาก? หายใจมีเสียง หรือจมูกบานเวลาหายใจ

? ? -หายใจไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีอาการเขียว (cyanosis)

? ? -การควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่คงที่

? ? -หงุดหงิด กระวนกระวาย

? ??-เกร็ง หรือมีอาการชัก

? ? -ไม่ยอมกินนม

? ? -อ่อนแรง (hypotonia) เฉื่อยชา หัวใจเต้นช้า

? ? ? ? ? ? ?อาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลต่ำเหล่านี้เป็นอาการที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแลที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

CIMG6494

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?แม้ในการดูแลทารกด้วยนมแม่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก อย่างไรก็ตาม มีทารกบางกลุ่มที่บุคลากรทางการแพทย์ความทราบถึงความเสี่ยงในการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เพื่อการบริหารจัดการดูแลทารกเหล่านี้อย่างเหมาะสม ได้แก่

? ? ?-ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4000 กรัม หรือน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม

? ? ?-ทารกที่ตัวใหญ่กว่าอายุครรภ์ หรือตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ หรือมีภาวการณ์เจริญเติบโตในครรภ์ช้า

? ? ?-ทารกที่มีมารดาเป็นเบาหวาน

? ? ?-ทารกที่คลอกก่อนกำหนด (37 สัปดาห์) หรือทารกที่คลอดเกินกำหนด (42 สัปดาห์)

? ? ?-ทารกที่สงสัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือมารดามีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)

? ? -ทารกที่มีค่าการประเมินคะแนน Apgar ที่นาทีที่ 5 น้อยกว่า 7

? ? -ทารกที่ต้องมีการช่วยการกระตุ้นฟื้นชีพระหว่างหลังคลอด

? ? -ทารกแฝดคนเล็กที่มีน้ำหนักต่างจากแฝดคนโตมาก

? ? -ทารกที่คลอดจากมารดาที่ไม่ได้มีการดูแลฝากครรภ์

? ? -ทารกที่มีตัวเย็น (hypothermia)

? ? -ทารกที่มีการหายใจลำบาก (respiratory distress)

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.