คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

คลินิกนมแม่กับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_0082

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? คลินิกนมแม่ เป็นกลไกที่สำคัญส่วนหนึ่งในโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บทบาทหน้าที่หลักของคลินิก คือ การช่วยเหลือมารดาที่มีปัญหาเรื่องการให้นมแม่ และช่วยเหลือให้มารดาสามารถให้นมแม่และอาหารตามวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่วนหนึ่งจะดำเนินงานให้เป็นไปตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการบันทึกข้อมูล วินิจฉัย และวางแผนในการดำเนินงานในมารดาและทารกแต่ละรายและต้องมีพร้อมอยู่ตลอดเวลาในการช่วยเหลือมารดาและทารก

? ? ? ? ? บทบาทของพยาบาลนมแม่ นอกจากจะต้องให้ความรู้กับมารดาและสามีแล้ว ยังจำเป็นต้องเผยแพร่ความรู้ให้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นย่า ยาย ตา ปู่ และทุกๆ คนที่เป็นผู้ดูแลทารก รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาส่วนหนึ่งสำหรับการดำเนินงานของคลินิกนมแม่ คือ ความไม่เพียงพอของจำนวนเจ้าหน้าที่ของคลินิก ความก้าวหน้าในสายงานไม่ชัดเจน การละเมิดหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของบริษัทนมผสม นอกจากนี้ การทำการวินิจฉัยและการรักษาในคลินิกยังขาดรหัสใน ICD 10 และ ICD 9 ทำให้การบันทึกข้อมูลที่เป็นมาตรฐานยังไม่สามารถทำได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Providers ของ ปุณปวีร์ กิตติกุล ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

กินนมแม่แล้วลูกตัวเหลืองจริงไหม

S__38208300

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมแม่มีประโยชน์อย่างมาก แม้ว่าการรณรงค์ให้กินนมแม่จะพบภาวะตัวเหลืองในทารกสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการได้รับนมแม่ที่ไม่เพียงพอ (breastfeeding jaundice) ใน 2-3 วันแรก ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจ เริ่มให้ลูกดูดนมเร็ว ดูดนมบ่อยวันละ 8-12 ครั้ง ดูดถูกต้องและดูดจนเกลี้ยงเต้า น้ำนมจะมาได้ดี ทำให้สามารถป้องกันและลดปัญหานี้ได้ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากนมแม่เองที่ทำให้ทารกตัวเหลือง (breast milk jaundice) มักพบในช่วงหลัง 5-7 วันหลังคลอด หากค่าของสารเหลือง (bilirubin) ไม่สูงมาก ไม่ต้องการการรักษา เพียงติดตามดูอย่างต่อเนื่องก็เพียงพอ การหยุดนมแม่ชั่วคราวอาจจำเป็นเพื่อการวินิจฉัยในมารดาบางราย แต่หากให้การวินิจฉัยได้แล้ว สามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ ดังนั้น เมื่อมารดาและครอบครัวมีความเข้าใจที่ดีแล้ว คงหายวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเหลืองจากนมแม่

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Fact & Myth ของ ศ.คลินิก พญ.อุไรวรรณ โชติเกียรติ, รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

 

นมผสมมีเสริมสารอาหารครบถ้วนมากกว่านมแม่จริงหรือ

16

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ยังมีความเชื่อที่พบได้บ่อยว่า นมผสมมีเสริมสารอาหารครบถ้วนมากกว่านมแม่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว นมแม่เป็นเสมือนต้นแบบที่ใช้ในการผลิตนมผสมที่แม้จะมีความพยายามจะเสริมสารใดเติมใส่ลงไปให้เสมอเหมือน ก็ยังไม่เทียบเท่านมแม่ เนื่องจากนมแม่มีชีวิตมีจิตวิญญาณของแม่ที่เสริมใส่ลงไปในภูมิคุ้มกันที่จะปกป้องทารกที่เป็นลูกที่นมผสมไม่สามารถจะมีได้ นอกจากนี้ นมแม่ยังมีสเต็มเซลล์ (stem cell) ซึ่งมีความสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ใดๆ ก็ได้ จึงสามารถช่วยซ่อมแซมเมื่ออวัยวะใดของร่างกายเกิดการเสียหายหรือบาดเจ็บ

??????????? อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมในพื้นที่พบมารดามีความขาดแคลนสารอาหารบางอย่าง ได้แก่ ธาตุเหล็ก วิตามินดี ไอโอดีน การเสริมสารอาหารเหล่านี้ให้กับมารดา จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้มารดามีนมแม่ที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กระบวนการในระหว่างการฝากครรภ์และการคลอด การแก้ไขภาวะซีดระหว่างฝากครรภ์ของมารดา การชะลอการหนีบตัดสายสะดือระหว่างการคลอด ร่วมกับการให้อาหารเสริมตามวัยแก่ทารกหลังหกเดือนที่มีเนื้อสัตว์ที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก จะช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กในทารกได้

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Fact & Myth ของ ศ.คลินิก พญ.อุไรวรรณ โชติเกียรติ, รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

สัปดาห์ทองของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? เมื่อมารดาทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจต่อไป คือ การเปลี่ยนแปลงของเต้านมเมื่อมีการตั้งครรภ์และหลังคลอด เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นมตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ในไตรมาสสอง ซึ่งต่อมน้ำนมที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณ 3 เซนติเมตรรอบๆ ลานนมจะมีการขยายและเริ่มการมีสร้างน้ำนม หลังคลอดเมื่อฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ลดลง ร่วมกับการดูดนมของทารก จะทำให้น้ำนมหลั่งออกมา ในช่วงระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดใหม่ การสร้างน้ำนมจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนและความถี่ในการดูดนมกระตุ้นของทารก แต่หลังจาก 1 สัปดาห์ไปแล้ว การสร้างน้ำนมจะถูกควบคุมโดยการให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า ในน้ำนมเองจะมีสารที่ยับยั้งการสร้างน้ำนมอยู่ หากปล่อยให้สะสมไว้ในเต้านมนาน จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น การสร้างน้ำนมจะลดลง การให้น้ำนมได้ระบายออกจะเกลี้ยงเต้าโดยให้ทารกกระตุ้นดูด หรือโดยการบีบหรือปั๊มนมออก จะช่วยให้เต้านมสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น การอธิบายให้มารดาเข้าใจถึงกระบวนการการสร้างน้ำนม และสิ่งที่เป็นตัวควบคุมการสร้างน้ำนม จะทำให้มารดาปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม เมื่อทำการให้นมลูก

จะเห็นว่า ช่วงเวลาที่สำคัญมากที่จะต้องใส่ใจให้มารดาสามารถให้นมลูกได้ คือ ช่วง 1-2 สัปดาห์หลังคลอด เพราะตามปกติ ร่างกายของมารดาจะมีการเตรียมความพร้อมในการสร้างน้ำนมอยู่แล้ว หากมารดาปฏิบัติถูกต้อง โดยให้ทารกเริ่มดูดนมเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด มีการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับมารดา มีการกระตุ้นดูดนมบ่อย 8-12 ครั้งต่อวัน และดูดนมจนเกลี้ยงเต้า น้ำนมจะมีการสร้างเพียงพอและเหลือเก็บ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลให้มารดานำทารกเข้าเต้าและกระตุ้นดูดนมให้ได้ก่อนการกลับบ้าน เพราะหากมารดากลับบ้านไปโดยทารกยังเข้าเต้าและดูดนมไม่ได้ เท่ากับเป็นการสร้างปัญหาและความเครียดให้กับมารดาที่จะถูกกดดันเมื่อกลับไปบ้านแล้วให้นมลูกไม่ได้ ความล้มเหลวในการให้นมแม่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดคนที่จะช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุน โอกาสที่มารดาจะต้องใช้นมผสมจะสูงขึ้น

แต่หากมีความจำเป็นต้องให้มารดากลับบ้าน การรีบนัดติดตามหรือการติดตามเยี่ยมบ้านในสัปดาห์แรกอาจช่วยลดปัญหานี้ได้ การตระหนักรู้ว่า ?มารดาต้องให้นมแม่ได้ก่อนกลับบ้านเป็นประหนึ่งการให้ยาก่อนกลับบ้าน ซึ่งต้องเตรียมยาให้พร้อมก่อนกลับบ้าน? ร่วมกับการติดตามผลของการใช้ยา หนึ่งถึงสองสัปดาห์แรกจึงเป็นสัปดาห์ทองของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เมื่อมารดาเริ่มต้นให้นมลูกได้จะก้าวแรกที่สำคัญของการให้นมแม่ ที่เหลือก็เพียงคำแนะนำในวิธีการบีบเก็บน้ำนมเมื่อมารดาต้องกลับไปทำงานเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Breastfeeding and Work-Let?s Make it Work! ของ พญ.นันท์ธิดา ภัทราประยูร ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58

 

โรงเรียนแพทย์กับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

30-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? แพทยสภาได้บรรจุเรื่องการดูแลมารดาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลปัญหาเรื่องเต้านมและภาวะแทรกซ้อน อยู่ในเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรมปี พ.ศ. 2555 ซึ่งคณะแพทยศาสตร์และโรงเรียนแพทย์ได้มีการจัดอบรมอาจารย์แพทย์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างแพทย์ที่มีความตระหนักรู้ในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับมีการสนับสนุนเรื่องการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Administrators ของ รศ.พญ.อรวรรณ คีรีวัฒน์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58