คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด

20

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?”การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดไม่ใช่สิ่งที่เกินเอื้อมหรือเป็นไปไม่ได้ แต่มารดาต้องมีความเข้าใจในลักษณะของโรคของทารก” ทารกที่มีความผิดปกติของหัวใจอาจส่งผลให้เหนื่อยง่าย ไม่มีแรงในการดูดนม หรือดูดนมได้ไม่นาน เริ่มต้นต้องมีการประเมินว่าทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้หรือไม่ เนื่องจากอาการของความผิดปกติของหัวใจในทารกแรกเกิดมีตั้งแต่กลุ่มที่มีความรุนแรงน้อยไปถึงกลุ่มที่มีความรุนแรงมาก หากทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ ควรให้ทารกดูดนมจากเต้า หากทารกดูเหนื่อย อาจหยุดพักและให้นมบ่อยๆ จะทำให้ทารกได้ปริมาณน้ำนมเพียงพอร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งจะช่วยในพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อ

? ? ? ? ? ?สำหรับทารกที่ไม่สามารถเริ่มดูดนมจากเต้าได้ในครั้งแรก อาจพิจารณาการใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่น้ำนมและบีบช่วยให้น้ำนมไหลขณะทารกดูดนม เมื่อฝึกให้ทารกแข็งแรงดูดนมได้ดีขึ้นแล้วจึงให้ดูดนมจากเต้าโดยตรง ซึ่งในระหว่างการฝึกดูดนม มารดาอาจจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติการบีบน้ำนมเก็บด้วยมือ เพื่อเก็บน้ำนมไว้สำหรับใส่ในอุปกรณ์ที่ช่วยฝึกการเข้าเต้าด้วย ความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ได้ จะเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยด้านสุขภาพอื่นๆ ของทารกรวมถึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่จะลดการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

58887641

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในกลุ่มทารกที่มีความเสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลที่ต่ำ การให้นมแม่สามารถให้ได้ เพียงแค่ให้ทารกได้แลบลิ้นเลียหัวน้ำนมที่มีร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อก็ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลได้ หากทารกแรกเกิดไม่ได้มีโรคประจำตัว การปรับตัวของระดับน้ำตาลของทารกจะเป็นปกติภายในสองถึงสามชั่วโมง นอกจากนี้ การให้ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาเนื้อแนบเนื้อราว 15 นาทีก่อนการเจาะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้

? ? ? ?สำหรับอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลต่ำในทารก ได้แก่

? ? -ทารกร้องเสียงสูง หรือไม่มีแรงร้อง

? ? -หายใจลำบาก? หายใจมีเสียง หรือจมูกบานเวลาหายใจ

? ? -หายใจไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีอาการเขียว (cyanosis)

? ? -การควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่คงที่

? ? -หงุดหงิด กระวนกระวาย

? ??-เกร็ง หรือมีอาการชัก

? ? -ไม่ยอมกินนม

? ? -อ่อนแรง (hypotonia) เฉื่อยชา หัวใจเต้นช้า

? ? ? ? ? ? ?อาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลต่ำเหล่านี้เป็นอาการที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแลที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

CIMG6494

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?แม้ในการดูแลทารกด้วยนมแม่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก อย่างไรก็ตาม มีทารกบางกลุ่มที่บุคลากรทางการแพทย์ความทราบถึงความเสี่ยงในการมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เพื่อการบริหารจัดการดูแลทารกเหล่านี้อย่างเหมาะสม ได้แก่

? ? ?-ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4000 กรัม หรือน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม

? ? ?-ทารกที่ตัวใหญ่กว่าอายุครรภ์ หรือตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ หรือมีภาวการณ์เจริญเติบโตในครรภ์ช้า

? ? ?-ทารกที่มีมารดาเป็นเบาหวาน

? ? ?-ทารกที่คลอกก่อนกำหนด (37 สัปดาห์) หรือทารกที่คลอดเกินกำหนด (42 สัปดาห์)

? ? ?-ทารกที่สงสัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือมารดามีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)

? ? -ทารกที่มีค่าการประเมินคะแนน Apgar ที่นาทีที่ 5 น้อยกว่า 7

? ? -ทารกที่ต้องมีการช่วยการกระตุ้นฟื้นชีพระหว่างหลังคลอด

? ? -ทารกแฝดคนเล็กที่มีน้ำหนักต่างจากแฝดคนโตมาก

? ? -ทารกที่คลอดจากมารดาที่ไม่ได้มีการดูแลฝากครรภ์

? ? -ทารกที่มีตัวเย็น (hypothermia)

? ? -ทารกที่มีการหายใจลำบาก (respiratory distress)

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ทารกง่วงหลับ ไม่ยอมดูดนม

47

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?การที่ทารกง่วงหลับ ไม่ยอมดูดนม สิ่งที่มารดาต้องสังเกตและให้ความสนใจคือ ทารกกินนมได้เพียงพอหรือไม่ และมีการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร ตามเกณฑ์กำหนดหรือไม่ จำนวนครั้งที่ปัสสาวะและอุจจาระเป็นอย่างไร หากทารกกินนมได้เพียงพอ มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ อาจเป็นจากทารกดูดนมได้เร็ว จนอิ่มและง่วงหลับ ซึ่งในกรณีนี้จะไม่เป็นปัญหา สามารถติดตามดูแลได้ตามปกติ แต่หากทารกง่วงหลับ กินนมได้ไม่เพียงพอ การให้การดูแลทารกจำเป็นต้องมีการทบทวนประวัติ ดังนี้

? ? ? ? -ทารกอายุเท่าไร คลอดอย่างไร มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดหรือไม่

? ? ? ? -อาการง่วงหลับ ไม่ยอมดูดนมเป็นมาตั้งแต่เมื่อไร

? ? ? ? -ทารกได้รับยาที่ทำให้มีอาการง่วงหลับหรือไม่ โดยอาจได้รับโดยตรงหรือได้รับจากการที่มารดารับประทานแล้วยาผ่านทางน้ำนม ยาที่มักใช้บ่อยที่ทำให้ทารกง่วงหลับ ได้แก่ ยาลดน้ำมูก โดยหากเป็นหลังคลอดใหม่ๆ อาจเป็นจากยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวดที่ให้ระหว่างการคลอด

? ? ? ?-การให้นมของมารดาได้ให้ตามอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวหรือไม่

? ? ? ?สิ่งที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ อาการง่วงหลับของทารกเป็นอาการง่วงซึมหรือไม่ การหายใจของทารกเป็นอย่างไร อะไรที่ทำให้ทารกร้องไห้ต่อเนื่อง ทารกขับถ่ายน้อยกว่าปกติ หรือทารกมีความพิการหรือความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบร่วมด้วยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้อาจต้องการความเร่งด่วนในการช่วยเหลือทางการแพทย์

? ? ? ? ?การดูแลเบื้องต้นสำหรับทารกที่ง่วงหลับ ไม่ยอมดูดนม มีดังนี้

? ? ? ? -แนะนำให้มารดาโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อ

? ? ? ?-ให้มารดาสังเกตการนอนหลับของทารก และสังเกตอาการหลับตื้น ใกล้ตื่น หรืออาการที่บ่งบอกว่าทารกหิว โดยแม้ทารกยังหลับตา แต่กลอกตาไปมา หันศีรษะ และขยับตัว มารดาควรอุ้มทารกมาไว้ที่เต้านมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับทารกถึงจังหวะของการให้นม

? ? ? ? -ควรจัดบรรยากาศให้เหมาะสมในการให้นมและไม่ควรห่อตัวทารกแน่นจนเกินไป

? ? ? ? -จดบันทึกการกินนมและการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระของทารกเพื่อประเมินความเพียงพอในการกินนม

? ? ? ? -หากทารกมีอาการง่วงหลับบ่อย เป็นซ้ำๆ หรือได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษา และนัดติดตามผลของการรักษา

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

แนวทางในการดูแลทารกที่ไม่ยอมหยุดร้องไห้

IMG_0689

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในการดูแลทารกที่ไม่ยอมหยุดร้องไห้ มีคำถามที่ต้องตั้งคำถามสำหรับมารดาและผู้ดูแลเพื่อที่จะนำมีวิเคราะห์ หาสาเหตุที่ทำให้ทารกไม่ยอมหยุดร้องไห้ สำหรับแนวทางเบื้องต้นในการดูแลทารกที่ไม่หยุดร้องไห้ ได้แก่

? ? ? ? -การให้มารดานำทารกมาไว้ที่หน้าอก ให้เนื้อแนบเนื้อ และพยายามจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น แสงที่จ้าเกินไป เสียงที่ดัง หรือการสิ่งที่เคลื่อนไหวที่จะดึงความสนใจของทารก

? ? ? ? -ใช้เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยให้ทารกสงบ ได้แก่ การนวด การใส่เตียงโยกเยก การร้องเพลงกล่อมเด็ก หรือการอาบน้ำให้ทารก

? ? ? ? -หากทารกมีลักษณะที่บ่งบอกถึงอาการหิว ควรให้ทารกเข้าเต้าเพื่อกินนม

? ? ? ?สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ

? ? ? ?-หากใช้เทคนิคเบื้องต้นในการช่วยให้ทารกสงบแล้วไม่ดีขึ้น หรือทารกมีอาการหรืออาการแสดงที่บ่งบอกถึงสัญญาณเสี่ยงอันตราย แนะนำว่า ควรส่งพบแพทย์เพื่อประเมินโดยเร่งด่วน

? ? ? ?-การดูแลทารกที่ปัญหาเรื่องไม่หยุดร้องไห้ อาจต้องมีการติดตามมารดาและทารกเป็นระยะ ดังนั้น ควรมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้คำปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.