คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

การคำนวณการกินนมของทารกจากน้ำหนักก่อนและหลังกินนม

IMG_0738

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ทารกที่กินนมแม่ การสังเกตว่าทารกกินนมได้เพียงพอสามารถสังเกตได้จาก หลังกินนม ทารกดูรู้สึกอิ่มสบาย นอนหลับได้นาน ไม่กระสับกระส่าย ขับถ่ายได้ดี โดยหลังสัปดาห์แรกแล้วทารกควรปัสสาวะวันละ 6-8 ครั้ง อุจจาระวันละ 3 ครั้ง ไม่มีลักษณะอาการขาดน้ำ น้ำหนักทารกขึ้นได้ดีตามเกณฑ์ ซึ่งมารดาจำเป็นต้องมีการติดตามน้ำหนักทารกเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของทารกที่กินนมแม่ ในกรณีที่สงสัยว่าทารกอาจได้รับนมไม่เพียงพอ การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมและคำนวณปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับอาจช่วยในการประเมินได้

? ? ? ? ?หลักในการคำนวณ ต้องคำนวณความต้องการของทารกต่อวันก่อน โดยนำ

น้ำหนักทารก (กิโลกรัม) คูณด้วย 5.5 จะเท่ากับปริมาณน้ำนม (ออนซ์) ที่ทารกควรจะได้รับต่อวัน

? ? ? ? ?ตัวอย่างน้ำหนักทารก 3 กิโลกรัม ทารกควรได้รับน้ำนมเท่ากับ 3×5.5 = 16.5 ออนซ์

? ? ? ? ?หากแบ่งให้ทารกวันละ 8 มื้อ มื้อหนึ่งควรได้ราว 2.06 ออนซ์ หรือราว 60 มิลลิลิตร (น้ำหนักน้ำนม 1 มิลลิลิตรจะหนักราว 1 กรัม) ดังนั้นหากทารกชั่งน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 60 กรัม (เครื่องชั่งที่ใช้วัดควรมีความละเอียดของการวัดเพียงพอ) แสดงว่าทารกอาจได้รับนมน้อยเกินไปในมื้อนั้น อย่างไรก็ตาม ในแต่ละมื้อที่ทารกกินนมแม่ ปริมาณอาจแตกต่างกัน การประเมินปริมาณเฉลี่ยต่อวันจะมีความแม่นยำมากกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ทารกที่น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์

IMG_0698

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ในทารกที่กินนมแม่ มารดาบางคนมักมีความวิตกกังวลเรื่องความเพียงพอของปริมาณน้ำนมที่ให้แก่ทารก ซึ่งมารดาควรมีความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเพียงพอของน้ำนม โดยทั่วไป มารดาจะให้นมตามความต้องการของทารก การสังเกตว่าทารกกินนมได้เพียงพอสามารถสังเกตได้จาก หลังกินนม ทารกดูรู้สึกอิ่มสบาย นอนหลับได้นาน ไม่กระสับกระส่าย ขับถ่ายได้ดี โดยหลังสัปดาห์แรกแล้วทารกควรปัสสาวะวันละ 6-8 ครั้ง อุจจาระวันละ 3 ครั้ง ไม่มีลักษณะอาการขาดน้ำ น้ำหนักทารกขึ้นได้ดีตามเกณฑ์ ซึ่งมารดาจำเป็นต้องมีการติดตามน้ำหนักทารกเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของทารกที่กินนมแม่

? ? ? ? ? ? ?ในกรณีที่น้ำหนักทารกไม่ขึ้นตามเกณฑ์ ควรมีการประเมินความเพียงพอของการให้นม โดยการชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมและคำนวณปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละมื้อที่ทารกกินนมแม่ ปริมาณอาจแตกต่างกัน การประเมินเฉลี่ยต่อวันจะมีความแม่นยำมากกว่า ซึ่งหากทารกได้รับปริมาณน้ำนมที่เพียงพอแล้ว แต่การเจริญเติบโตหรือน้ำหนักไม่เพิ่ม จำเป็นต้องมีการปรึกษากุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า แต่หากทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ การแนะนำมารดาให้สังเกตอาการหิวของทารก การกระตุ้นให้ทารกกินนมเพิ่มในบางคนที่กินนมช่วงระยะเวลาสั้นๆ แล้วหลับอาจมีความจำเป็น การบีบนวดเต้าเพื่อปรับให้ปริมาณน้ำนมไหลได้ดีขึ้น หรือการกระตุ้นบริเวณมุมปากทารกจะช่วยให้ทารกดูดนมได้มากขึ้น ซึ่งหากกระตุ้นแล้วทารกยังได้รับน้ำนมน้อย การบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมและป้อนนมเสริมให้กับทารกอาจมีความจำเป็น นอกจากนี้ ทารกควรอยู่ในการติดตามดูแลของแพทย์ เนื่องจากในช่วงแรกของชีวิต การเจริญเติบโตของทารกจะมีการพัฒนาในส่วนของสมองเป็นอย่างมาก การขาดหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลต่อพัฒนาการ ความเฉลียวฉลาดเมื่อทารกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ทำไมทารกจึงร้องไห้ขณะให้กินนมแม่

breastfeeding_111

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การร้องไห้ของทารก โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าทารกหิวต้องการกินนม ส่วนใหญ่ก็มักเป็นเช่นนั้น แต่หากรอจนทารกมีอาการหิวมากจนร้องไห้แล้ว การอุ้มทารกมาให้นมทันที ทารกอาจหงุดหงิดหรือปฏิเสธเต้านมได้ มารดาควรอุ้มทารกไว้ที่อกให้เนื้อแนบเนื้อ รอจนทารกสงบแล้วจึงนำทารกเข้าเต้าอีกครั้ง โดยหลักของการให้นม ควรให้นมตามความต้องการของทารกและไม่จำเป็นต้องรอให้ทารกหิวมากจนร้องไห้ อย่างไรก็ตาม การร้องไห้ของทารกอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ ได้แก่ การไม่สบายตัวจากการขับถ่าย ความต้องการการดูแลหรือความอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยจากมารดา ซึ่งการเอาใจใส่สังเกตถึงระยะเวลาการให้นมลูก อาการที่บ่งบอกว่าทารกหิว หรืออาการที่ไม่สบายจากการขับถ่าย จะทำให้มารดาเข้าใจในภาษากายของทารกในแต่ละคนที่มีความจำเพาะที่แตกต่างกันได้ การที่มารดาได้อยู่ใกล้ชิดกับทารกตลอดเวลาจะสร้างการเรียนรู้และทำให้มารดาดูแลปัญหาการร้องไห้ของทารกได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

งานวิจัยระบบคำนวณวันคลอดและดูแลสุขภาพคุณแม่ออนไลน์

proceeding in TBME55

การแก้ไขปัญหาพัฒนาการของเด็กไทยด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

32

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ปัญหาเรื้อรังของพัฒนาการเด็กไทย คือ พัฒนาการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 เด็กไทยมีพัฒนาการต่ำกว่ามาตรฐานร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2554 เด็กไทยมีระดับสติปัญญาที่ 98.5 และความฉลาดทางอารมณ์ที่ 45 ในปี พ.ศ. 2556 มีเด็กไทยร้อยละ 10-15 ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดไม่เป็น และในปี พ.ศ. 2557 เด็กไทย 0-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 27 และที่พัฒนาการช้าที่สุดคือ พัฒนาการทางด้านภาษา

? ? ? ? ? ? ? ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยควบคู่กับการลดความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงเป็นทางออกในการทำงานแบบเชิงรุก เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับโอกาสที่จะมีชีวิตรอด เติบโต มีระดับสติปัญญาที่ดี มีความเฉลียวฉลาดและพัฒนาการสมวัย เนื่องจากนมแม่ดีต่อการพัฒนาสมอง เพราะมีสารอาหารที่เป็นปัจจัยชีวภาพ (nerve growth factor) ที่ส่งผลต่อการเติบโตของระบบประสาท การดูดนมมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรักที่จะมีผลต่อแม่กับลูก ในด้านสรีระ พฤติกรรม ความรัก และความผูกพัน ร่วมกับการได้มีสัมผัส สบตา ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างแม่กับลูก จะทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของประสาทสัมผัส ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน่าจะเป็นตอบที่สำคัญของการแก้ปัญหาที่เรื้อรังของพัฒนาการของเด็กไทย

? ? ? ?นอกจากนี้ การให้นมแม่ยังสร้างความสุขทั้งมารดาและทารกซึ่งมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ โดยมีการศึกษาพบว่า การให้นมแม่จะช่วยสร้างความผูกพัน (attachment) ระหว่างมารดาและทารก และพบว่า มารดาที่ให้นมลูกจะมีการรับรู้ที่ไวต่อสภาวะทางอารมณ์ของลูก นอกจากนี้ ทารกที่กินนมแม่จะมีพฤติกรรมซึมเศร้าหรือก้าวร้าวลดลง และมีสุขภาพจิตดีตลอดวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น

ความรู้พื้นฐานที่ควรทราบ

? ? ? ? ?พันธุกรรม เป็นตัวกำหนดสติปัญญาเบื้องต้น และมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรม (epigenetic) จะมีส่วนส่งเสริมได้แก่ อาหารและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นตัวกำหนดสติปัญญาเช่นกัน ในช่วงขวบปีแรกจะมีการสร้างจุดเชื่อมต่อเซลล์สมอง (synapse) 700 จุดต่อนาที ดังนั้นต้องได้รับอาหารที่ดี เพื่อให้สามารถสร้างและคงจุดเชื่อมต่อเซลล์สมองที่เชื่อมต่อกันแล้ว ซึ่งการที่สมองจุดเชื่อมต่อกันมากส่งผลต่อการรับรู้ของบุคคลนั้น

? ? ? ? ? คำศัพท์ที่ควรรู้ความหมาย ได้แก่

? ? ? ? ?ความฉลาดหรือระดับสติปัญญา (IQ) คือ การวัดความสามารถการแก้ไขปัญหาบางอย่าง โดยจะใช้ อายุสมอง/อายุตามวันเดือนปีเกิด) X 100 ซึ่งระดับสติปัญญาของเด็กไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90

? ? ? ? ?ความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ คือ ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของตนเองจัดการกับอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ สามารถตัดสินใจได้ดี มีความอดทน อดกลั้นจากภาวะกดดัน

? ? ? ? ?ความเฉลียวฉลาด (executive function) เป็นหน้าที่ของสมองส่วนหน้า จะบ่งชี้ความสามารถในการจัดการหรือแก้ไขปัญหา ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเริ่มเกิดในช่วง 9 เดือนและพัฒนาต่อเนื่องอย่างมากในช่วง 3-6 ปี

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Breastfeeding and EQ &IQ ของ ศ.พญ.นิตยา คชภักดี, รัตโนทัย พลับรู้การ, รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 4 กันยายน 58