คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

เด็กที่กินนมแม่จะกินผักมากกว่า

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ?ลักษณะการรับประทานอาหารของเด็กในปัจจุบันมักเลือกรับประทาน โดยรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์สูง ขณะที่รับประทานผักในปริมาณที่น้อยหรือไม่ยอมรับประทานเลย มีการศึกษาว่า ทารกที่กินนมแม่นานมากกว่า 1 ปี เมื่ออายุ 4-7 ปีจะรับประทานผักมากกว่าทารกที่กินนมแม่น้อยกว่าถึง 2.7 เท่า1 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ลักษณะนิสัยที่รับประทานผักเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น หากต้องการให้ลูกรับประทานผัก การวางแผนให้ลูกกินนมแม่นอกจากจะประโยชน์ในการช่วยด้านนี้แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพระยะยาวและความเฉลียวฉลาดของลูกอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Soldateli B, Vigo A, Giugliani ER. Effect of Pattern and Duration of Breastfeeding on the Consumption of Fruits and Vegetables among Preschool Children. PLoS One 2016;11:e0148357.

 

ภาวะลิ้นติดกับการกินนมแม่

moderat tongue-tie1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ?ทารกที่มีภาวะลิ้นติด ได้แก่ ทารกที่มีพังผืดใต้ลิ้นยึดยาวมาที่ปลายลิ้นจนจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น ซึ่งหากความรุนแรงไม่มาก การกินนมแม่สามารถทำได้ ในกรณีที่แบ่งความรุนแรงของภาวะลิ้นติดตามเกณฑ์ของ Kotlow พบว่า ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงมีความเสี่ยงในการเข้าเต้าได้ไม่ดีมากกว่าทารกปกติ1 ซึ่งการให้การวินิจฉัยได้รวดเร็วตั้งแต่เริ่มแรกหลังคลอดหรือเมื่อมารดาให้ทารกเข้าเต้าดูดนมแล้วมีอาการเจ็บหัวนม จะทำให้ลดปัญหาการหยุดให้นมก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมลงได้2

??????????????? ในประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลอุบัติการณ์ของภาวะลิ้นติด พบร้อยละ 13.4 ซึ่งพบเป็นภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงร้อยละ 7.2 ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือ MED SWU Tongue-tie Director ที่ใช้วัดความรุนแรงของภาวะลิ้นติดตามเกณฑ์ของ Kotlow นำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดทุกรายที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และใช้ช่วยในการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นด้วย ซึ่งผลลัพธ์ในการใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และช่วยให้ทารกหลังการผ่าตัดแก้ไขปัญหาลิ้นติดเข้าเต้าดูดนมได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Manipon C. Ankyloglossia and the Breastfeeding Infant: Assessment and Intervention. Adv Neonatal Care 2016;16:108-13.

 

DIAGNOSIS LABEL

ผลดีในระยะยาวของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า ทารกที่กินนมแม่จะมีความเฉลียวฉลาดมากกว่าทารกที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก แต่ผลดีต่อทารกในระยะยาวนั้น มารดาบางท่านอาจจะยังไม่ทราบถึงสิ่งนี้ มีการศึกษามากมายที่สรุปว่า การที่ทารกกินนมแม่มีผลในการลดการเกิดโรคอ้วน เบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะไขมันในเลือดสูง รวมทั้งมีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก1 ซึ่งผลที่เกิดเหล่านี้น่าจะเป็นจากการที่ทารกสามารถที่จะควบคุมการกินได้เหมาะสมตามความต้องการร่วมกับการได้รับสารที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันโรคที่จะช่วยป้องกันการเกิดเซลล์ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง ดังนั้น การรณรงค์ให้มารดาทราบถึงผลดีในระยะยาวต่อสุขภาพของทารกเมื่อเจริญเติบโตขึ้น น่าจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Binns C, Lee M, Low WY. The Long-Term Public Health Benefits of Breastfeeding. Asia Pac J Public Health 2016;28:7-14.

?

?

เริ่มต้นอย่างไรให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

IMG_0721

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลายๆ คนคงมีคำถามว่า ?ต้องทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ? มีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การจะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จนั้น จะประกอบด้วย 3? ส่วนที่สำคัญ คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจจะให้ลูกกินนมแม่ (intention) การเริ่มต้นให้ลูกกินนมแม่ (initiation) และการคงการให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง (continuity) ทั้งสามส่วนนี้ จำเป็นต้องเริ่มต้นจากส่วนแรกก่อน คือ มารดาต้องมีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1-4 ?ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้มารดามีความมุ่งมั่น เชื่อมั่น สามารถจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ การแก้ปัญหาที่ประสบ หรือเอาชนะอุปสรรคที่ขัดขวาง และนำมารดาไปสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องสร้างให้มารดาเกิดความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อน ซึ่งต้องอาศัยการให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีจากทั้งในครอบครัว โรงเรียน โรงพยาบาล และสื่อสุขภาพต่างๆ ในสังคม

เอกสารอ้างอิง

  1. Balogun OO, Kobayashi S, Anigo KM, Ota E, Asakura K, Sasaki S. Factors Influencing Exclusive Breastfeeding in Early Infancy: A Prospective Study in North Central Nigeria. Matern Child Health J 2016;20:363-75.
  2. Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.
  3. Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.
  4. Gregory EF, Butz AM, Ghazarian SR, Gross SM, Johnson SB. Met Expectations and Satisfaction with Duration: A Patient-Centered Evaluation of Breastfeeding Outcomes in the Infant Feeding Practices Study II. J Hum Lact 2015.

 

การเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรเริ่มต้นเมื่อไร

IMG_9403

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การเรียนรู้และทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีส่วนหนึ่งที่สตรีได้รับการถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมมาจากมารดา แต่ประสบการณ์การเรียนรู้เริ่มต้นได้ที่ครอบครัว ที่เป็นตัวอย่างให้เห็นและสร้างภาพจำให้เกิดกับเด็ก แต่เมื่อถึงวัยเรียนจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่พบมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น การให้ความรู้ในเรื่องเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะเป็นสิ่งที่ควรมีการจัดสรรเนื้อหาแทรกไปในหลักสูตรการเรียนรู้ ในประเทศไต้หวัน ได้มีการศึกษาการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กมัธยมปลาย ซึ่งมีผลที่ดีต่อทั้งในด้านความรู้และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1?เมื่อมารดาได้รับการกระตุ้นเตือนอีกครั้งในระยะตั้งครรภ์ ก็น่าจะผลดีต่อการส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว2

เอกสารอ้างอิง

  1. Ho YJ, McGrath JM. Effectiveness of a Breastfeeding Intervention on Knowledge and Attitudes Among High School Students in Taiwan. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2016;45:71-7.
  2. Glaser DB, Roberts KJ, Grosskopf NA, Basch CH. An Evaluation of the Effectiveness of School-Based Breastfeeding Education. J Hum Lact 2016;32:46-52.

?

?

?