คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

หลังคลอดบุตร มารดาที่ติดเชื้อโควิด 19 สามารถโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้หรือไม่?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำตอบคือ มารดาสามารถโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้ แต่จำเป็นต้องมีการป้องกัน โดยมารดาต้องใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านสารคัดหลั่งจากการไอ หรือจามของมารดาไปสู่ทารก แต่ในกรณีที่มารดามีภาวะปอดอักเสบรุนแรง มารดาอาจไม่สามารถให้การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อหลังคลอด ซึ่งในกรณีนี้ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจทำโดยบิดาหรือญาติที่มีบทบาทในการดูแลทารกแทน1

เอกสารอ้างอิง

1.            Davanzo R, Moro G, Sandri F, Agosti M, Moretti C, Mosca F. Breastfeeding and Coronavirus Disease-2019. Ad interim indications of the Italian Society of Neonatology endorsed by the Union of European Neonatal & Perinatal Societies. Matern Child Nutr 2020:e13010.

หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด 19 จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดหรือไม่?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำตอบคือ ไม่จำเป็น แต่หากมารดามีภาวะปอดอักเสบ การพิจารณาการผ่าตัดคลอดอาจมีความจำเป็น เนื่องจากหากเกิดภาวะปอดอักเสบในมารดาที่ตั้งครรภ์ การดูแลมารดาขณะที่มีทารกอยู่ในครรภ์ การติดตาม หรือการเฝ้าระวังอันตรายที่จะเกิดกับทารกจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น หากทารกมีอายุครรภ์ที่ครบกำหนดหรืออยู่ในระยะที่สามารถเลี้ยงดูทารกได้ เมื่อชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบข้อดีของการให้ทารกคลอดออกมา หากมากกว่าข้อเสียของการปล่อยให้ทารกอยู่ในครรภ์และติดตามเฝ้าระวัง ซึ่งการพิจารณาให้มารดาคลอดในมารดาที่ยังไม่มีการเจ็บครรภ์ อาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดคลอด1

เอกสารอ้างอิง

1.            Davanzo R, Moro G, Sandri F, Agosti M, Moretti C, Mosca F. Breastfeeding and Coronavirus Disease-2019. Ad interim indications of the Italian Society of Neonatology endorsed by the Union of European Neonatal & Perinatal Societies. Matern Child Nutr 2020:e13010.

เชื้อโควิด 19 จะติดเชื้อจากการตั้งครรภ์ผ่านจากแม่ไปสู่ลูกหรือไม่?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำตอบคือ เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบัน เชื้อโควิด 19 ไม่มีการติดเชื้อจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์ การติดเชื้อจะเกิดจากสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโควิด 19 จากการไอ หรือจามเป็นหลัก และส่วนน้อยจะเกิดจากสารคัดหลั่งสัมผัสกับเยื่อบุตา ซึ่งจะคล้ายคลึงกับเชื้อในกลุ่มเดียวกันที่มีการระบาดมาก่อน ได้แก่ SAR ดังนั้นทารกในครรภ์จะไม่ติดเชื้อโควิดขณะอยู่ในครรภ์ แต่เมื่อมารดาคลอดทารกออกมา หากมารดาติดเชื้อและไม่มีการป้องกัน ทารกก็อาจได้รับเชื้อจากมารดาในช่วงหลังคลอดได้1

เอกสารอ้างอิง

1.            Davanzo R, Moro G, Sandri F, Agosti M, Moretti C, Mosca F. Breastfeeding and Coronavirus Disease-2019. Ad interim indications of the Italian Society of Neonatology endorsed by the Union of European Neonatal & Perinatal Societies. Matern Child Nutr 2020:e13010.

คำถามเกี่ยวกับโควิด 19 กับการตั้งครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            ก่อนอื่นต้องเริ่มต้นก่อนว่า โควิด 19 เป็นโรคที่เริ่มมีการแพร่ระบาดในช่วงปลายปี 2562 โดยเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อ คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย โดยส่วนน้อยที่พบมีอาการรุนแรงที่มีภาวะปอดอักเสบที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการติดเชื้อสามารถแพร่ระบาดไปได้รวดเร็ว เนื่องจากการแพร่เชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ทั้งจากคนที่มีอาการน้อยและไม่มีอาการ ทำให้มีคนที่ติดเชื้อจำนวนมาก เกิดคนที่มีอาการรุนแรงมากพร้อม ๆ กัน จนเกิดการขาดแคลนอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม จึงเกิดการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อได้มาก และเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดใหม่ ดังนั้นข้อมูลรายละเอียดบางอย่างจึงยังมีจำกัด แนวทางการดูแลหรือให้คำปรึกษาจึงเป็นแนวทางที่เกิดจากข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบัน ณ ตอนนี้เท่านั้น

            คำถามที่มีข้อสงสัยกันในเรื่องแรก คือ

หากสตรีตั้งครรภ์เกิดการติดเชื้อโควิด 19 จะเป็นอย่างไร?

คำตอบคือ สตรีตั้งครรภ์หากมีการติดเชื้อจะมีอาการเหมือนกับคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การติดเชื้อไม่ได้พบว่าทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการที่รุนแรงกว่า อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สตรีตั้งครรภ์ หากมารดาเกิดภาวะปอดอักเสบย่อมเกิดความเสี่ยงหรืออันตรายแก่ทารกได้ เนื่องจากในกรณีที่มารดาหายใจหอบเหนื่อย ออกซิเจนที่แลกเปลี่ยนที่ปอดจะลดลง ดังนั้น หากไม่มีการแก้ไขหรือใส่ท่อช่วยหายใจ ทารกที่อยู่ในครรภ์อาจเกิดภาวะการขาดออกซิเจนได้ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน จะเกิดอันตรายแก่ทารก โดยอาจเกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนดได้1

เอกสารอ้างอิง

1.            Davanzo R, Moro G, Sandri F, Agosti M, Moretti C, Mosca F. Breastfeeding and Coronavirus Disease-2019. Ad interim indications of the Italian Society of Neonatology endorsed by the Union of European Neonatal & Perinatal Societies. Matern Child Nutr 2020:e13010.

ผลของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ หากสามารถตั้งครรภ์ได้จะพบการเพิ่มขึ้นภาวะแทรกซ้อนในมารดา ได้แก่ การแท้ง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การผ่าตัดคลอด และภาวะแทรกซ้อนในทารก ได้แก่ ความพิการแต่กำเนิด การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และการย้ายไปหอผู้ป่วยทารกวิกฤต1-3 โดยดัชนีมวลกายที่สูงจะทำนายการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ และค่าฮอร์โมนเพศชายที่สูงจะทำนายการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์4  ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะส่งผลให้การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า และการที่มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่มีฮอร์โมนเพศชายสูงอาจมีผลทำให้ขาดการขยายขนาดของเต้านมในระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้การสร้างน้ำนมน้อย ซึ่งจะมีผลต่ออัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7

เอกสารอ้างอิง

  1. Boomsma CM, Fauser BC, Macklon NS. Pregnancy complications in women with polycystic ovary syndrome. Semin Reprod Med 2008;26:72-84.
  2. Palomba S, Falbo A, Daolio J, Battaglia FA, La Sala GB. Pregnancy complications in infertile patients with polycystic ovary syndrome: updated evidence. Minerva Ginecol 2018;70:754-60.
  3. Li Y, Ruan X, Wang H, et al. Comparing the risk of adverse pregnancy outcomes of Chinese patients with polycystic ovary syndrome with and without antiandrogenic pretreatment. Fertil Steril 2018;109:720-7.
  4. Foroozanfard F, Asemi Z, Bazarganipour F, Taghavi SA, Allan H, Aramesh S. Comparing pregnancy, childbirth, and neonatal outcomes in women with different phenotypes of polycystic ovary syndrome and healthy women: a prospective cohort study. Gynecol Endocrinol 2020;36:61-5.
  5. Joham AE, Nanayakkara N, Ranasinha S, et al. Obesity, polycystic ovary syndrome and breastfeeding: an observational study. Acta Obstet Gynecol Scand 2016;95:458-66.
  6. Vanky E, Nordskar JJ, Leithe H, Hjorth-Hansen AK, Martinussen M, Carlsen SM. Breast size increment during pregnancy and breastfeeding in mothers with polycystic ovary syndrome: a follow-up study of a randomised controlled trial on metformin versus placebo. BJOG 2012;119:1403-9.
  7. Vanky E, Isaksen H, Moen MH, Carlsen SM. Breastfeeding in polycystic ovary syndrome. Acta Obstet Gynecol Scand 2008;87:531-5.