คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรกินยาบำรุงธาตุเหล็ก

IMG_3457

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ขณะที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และควรต้องรับประทานแร่ธาตุหรือวิตามินที่มารดามักขาดแคลน หากอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงในการขาด สำหรับแร่ธาตุที่มักพบว่ามีการขาดแคลนในทารกที่กินนมแม่ คือ ธาตุเหล็ก โดยจะพบว่ามีความเสี่ยงในการขาดในช่วง 6 เดือน แต่มีรายงานว่าอาจพบในช่วงทารกอายุ 9 เดือนด้วย1 การที่วางแผนป้องกันความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็กของทารกตั้งแต่ช่วงระหว่างการคลอด โดยการชะลอการตัดสายสะดือ การับประทานธาตุเหล็กของมารดาระหว่างการให้นมบุตร นอกจากนี้ วิตามินดี ยังเป็นสิ่งที่พบว่ามีการขาดในทารกโดยที่สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้เสริมให้แก่ทารกทุกราย สำหรับข้อมูลในประเทศไทย มีการพบว่ามารดามีการขาดวิตามินดีอยู่ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้น การเสริมวิตามินดีอาจจำเป็นในทารกในประเทศไทยด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Clark KM, Li M, Zhu B, et al. Breastfeeding, Mixed, or Formula Feeding at 9 Months of Age and the Prevalence of Iron Deficiency and Iron Deficiency Anemia in Two Cohorts of Infants in China. J Pediatr 2017;181:56-61.

 

มารดาเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยกว่า

IMG_3493

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์มักมีน้ำนมมาช้าได้มากกว่ามารดาทั่วไป เหตุผลส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มารดามีโอกาสจะผ่าตัดสูงกว่า เจ็บแผลมากกว่า มักไม่ค่อยอยากขยับตัวและเริ่มให้นมลูกช้า นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลจากการ insulin growth factor ที่อาจจะรบกวนการมาของน้ำนมได้ มีการศึกษาถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลักในมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ต่ำกว่ามารดาทั่วไป1 ดังนั้น การส่งเสริมให้มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์เริ่มให้นมแม่เร็วภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ร่วมกับการให้นมลูกบ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง น่าจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต่ำนั้นดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Chamberlain CR, Wilson AN, Amir LH, et al. Low rates of predominant breastfeeding in hospital after gestational diabetes, particularly among Indigenous women in Australia. Aust N Z J Public Health 2017.

 

การให้ลูกกินนมแม่น่าจะช่วยเรื่องกระดูกพรุน

IMG_1077

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ระหว่างที่มารดาให้นมลูกจะไม่มีประจำเดือนซึ่งนำไปสู่ความวิตกกังวลในเรื่องกระดูกบางหรือกระดูกพรุนในสตรีที่ให้นมบุตรได้ อย่างไรก็ตาม มีการรวบรวมวิเคราะห์การศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพดีเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และภาวะกระดูกพรุน พบว่า การให้ลูกกินนมแม่นั้นไม่เพียงไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน แต่ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วย1 สิ่งนี้น่าจะลดความวิตกกังวลในมารดาที่มีความกลัวในเรื่องกระดูกบางหรือกระดูกพรุนลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Duan X, Wang J, Jiang X. A meta-analysis of breastfeeding and osteoporotic fracture risk in the females. Osteoporos Int 2017;28:495-503.

การวิจัยยีนยันการให้ลูกกินนมแม่ลดมะเร็งเต้านม

IMG_1059

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การให้ลูกกินนมแม่นั้น มีการศึกษามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวโน้มของผลการศึกษาชี้ว่า นมแม่ช่วยลดมะเร็งเต้านมได้ จึงมีการทบทวนศึกษาโดยการรวบรวมการศึกษาวิจัยใหม่ ๆ ตั้งแต่ในปี 2551-2557 กว่า 1000 งานวิจัยมีวิเคราะห์ พบว่า การที่มารดาเคยให้ลูกกินนมแม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึงราวร้อยละ 40 และในกรณีที่มารดาให้นมลูกได้นานจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 สำหรับกลไกในการลดการเกิดมะเร็งมีการอธิบายว่า

  • กลไกแรกเกิดจากการที่ขณะมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีการตกไข่ ทำให้ลดความโอกาสหรือระยะเวลาในการได้รับฮอร์โมนเพศของสตรีลง
  • กลไกที่สองเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเต้านมที่พัฒนาไปสู่ระยะที่สมบูรณ์ในขณะที่ให้นมแม่
  • กลไกที่สามเกิดจากการลดการได้รับสารพิษจำพวก organochlorine ในระหว่างที่มารดาให้นมแม่
  • กลไกที่สี่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของ growth factor เบต้าที่มีผลในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

? ? ? ? ? ?ดังนั้น จากการทบทวนวิเคราะห์งานวิจัยที่ทันสมัยยืนยันว่า การให้นมลูกช่วยลดมะเร็งเต้านมได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhou Y, Chen J, Li Q, Huang W, Lan H, Jiang H. Association between breastfeeding and breast cancer risk: evidence from a meta-analysis. Breastfeed Med 2015;10:175-82.

 

การใช้ยาสตรีขับน้ำคาวปลาขณะให้นมบุตร

IMG_1240

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ความเชื่อในการกินยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตรยังพบอยู่มากในประเทศไทย จากการสำรวจโดยการเยี่ยมบ้านของมารดาที่คลอดบุตรที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบมีการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรในหนึ่งเดือนแรกหลังคลอดร้อยละ 31.4 โดยที่ยาที่พบว่ามีการใช้มากที่สุด คือ ยาสตรีที่รับประทานเพื่อขับน้ำคาวปลาโดยพบร้อยละ 25 ของสตรีหลังคลอดทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 80 ของยาที่มารดาใช้ในขณะหลังคลอดในเดือนแรก ยาสตรีที่ใช้ขับน้ำคาวปลามีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิด บางชนิดออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศสตรี บางชนิดออกฤทธิ์กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก โดยมีแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายสารออกฤทธิ์ของสมุนไพร

? ? ? ? ? ? ? ? การใช้หรือรับประทานแอลกอฮอล์ในระหว่างให้นมบุตร แอลกอฮอล์จะเพิ่มระดับในน้ำนมได้อย่างรวดเร็วหลังการรับประทานของมารดา โดยที่ระดับแอลกอฮอล์ในน้ำนมจะใกล้เคียงกับในกระแสเลือดของมารดา ผลเสียของแอลกอฮอล์ต่อการให้นมบุตร จะทำให้การตอบสนองของฮอร์โมนออกซิโตซินต่อการดูดนมของทารกลดลง1 และพบว่าอาจทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงด้วย2 นอกจากนี้ หากทารกได้รับแอลกอฮอล์จะทำให้ทารกง่วงหลับ ปลุกไม่ค่อยตื่น ไม่สนใจจะกินนม ทำให้น้ำหนักขึ้นน้อย มีผลคะแนนการประเมินความฉลาดของการพูดน้อยลง3 สำหรับความจำเป็นในการรับประทานยาสตรีเพื่อช่วยขับน้ำคาวปลานั้น ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากในขณะหลังคลอด แพทย์จะฉีดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกให้กับมารดาทุกรายอยู่แล้ว และการที่มารดาให้นมลูกจะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้นและเข้าอู่ได้ตามปกติ เมื่อพิจารณาดูแล้ว จึงไม่มีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยงในการกินยาสตรีที่ช่วยในการขับน้ำคาวปลาที่มีผลกระทบต่อนมแม่และสุขภาพทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Coiro V, Alboni A, Gramellini D, et al. Inhibition by ethanol of the oxytocin response to breast stimulation in normal women and the role of endogenous opioids. Acta Endocrinol (Copenh) 1992;126:213-6.
  2. Giglia RC, Binns CW, Alfonso HS, Scott JA, Oddy WH. The effect of alcohol intake on breastfeeding duration in Australian women. Acta Paediatr 2008;97:624-9.
  3. May PA, Hasken JM, Blankenship J, et al. Breastfeeding and maternal alcohol use: Prevalence and effects on child outcomes and fetal alcohol spectrum disorders. Reprod Toxicol 2016;63:13-21.