รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีการศึกษาถึงลักษณะของมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกอ้วน โดยพบว่ามารดาที่มีน้ำหนักขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์เกินเกณฑ์ มารดาที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และมารดาที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะมีลูกอ้วนที่อายุ 8 ขวบ1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำให้มารดาได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์ ควบคุมการขึ้นของน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ และงดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ การให้ลูกกินนมแม่ยังช่วยป้องกันภาวะอ้วนในทารกได้ด้วย
เอกสารอ้างอิง
Mourtakos SP, Tambalis KD, Panagiotakos DB, et al. Maternal lifestyle characteristics during pregnancy, and the risk of obesity in the offspring: a study of 5,125 children. BMC Pregnancy Childbirth 2015; 15:66.
?
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? เบบี้คาเฟ่ คือ รูปแบบการให้บริการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างหนึ่งที่ใช้เรียกกันในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษ ซึ่งการบริการจะคล้ายกับคลินิกนมแม่ คือ มีการให้ความรู้ ช่วยเหลือเรื่องทักษะการปฏิบัติ การให้คำปรึกษา และติดตามสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงสิ่งที่มารดาต้องการจากเบบี้คาเฟ่ พบว่า การให้เวลาและให้ความสำคัญโดยยึดหลักมารดาและทารกเป็นศูนย์กลางการให้บริการในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด1 ดังนั้น ในการให้บริการที่คลินิกนมแม่อาจจะนำความคาดหวังของการให้บริการเบบี้คาเฟ่มาปรับใช้ได้ โดยให้ความสำคัญกับมารดาและทารก ให้เวลา ติดตามสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะในสัปดาห์แรกหลังคลอด ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนเป็นสัปดาห์ทองในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหากมารดาเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสมแล้ว โอกาสที่จะมีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น จะมีสูงตามด้วย
เอกสารอ้างอิง
Fox R, McMullen S, Newburn M. UK women’s experiences of breastfeeding and additional breastfeeding support: a qualitative study of Baby Cafe services. BMC Pregnancy Childbirth 2015; 15:147.
?
?
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ปกติแล้วในการคลอดที่โรงพยาบาล เมื่อมารดาปวดเบ่งคลอดและปากมดลูกเปิดหมด ทารกพร้อมที่จะคลอด มารดาจะได้รับการจัดท่าให้เบ่งคลอด โดยท่าที่นิยมใช้ในโรงพยาบาลคือท่ามารดานอนหงายและยกขาทั้งสองข้างขึ้นบนที่รองขาพร้อมกับแยกขาออกกว้าง ซึ่งทางการแพทย์เรียกท่านี้ว่า? ท่าขบนิ่ว (lithotomy position) ท่านี้ไม่ได้ส่งเสริมการเบ่งคลอดเนื่องจากการเบ่งคลอดจะทำได้ยากในท่าที่มารดานอนหงายและต้องยกขาขึ้น ดังนั้น การจะช่วยให้มารดาเบ่งคลอดได้ดีขึ้นควรปรับหลังของมารดาให้ยกสูงขึ้น หรืออยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน การเบ่งคลอดของทารกก็จะดีขึ้น เนื่องจากมีแรงดึงดูดของโลกช่วยให้ทารกลงมาตามช่องคลอดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาว่า หากให้มารดาคลอดในท่านั่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดการฉีดขาดของหูรูดทวารหนักได้มากกว่าโดยเฉพาะในมารดาในท้องหลัง สำหรับท้องแรกการคลอด เมื่อเปรียบเทียบกับท่านั่ง ท่านอนตะแคงจะมีการฉีดขาดของหูรูดน้อยกว่า1 ขณะที่ท่าขบนิ่วมารดาจะมีการฉีกขาดของหูรูดมากกว่า สรุปแล้ว ท่าคลอดที่มีแนวโน้มจะเบ่งคลอดได้ง่าย มักมีโอกาสเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักมากกว่า แต่ท่าขบนิ่วนั้นไม่เหมาะสมในการเบ่งคลอด ดังนั้น ในการจัดท่ามารดาจึงควรเลือกให้เหมาะสมโดยให้มีความสมดุลกันระหว่างการคลอดที่ไม่ยากและเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักน้อยกว่าด้วย
เอกสารอ้างอิง
Elvander C, Ahlberg M, Thies-Lagergren L, Cnattingius S, Stephansson O. Birth position and obstetric anal sphincter injury: a population-based study of 113 000 spontaneous births. BMC Pregnancy Childbirth 2015; 15:252.
?
?
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?4.โรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา หรือ Paternal postpartum depression เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในบิดาในช่วงหลังคลอด ลักษณะจะมีอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการนี้มักพบในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด แต่มีรายงานว่าอาจพบได้ถึงในช่วง 1 ปีหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์หลังคลอดร่วมกับความเสี่ยงจากบุคลิกภาพ1 การดูแลรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา ต้องมีการวางแผนการดูแลรักษาโดยแพทย์และจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาร่วมกับการเอาใจใส่และความเข้าใจของครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาสามารถทำได้ตามปกติ
เอกสารอ้างอิง
Paulson JF, Bazemore SD. Prenatal and postpartum depression in fathers and its association with maternal depression: a meta-analysis. JAMA 2010;303:1961-9.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? 3.โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์ การดูแลโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และทีมที่ร่วมในการรักษา เนื่องจากมารดามีอาการซึมเศร้ารุนแรงในระดับที่ถือว่าผิดปกติและนับเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน การใช้ยาร่วมในการรักษามีความจำเป็น ยาที่ใช้มีหลายชนิด โดยที่ยาที่มักเลือกใช้ก่อนมักใช้ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ได้แก่ sertraline (Zoloft), paroxetine (Paxil) และ escitalopram (Lexapro) เนื่องจากระดับยาที่พบในน้ำนมมีระดับต่ำ สำหรับยา Fluoxetine (Prozac) ใช้รักษาได้ดี แต่ค่าครึ่งชีวิตของยายาวนานกว่า ยาจะผ่านไปที่น้ำนมมากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ โดยหากมีความจำเป็น ควรมีการติดตามดูอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ในทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ หากมารดาปราศจากความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือทำร้ายลูก ดังนั้น ก่อนการวางแผนการรักษาจำเป็นต้องมีการประเมินมารดาถึงความเสี่ยงนี้
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)