คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ตั้งครรภ์ลูกคนใหม่ จะให้นมลูกคนก่อนได้ไหม

S__38207890

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????? โดยทั่วไป หากมารดาให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนจะเป็นส่วนหนึ่งในกลไกของร่างกายที่จะช่วยป้องกันการตกไข่และเป็นการคุมกำเนิด แต่หลังจากหกเดือนแรกแล้ว หากมารดาต้องการมีบุตร สามารถปล่อยให้มีบุตรได้โดยไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดต่อ ในกรณีนี้ อาจจะมีการตั้งครรภ์ลูกคนใหม่ ในขณะที่ลูกคนก่อนยังกินนมแม่อยู่ได้ ซึ่งหากมารดาไม่มีความเสี่ยงในเรื่องการคลอดบุตรก่อนกำหนด การให้นมลูกไปพร้อมกับการตั้งครรภ์สามารถทำได้ แม้มารดาอาจมีอาการเจ็บหัวนมเพิ่มขึ้นได้จากความไวของผิวสัมผัสบริเวณหัวนมมีมากขึ้น และมีปริมาณน้ำนมลดลงได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระหว่างการตั้งครรภ์ สิ่งเหล่านี้ มารดาไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล เนื่องจากการให้นมแม่หลังช่วงหกเดือนแรกไปแล้ว นมแม่เป็นเพียงอาหารเสริม ซึ่งลูกจำเป็นต้องกินอาหารตามวัยให้ครบถ้วนอยู่แล้ว

????? ?เมื่อมารดาคลอด การให้นมลูกที่เกิดใหม่ไปพร้อมกับลูกคนก่อน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ?tandem nursing? สามารถทำได้เช่นกัน การเตรียมพร้อมของมารดาให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบส่วนเป็นสิ่งที่จำเป็นในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูก อย่างไรก็ตาม ควรเริ่มให้นมลูกคนที่เกิดใหม่ก่อนและให้นมบ่อยๆ วันละ 8-12 ครั้ง โดยในระหว่างนั้น ยังสามารถให้นมลูกคนก่อนได้ น้ำนมแม่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลือง ซึ่งจะช่วยในการขับถ่ายมากขึ้น แต่ไม่มีอันตรายสำหรับลูกคนโต แต่เรื่องการให้เวลาดูแลเอาใจใส่ลูกคนโตในระหว่างช่วงเวลาที่ไม่ได้ให้นมลูกคนเล็กมีความจำเป็นและมีความสำคัญ เพื่อไม่ให้ลูกคนโตรู้สึกขาดแม่จากการที่ต้องให้นมลูกคนแรก ดังนั้น การจัดสรรเวลาให้เหมาะสมร่วมกับความช่วยเหลือของสามี ปู่ย่าตายาย ที่จะช่วยในการบริหารเวลาในการดูแลลูกทั้งสองคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

โรคที่มารดาป่วยแล้ว อาจต้องจำกัดการให้นมลูก

Beautiful_Women_2_9

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? บุคลากรทางการแพทย์ควรมีความรู้ว่า มีโรคใดบ้าง เมื่อมารดาป่วยเป็นโรคเหล่านี้แล้ว อาจมีข้อจำกัดบางอย่างการให้นมลูก แต่ในบางโรค มารดายังสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เพื่อสามารถจะให้คำแนะนำมารดาได้อย่างเหมาะสม โรคที่พบเป็นคำถามบ่อยๆ ที่ควรรู้ ได้แก่

?????? –การติดเชื้อเอชไอวี โดยทั่วไป มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากมีเชื้อเอชไอวีผ่านทางน้ำนม หากอยู่ในพื้นที่ที่มีการสนับสนุนเรื่องนมผสมเพียงพอหรือมารดาสามารถจัดซื้อได้ แนะนำการเลือกใช้นมผสมก่อน แต่หากข้อจำกัดในเรื่องความเพียงพอของการใช้นมผสม การเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับนมผสม

????? –การติดเชื้อวัณโรค หากมารดาได้รับยารักษา 2 สัปดาห์แล้ว มารดาสามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากจะหายจากระยะแพร่เชื้อแล้ว วัณโรคติดต่อกันทางหยดไอน้ำจากการไอ ไม่ได้ติดต่อกันผ่านทางน้ำนม ดังนั้น ในช่วง 2 สัปดาห์ที่เริ่มรักษา หากมารดาต้องการให้นมลูก การบีบเก็บน้ำนมเป็นทางเลือกหนึ่งในการให้นมแม่และคงการมีน้ำนมของแม่ไว้ เมื่อมีความพร้อมที่จะให้นมแม่

????? -มารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ มารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอับเสบเอ สามารถให้นมแม่ได้หากมารดาได้รับ gamma globulin แล้ว มารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี สามารถให้นมแม่ได้ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด หากทารกได้รับการให้ภูมิคุ้มกันต้านไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B immunoglobulin) และได้รับการให้วัคซีนสำหรับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B vaccine) ภายใน 12 ชั่วโมงแรกหลังคลอด สำหรับมารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบซี สามารถให้นมแม่ได้

????? -มารดาที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มารดาที่เป็นหูดหงอนไก่ สามารถให้นมแม่ได้ มารดาที่เป็นเริม สามารถให้นมแม่ได้ ยกเว้นในกรณีที่เป็นเริมที่เต้านม บริเวณหัวนมและลานนม

????? -มารดาที่เป็นอีสุกอีใส สามารถให้นมลูกได้ หากพ้นระยะที่ติดต่อหรือมีการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งจะเป็นระยะแรกจนถึงเมื่อแผลจากอีสุกอีใสแห้ง โดยทั่วไปราว 2 สัปดาห์ ระหว่างช่วงระยะติดต่อมารดาจำเป็นต้องบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนม เพื่อคงการสร้างน้ำนมไว้

????? -มารดาที่ติดเชื้อ cytomegalovirus หรือ Epstein-Barr หรือ toxoplasmosis สามารถให้นมแม่ได้

????? -มารดาที่เป็นไข้หวัดนก หรือติดเชื้อไวรัส H1N1 สามารถให้นมแม่ได้เมื่อมารดาไม่มีไข้ โดยระหว่างช่วงที่มีไข้ มารดาอาจใช้การบีบเก็บน้ำนมแล้วนำมาให้ทารกได้

????? –มารดาที่เป็น Lyme disease สามารถให้นมแม่ได้ หากเริ่มการรักษาแล้ว

????? -มารดาที่มีเต้านมอักเสบ สามารถให้นมลูกได้ ในช่วงระหว่างที่มีอาการหรือได้รับการรักษา โดยการคงการให้น้ำนมจะช่วยระบายน้ำนมออก ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดเต้านม และช่วยการอักเสบลดลงเร็วขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

แม่ป่วยต้องกินยา ลูกกินนมแม่ได้ไหม

IMG_0700

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????ในช่วงหลังคลอด บางครั้งมารดาเจ็บป่วยไม่สบาย ต้องรับประทานยา มารดาอาจจะมีความวิตกกังวลว่า เมื่อมารดารับประทานยาไปแล้ว ลูกจะกินนมได้หรือไม่ สิ่งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาเนื่องจากกังวลเรื่องผลของยาต่อทารก หรือบางครั้งทำให้มารดาเลือกที่จะไม่รับประทานยาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ระยะเวลาการเจ็บป่วยยาวนานจนมารดาอ่อนแอจนหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? คำถามที่ต้องตอบให้ได้เมื่อมารดาเจ็บป่วยไม่สบายจนต้องการการรับประทานยา คือ จะมีผลเสียต่อทารกหรือไม่เมื่อมารดากินยา แม้จะมีชนิดของยาจำนวนมาก แต่มียาเพียงจำนวนน้อยที่เป็นข้อห้ามในการให้ยาขณะให้นมลูก นั่นคือ ส่วนใหญ่มารดาสามารถกินยาได้ แต่เพื่อให้มารดามีความมั่นใจยิ่งขึ้น มารดาอาจศึกษาข้อมูลการให้ยาในระหว่างการให้นมลูกว่ามีผลเสียหรือไม่จากเว็บไซด์วิชาการที่มีข้อมูลมาตรฐาน เช่น LactMed ขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา โดยใส่ชื่อยาลงไปและค้นหาข้อมูลผลของยาต่อทารก หรือหากไม่สามารถจะเข้าถึงเว็บไซด์ได้ ในการที่มารดาจะรับประทานยาควรแจ้งแพทย์ที่จ่ายยาทุกครั้งว่า ให้ลูกกินนมอยู่ เพื่อแพทย์จะพิจารณาหลีกเลี่ยงยาที่มีความเสี่ยงสูงในการใช้ระหว่างให้นมบุตร แต่หากมารดาหาซื้อยาจากร้านค้ายา ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อช่วยให้ข้อมูลถึงการใช้ยาในระหว่างให้นมบุตร

???????????? สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้คำแนะนำมารดา อาจจำเป็นต้องเปิดดูข้อมูลการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรที่ทันสมัย ซึ่งเว็บไซด์เดียวกันกับที่มารดาสามารถดูข้อมูลได้ แต่บุคลากรทางการแพทย์อาจสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า และในปัจจุบัน LactMed ได้มีการจัดทำเป็นแอพริเคชั่นที่สามารถดาวน์โหลดลงมือถือทั้งระบบปฏิบัติการ ios และ android โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยิ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลเรื่องของการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

แม่สูบบุหรี่ ลูกกินนมแม่ได้ไหม

407434_12078550_1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? การที่มารดาสูบบุหรี่ ลูกยังสามารถกินนมแม่ได้ แต่ควรอธิบายถึงผลเสียของบุหรี่และประโยชน์ของนมแม่ให้มารดาฟัง ผลเสียของบุหรี่จะสูงในช่วงระหว่างมารดาตั้งครรภ์ แต่หลังคลอดอันตรายที่ควรต้องให้ทารกหลีกเลี่ยงคือ อันตรายจากควันบุหรี่มือสองที่ได้จากมารดา สำหรับอันตรายจากสารพิษจากบุหรี่ผ่านทางน้ำนมยังมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการให้ลูกได้กินนมแม่และได้ประโยชน์จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? แม้ว่า มีรายงานว่ามารดาที่สูบหรี่จะมีความเสี่ยงที่จะหยุดนมแม่เร็วกว่ามารดาที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่หากมารดามีความตั้งใจที่ดี ต้องการลดการสูบบุหรี่ลงระหว่างการให้นมลูกก็ยิ่งเป็นประโยชน์ โดยอาจปรับเปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะนิโคตินซึ่งจะเป็นผลดีต่อทารกมากกว่า โดยมารดาบางคนสามารถที่จะเลิกบุหรี่ได้เมื่อให้ลูกกินมแม่ แต่สำหรับมารดาที่ยังไม่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ การที่มารดาสูบบุหรี่นอกบ้านหรือให้ห่างไกลจากห้องของทารกจะลดผลเสียต่อการที่ทารกได้รับควันบุหรี่มือสอง และหากสูบบุหรี่ช่วงหลังจากให้นมบุตรใหม่ๆ จะลดปริมาณสารพิษจากการที่ระดับของสารพิษจะลดลงแล้ว เมื่อถึงเวลาที่ให้นมบุตร

????????มารดาบางคนอาจคิดว่า การให้นมผสมอาจเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า แต่ในความเป็นจริง มารดาต้องหลีกเลี่ยงโดยการสูบบุหรี่นอกเช่นกัน และยังขาดประโยชน์ที่จะได้รับจากการกินนมแม่ด้วย ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องภูมิคุ้มกันแล้ว ในเรื่องความเฉลียวฉลาดที่ลดลงอันเป็นผลกระทบจากการที่มารดาสูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกจะได้ประโยชน์จากการลดผลกระทบนี้หากได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด

hand expression8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้แก่ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ช่วง 34 ถึง 37 สัปดาห์จะเป็นช่วงใกล้กำหนด ทารกเหล่านี้ความพร้อมในการกินนมแม่อาจจะยังไม่ดีเท่ากับทารกที่คลอดครบกำหนด แต่หากดูแลอย่างเหมาะสม จะสามารถได้ประโยชน์ที่ดีจากการกินนมแม่ โดยการเริ่มการให้การดูแล มีดังนี้

???????????เมื่อทารกมีการคลอดก่อนกำหนด ควรมีการให้คำปรึกษามารดาและครอบครัว ถึงประโยชน์และวิธีการให้นมแม่รวมถึงทางเลือกให้มารดาและครอบครัวตัดสินใจ หากมารดาตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากทารกมีความพร้อมโดยมีสัญญาณชีพคงที่ ให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ และโอบกอดทารกนานเท่าที่จะทำได้ พิจารณาว่าทารกสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้หรือไม่ หากยังไม่ได้ดี อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้นมแม่ หรือสายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่นมแม่เพื่อช่วยให้นมแม่ก่อน อาจให้ทารกได้เลียน้ำนมจากเต้านม และเมื่อทารกเริ่มแข็งแรงขึ้น ทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง ดังนั้น มารดาต้องเตรียมความพร้อมโดยเริ่มการบีบเก็บน้ำนมตั้งแต่ภายในหกชั่วโมงหลังคลอด และบีบเก็บน้ำนมวันละ 8-12 ครั้ง เพื่อคงให้น้ำนมมาดีและต่อเนื่อง และเพื่อการเก็บน้ำนมที่เพียงพอและพร้อมที่จะให้น้ำนมที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทารกจากเต้าเมื่อทารกมีความพร้อม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.