รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมในมารดา โดยยิ่งระยะเวลาที่ให้ลูกกินนมแม่นานยิ่งลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม หากมีประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเป็นมะเร็งเต้านมที่มีความรุนแรงน้อยกว่า โอกาสการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาน้อยกว่า และอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมน้อยกว่า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีประวัติการให้ลูกกินนมแม่นานมากกว่าหกเดือน1 ดังนั้น การให้ลูกกินนมแม่ส่งผลช่วยให้มารดาห่างไกลจากมะเร็งเต้านม ลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตในกรณีที่มารดาเป็นมะเร็งเต้านม
เอกสารอ้างอิง
Kwan ML, Bernard PS, Kroenke CH, et al. Breastfeeding, PAM50 tumor subtype, and breast cancer prognosis and survival. J Natl Cancer Inst 2015;107.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การคลอดในปัจจุบัน มักมีการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อช่วยให้การดำเนินการคลอดเกิดเร็วขึ้น ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกที่ใช้กัน ได้แก่ ออกซิโตซินสังเคราะห์ ยานี้มีการศึกษาว่าอาจส่งผลต่อปฏิกิริยาพื้นฐานของทารกในการกินนมแม่1 ซึ่งอาจทำให้ทารกที่มีความยากลำบากในการกินนมแม่เริ่มกินนมแม่ได้น้อยลง ดังนั้น? การเลือกใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกระหว่างการคลอด ควรมีการพิจารณาเลือกใช้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็นมากกว่าการใช้ทุกรายเป็นประจำตามความเคยชิน
เอกสารอ้างอิง
Marin Gabriel MA, Olza Fernandez I, Malalana Martinez AM, et al. Intrapartum synthetic oxytocin reduce the expression of primitive reflexes associated with breastfeeding. Breastfeed Med 2015;10:209-13.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การใช้ขวดนมและจุกนมหลอกมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากกลไกการดูดนมจากขวดนมและการดูดนมจากเต้านมนั้นมีความแตกต่างกัน ทารกอาจเกิดการสับสนในลักษณะของการดูดนม (nipple confusion) และทำให้หยุดการกินนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสมได้ ?มีการศึกษาการใช้ขวดนมและจุกนมหลอกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังหกเดือนไปแล้ว พบว่า การใช้ขวดนมหรือจุกนมหลอกมีความสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการใช้ขวดนมมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า (CI95% 1.273-2.023) และการใช้จุกนมหลอกมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น 3.2 เท่า (CI95%: 2.490-4.228) 1 ดังนั้น การใช้ขวดนมหรือจุกนมหลอกจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้อาหารตามวัยร่วมกับนมแม่จนครบสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับมารดาและทารก
เอกสารอ้างอิง
Rigotti RR, Oliveira MI, Boccolini CS. Association between the use of a baby’s bottle and pacifier and the absence of breastfeeding in the second six months of life. Cien Saude Colet 2015;20:1235-44.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ?ปัจจุบัน การใช้ยาในสตรีมีมากรวมทั้งการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร มีรายงานว่าสตรีหลังคลอดได้รับยาอย่างน้อยหนึ่งชนิดร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่าสตรีครึ่งหนึ่งในช่วงที่ให้นมบุตรได้รับยาอย่างน้อยหนึ่งชนิด 1 ยาแต่ละชนิดจะมีความเสี่ยงในการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอด และช่วงให้นมบุตรแตกต่างกันได้ แต่การที่ยามีจำนวนมากและข้อมูลที่จะชี้แจงหรือแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังมีอยู่จำกัด ทำให้การที่มารดาจะได้รับรู้เรื่องข้อดีข้อเสีย หรือความเสี่ยงจากการใช้ยามีน้อย องค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนการให้ข้อมูลของการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์จากเดิมที่แบ่งเป็นกลุ่ม A, B, C, D และ X เป็นการบังคับให้บริษัทยาเขียนรายละเอียดข้อมูลของการศึกษาการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรไว้ในฉลากยา สำหรับยาที่ขึ้นทะเบียนใหม่โดยเริ่มการบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน 2558 และบังคับให้ยาที่ขึ้นทะเบียนมาก่อนหน้านี้ต้องปรับเปลี่ยนฉลากตามข้อกำหนดภายในสามปี ดังนั้นสิ่งนี้อาจจะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลความรู้ของการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดเพิ่มขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Saha MR, Ryan K, Amir LH. Postpartum women’s use of medicines and breastfeeding practices: a systematic review. Int Breastfeed J 2015;10:28.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? เมื่อแรกเกิด หากนำทารกมาวางไว้บนอกของมารดา ทารกจะคืบคลานเข้าหาเต้านมและเริ่มที่จะดูดนมได้ ในระยะแรกเกิดทารกจะมองเห็นในระยะใกล้ๆ และการแยกสีจะยังไม่ดี เต้านมของมารดามีการปรับตัวให้สีคล้ำเข้มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทารกมองเห็นเต้านมได้ชัด และกลิ่นของน้ำนมช่วยให้ทารกเคลื่อนเข้าหาเต้านมด้วย การที่ทารกได้เริ่มดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ระยะนี้จะมีกลไกตามธรรมชาติที่จะทำให้เกิดการฝังใจ ทารกจะฝังใจกับเต้านมของแม่ โดยจะมีการฝังใจกับการสัมผัสทางปาก (oral tactile imprinting) กับเต้านมมารดา1 สิ่งนี้จะช่วยในการเข้าเต้าและการกินนมแม่ในระยะต่อมา และยังช่วยในระบบของการพัฒนาการต่างๆ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Mobbs EJ, Mobbs GA, Mobbs AE. Imprinting, latchment and displacement: a mini review of early instinctual behaviour in newborn infants influencing breastfeeding success. Acta Paediatr 2016;105:24-30.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)