รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
รูปแบบในการดูแลรักษา จะประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิต กับการใช้ยาในการรักษา โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิตจะคล้ายคลึงกับที่ได้บรรยายไว้ในหัวข้อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่สำหรับการใช้ยาในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะใช้อินซูลินเป็นหลักในการรักษา ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีการใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งจะมีการใช้ทั้งกลุ่ม biguanide ร่วมกับ sulfonylurea และ/หรือร่วมกับอินซูลิน และควรมีการตรวจประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การตรวจตา และการตรวจการทำงานของไต โดยในระหว่างการตั้งครรภ์ควรปรับเปลี่ยนยาเป็นยาฉีด ซึ่งการใช้อินซูลินจะเป็นทางเลือกแรกในการรักษา ระดับน้ำตาลที่ควบคุมจะใช้ระดับเดียวกับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นในรายที่เป็นโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่ต้องการการให้คำปรึกษาที่จำเพาะ1,2
เอกสารอ้างอิง
Fullerton B, Jeitler K, Seitz M, Horvath K, Berghold A, Siebenhofer A. Intensive glucose control versus conventional glucose control for type 1 diabetes mellitus. Cochrane Database Syst Rev 2014:CD009122.
American Diabetes A. 6. Glycemic Targets: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S66-S76.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การดูแลรักษา เป้าหมายคือ การควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดรวมถึงภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ความเข้มงวดของการควบคุมระดับน้ำตาลจะมีความแตกต่างกันในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจะมีความเข้มงวดในการควบคุมระดับน้ำตาลมากกว่าในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยจะประเมินจากค่า HbA1c ในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรจะมีการควบคุมให้อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ขณะที่ในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรจะมีการควบคุมให้ค่า HbA1c อยู่ที่ร้อยละ 71,2
เอกสารอ้างอิง
Fullerton B, Jeitler K, Seitz M, Horvath K, Berghold A, Siebenhofer A. Intensive glucose control versus conventional glucose control for type 1 diabetes mellitus. Cochrane Database Syst Rev 2014:CD009122.
American Diabetes A. 6. Glycemic Targets: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S66-S76.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์1 มีดังนี้
ค่าระดับน้ำตาลในพลาสม่าสูงเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 0 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/L) หลังการงดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ค่าระดับน้ำตาลในพลาสม่าที่สองชั่วโมงหลังการรับประทานน้ำตาล 75 กรัมทดสอบค่าความทนต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test หรือ OGTT) เท่ากับหรือมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ 1 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/L)
ค่าการตรวจ HbA1c เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 5 หรือ 48 มิลลิโมลต่อโมล (mmol/mol)
เมื่อได้ทำการวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว การแยกโรคระหว่างโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 จะอาศัยจากประวัติ อาการและอาการแสดงทางคลินิก ซึ่งจะบ่งบอกถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ สำหรับกรณีที่สงสัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แนะนำให้มีการตรวจยืนยันด้วยแอนติบอดี โดยแอนติบอดีที่ใช้ตรวจวินิจฉัยบ่อย ได้แก่ islet cell antibody และ glutamic acid decarboxylase antibody (GAD-65 Ab)
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus)
สาเหตุเกิดจากมีความผิดปกติของการหลั่งอินซูลินจากเซลล์ตับอ่อนร่วมกับมีความต้านทานของเนื้อเยื่อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งเป็นผลให้ต้องใช้ปริมาณอินซูลินที่มากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ โดยเมื่อความผิดปกติเพิ่มขึ้น ร่างกายไม่สามารถจะควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการ ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน ตามัว น้ำหนักลด โดยมักไม่พบอาการนำที่รุนแรงในโรคเบาหวานชนิดที่ 21
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus)
สาเหตุเกิดจากมีการทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการสร้างอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน โดยอาจมีการแบ่งชนิดของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ละเอียดมากขึ้นเป็นชนิดที่มีการทำลายเซลล์ของตับอ่อนเกิดจากภูมิคุ้มที่ต่อต้านตนเอง (autoimmune) และชนิดที่เกิดการทำลายของเซลล์ตับอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการของผู้ป่วยหากพบในช่วงวัยเด็กจะมีอาการนำที่รุนแรงคือ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากโรคเบาหวาน (diabetic ketoacidosis หรือ DKA) พบได้บ่อยกว่า โดยอาการของภาวะแทรกซ้อนนี้ ได้แก่ อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน และหมดสติ ร่วมกับตรวจพบภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แต่หากผู้ป่วยพบมีอาการครั้งแรกในช่วงวัยผู้ใหญ่ อาการนำที่รุนแรงจะพบน้อยกว่า โดยอาการอาจเหมือนกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน ตามัว และน้ำหนักลด1
เอกสารอ้างอิง
American Diabetes A. 2. Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes-2020. Diabetes Care 2020;43:S14-S31.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)