คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ

S__45850772

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่มีประโยชน์มากมายในหลายๆ ด้าน โดยสารอาหารในนมแม่มีมากกว่า 200 ชนิดและเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาให้เหมาะสมกับลูก ซึ่งมีความจำเพาะสำหรับลูกของมนุษย์ มีการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในด้านการป้องกันโรคติดเชื้อ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

? ? ? ประโยชน์ของนมแม่ในการป้องกันโรคติดเชื้อ

? ? ? -ลดการเกิดหูชั้นกลางอักเสบร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่มากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่สามเดือน

? ? ? -ลดการเป็นซ้ำของหูชั้นกลางอักเสบร้อยละ 49 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่มากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่ 4-6 เดือน

? ? ? -ลดการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมมากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่น้อยกว่าหกเดือน

? ? ?-ลดการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างร้อยละ 77 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่มากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่ 4-6 เดือน

? ? ?-ลดการเกิดการอักเสบของหลอดลมฝอยโดยเชื้อ Respiratory Syncyitial Virus หรือ RSV ร้อยละ 74 เมื่อทารกกินนมแม่มากกว่า 4 เดือน

? ? ?-ลดการเกิดภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย (necrotizing enterocolitis) ร้อยละ 77 หากทารกกินนมแม่อย่างเดียว

? ? ? -ลดการเกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ร้อยละ 64 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ? ? จะเห็นว่า ทารกที่กินนมแม่จะได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันและสารต่อต้านการติดเชื้อที่มีอยู่ในน้ำนมแม่ ซึ่งจะส่งผลในการป้องกันและลดการเสียชีวิตของทารกจากการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในช่วงวัยทารก เมื่อทารกเจ็บป่วยน้อยลง มารดาก็ลดความวิตกกังวลหรือความเครียดในการดูแลทารกที่เจ็บป่วย สิ่งนี้จะเพิ่มความสุขให้กับมารดาและครอบครัวในการเลี้ยง ดูแล ติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกที่ไม่สามารถซื้อหาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

บทบาทของกุมารแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9389

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? กุมารแพทย์เป็นแพทย์ที่จะดูแลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยบางครั้งต้องมีการให้คำปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวก่อนการเกิดของทารกในกรณีที่มีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดแก่ทารก กุมารแพทย์จะเป็นผู้ดูแล ติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกให้เป็นไปตามวัย ดังนั้น กุมารแพทย์จะมีความคุ้นเคยกับครอบครัวตั้งแต่หลังคลอดจนกระทั่งทารกเติบใหญ่ จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? ข้อแนะนำบทบาทของกุมารแพทย์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่

??????????????? –สนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่เหมาะที่สุดสำหรับการเลี้ยงดูทารกแรกเกิด

??????????????? -มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างน้ำนมและการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างดี

??????????????? -มีทักษะในการประเมินความเพียงพอของน้ำนมและความเหมาะสมของการดูแลให้ลูกกินนมแม่

??????????????? -ให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ที่ศึกษาต่อหลังปริญญา ในเรื่องการสร้างน้ำนมและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? -สนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? -ร่วมมือกับสูติแพทย์ในการส่งเสริมการดำเนินงานให้การรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบผลสำเร็จ

??????????????? -ร่วมมือกับชุมชนและบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

บทบาทของสูติแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9411

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? สูติแพทย์เป็นแพทย์ที่จะดูแลมารดาหรือหญิงที่ต้องการมีบุตร ซึ่งเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ การติดตามดูแลครรภ์ ในระยะก่อนการคลอด ระยะคลอด และหลังคลอดจนมารดากลับสู่สภาวะปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์? เป็นช่วงระยะเวลายาวนานราว 10-12 เดือนที่แพทย์จะมีความสัมพันธ์กับมารดาและครอบครัว จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีบทบาทในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? ข้อแนะนำบทบาทของสูติแพทย์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่

??????????????? ระยะฝากครรภ์

??????????????? -สอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกและบ่อยๆ ในแต่ละครั้งของการฝากครรภ์ และมีการส่งปรึกษากุมารแพทย์หากมีความเสี่ยงในการคลอดหรือภาวะแทรกซ้อนในทารก

??????????????? -ตรวจเต้านม ดูความสมมาตรของเต้านมทั้งสองข้าง ดูการผ่าตัดหากเคยผ่าตัดที่เต้านม ดูหัวนมบอด ดูลักษณะพัฒนาการของเต้านม

??????????????? -ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? ระยะคลอด

??????????????? -ควรปรับกระบวนการการดูแลทารกหลังคลอด โดยเน้นให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ การกระตุ้นให้ทารกได้กินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ชะลอการฉีดวิตามินเคและการหยอดตาทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการดูดน้ำคร่ำหรือน้ำคัดหลั่งที่รุนแรงจนทำให้เกิดการบาดเจ็บในปากและลำคอของทารก

??????????????? -ดำเนินการตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? ระยะหลังคลอด

??????????????? -ควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และได้รับการส่งต่อไปรับคำปรึกษาหากมารดาต้องการ

??????????????? แพทย์และสถานพยาบาล

??????????????? -นำโฆษณาเกี่ยวกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกออกจากสถานพยาบาล

??????????????? -แพทย์ควรมีความรู้ในการแก้ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่เพียงพอ เต้านมคัดตึง การเจ็บเต้านมและหัวนม การติดเชื้อรา และเต้านมอักเสบ

??????????????? -แพทย์ความมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและการคุมกำเนิดในระหว่างการให้นมบุตร โดยการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก LactMed

??????????????? -แพทย์ควรมีการทบทวนความรู้และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างสม่ำเสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

ปัจจัยที่มีผลต่อการหยุดการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก

IMG_9368

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้จะมีข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่า ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้อาหารเสริมตามวัยร่วมกับนมแม่จนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับมารดาและทารก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้มารดาหยุดให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก โดยมีการศึกษาพบว่าปัจจัยทางด้านจิตใจและสังคมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการหยุดการให้ลูกกินนมแม่ ได้แก่ การให้อาหารเสริมแก่ทารกตั้งแต่ในระยะแรก การที่มารดารู้สึกว่าตนเองมีน้ำนมไม่พอ มารดาขาดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถให้ลูกกินนมแม่ต่อไปได้ มารดาที่อายุน้อย และมารดาที่มีการศึกษาต่ำ1

? ? ? ? ? ในประเทศไทยได้มีการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า ในระยะแรกการที่มารดามีความรู้สึกว่าน้ำนมมีน้อยหรือน้ำนมไม่ไหลและปัจจัยเรื่องหัวนมเป็นสาเหตุที่พบบ่อย แต่เมื่อเริ่มเข้าในเดือนที่สามขึ้นไป พบว่า สาเหตุของการกลับไปทำงานของมารดาเป็นสาเหตุที่พบได้มากขึ้น2 ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมแก่ทารกตั้งแต่ในระยะแรก การช่วยให้มารดามีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความรู้แก่มารดาเรื่องการประเมินความเพียงพอของน้ำนมและการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่กลับไปทำงานจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเพิ่มขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Karall D, Ndayisaba JP, Heichlinger A, et al. Breastfeeding Duration – Early Weaning: Do We Sufficiently Consider the Risk Factors? J Pediatr Gastroenterol Nutr 2015.
  2. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.

การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมแม่

00026-1-1-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ในมารดาและทารกที่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาบางคนอาจมีความสงสัยว่าทารกได้รับน้ำนมจากมารดาเพียงพอหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไป หากมีการติดตามการเจริญเติบโตของทารกว่าเป็นไปตามเกณฑ์จากกราฟการเจริญเติบโตของทารกที่กินนมแม่แสดงว่า ทารกได้รับนมแม่เพียงพอ แต่ปัญหาเรื่องความวิตกกังวลของมารดาว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอที่จะให้แก่ทารกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย การสร้างความมั่นใจให้กับมารดาเพื่อให้มารดายังคงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีความจำเป็น การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมแม่เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับมารดา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในมารดาอย่างน้อยร้อยละ 11?(1)โดยที่ความมั่นใจของมารดาจะมีผลต่อการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1. Kent JC, Hepworth AR, Langton DB, Hartmann PE. Impact of Measuring Milk Production by Test Weighing on Breastfeeding Confidence in Mothers of Term Infants. Breastfeed Med 2015;10:318-25.