รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ดั้งเดิม เรามักได้ยินคำว่า ?เด็กไทยคืออนาคตของชาติ? แต่การใส่ใจในการให้ความสำคัญกับสิ่งนี้กลับไม่เป็นไปตามเนื้อความที่พูดกันสวยหรู หากเราหวังจะสร้างให้เด็กไทยเป็นอนาคตของชาติในสภาพความเป็นจริง ต้องมีการลงทุนลงแรง ซึ่งการที่จะเด็กไทยที่มีคุณภาพ เริ่มจากทารกที่มีสุขภาพดี การที่ทารกจะมีสุขภาพดี ต้องเริ่มจากการกินนมแม่ที่จะให้ประโยชน์ที่หลากหลายทั้งต่อมารดาและทารก ในส่วนของทารกที่สำคัญคือสมอง ซึ่งจะเจริญพัฒนาขยายขนาดเป็น 3 เท่าในสองขวบปีแรก การใส่ใจกับอาหารที่ให้ทารกในช่วงแรกคือนมแม่ต้องสมบูรณ์โดยให้อย่างน้อยหกเดือน หลังจากนั้นให้อาหารตามวัยที่เหมาะสมร่วมกับนมแม่จนครบสองปีหรือนานกว่านั้น
??????????? การกินนมแม่ช่วยให้ทารกมีความเฉลียวฉลาด (executive function) มากกว่าการกินนมผสม เพราะระหว่างการให้นมแม่ แม่ได้สบตากับทารก รู้ใจ สัมผัสเนื้อแนบเนื้อ? ส่งผลต่อการพัฒนาการของสมองที่ดี ร่วมกับนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยให้ทารกมีสุขภาพดี จึงเป็นการเตรียมพร้อมด้านการเรียนรู้และสุขอนามัยที่ดีของเด็ก
??????????? ช่วงเด็กเล็ก 3-5 ปีเป็นช่วงหลักที่จะมีการพัฒนาการทางด้านภาษา การลงทุนพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่สองและที่สาม จะเป็นการเตรียมพร้อมทางด้านการสื่อสาร
??????????? เมื่อเด็กไทยมีความพร้อมทางด้านการเรียนรู้ สุขภาพอนามัยดี มีทักษะการสื่อสารที่เยี่ยมยอด น่าจะเป็นความหวังของชาติ ได้โดยไม่ต้องคิดคำขวัญที่มากมายในวันเด็กแห่งชาติ นอกจาก ?เป็นเด็กไทย ต้องกินนมแม่? หรือ ?Thai baby ? only breastfeeding?
เอกสารอ้างอิง
ข้อคิดและแรงบันดาลใจในการฟังบรรยายปาฐกถาพิเศษ ภาษีร่วมใจ ช่วยแม่ไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของนายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ประธานที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58
กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ คณะแพทยศาสตร์ มศว
VIDEO
รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ในนมแม่มีสารที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ได้แก่ แลคโตเฟอริน (lactoferrin) และอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) ซึ่งสารทั้งสองจะทำหน้าที่ต่างกัน คือ แลคโตเฟอรินจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อโดยมีค่าสูงขึ้นเมื่อเกิดการติดเชื้อ ขณะที่อิมมูโนโกลบูลินเอจะป้องกันการติดเชื้อโดยหากมีค่าสูงจะป้องกันการติดเชื้อ1 ความเข้าถึงการตอบสนองของสารภูมิคุ้มกันในนมแม่ต่อการติดเชื้อจะทำเข้าใจสภาวะของมารดาและทารกทั้งก่อนและหลังการติดเชื้อได้ และสามารถวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
Breakey AA, Hinde K, Valeggia CR, Sinofsky A, Ellison PT. Illness in breastfeeding infants relates to concentration of lactoferrin and secretory Immunoglobulin A in mother’s milk. Evol Med Public Health 2015;2015:21-31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?การมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่น และสตรีตั้งครรภ์ มีการศึกษาพบว่าการมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเด็กและช่วงวัยรุ่นน่าจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคทางจิตเวช ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า (depressive disorder) โรคอารมณ์แปรปรวน (bipolar disorder) ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder)1 โดยสำหรับความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น การอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็ก ควรมีการเลือกลักษณะการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็กและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ส่วนการเสริมธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์นอกจากจะลดภาวะซีด ยังช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยด้วย2
เอกสารอ้างอิง
Chen MH, Su TP, Chen YS, et al. Association between psychiatric disorders and iron deficiency anemia among children and adolescents: a nationwide population-based study. BMC Psychiatry 2013;13:161.
Haider BA, Olofin I, Wang M, Spiegelman D, Ezzati M, Fawzi WW. Anaemia, prenatal iron use, and risk of adverse pregnancy outcomes: systematic review and meta-analysis. BMJ 2013;346:f3443.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)